จ่อยก"เดชา" หมอพื้นบ้าน ใช้น้ำมันกัญชารักษาโรคได้

by ThaiQuote, 17 เมษายน 2562

อธิบดีกรมการแพทย์ฯ เผย "เดชา" คุณสมบัติ หมอพื้นบ้าน ครบจ่อขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์พื้นบ้านภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมร่วมมือวิจัย น้ำมันกัญชารักษาโรคร่วม คาดแจกยาคนไข้ได้ในสินเดือนเม.ย.นี้

น.พ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังหารือกับนายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิขวัญข้าว นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันการแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี นางรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนมูลนิธิสุขภาพไทย ว่า การใช้กัญชาในตำรับยาปัจจุบันและทางการแพทย์ ซึ่งต้องคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยเป็นหลัก รวมถึงประโยชน์เกิดกับคนไทยและคนทั้งโลก

ดังนั้นทุกขบวนการอยู่บนความร่วมมือหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อให้มีขบวนการทำงานสะดวกขึ้น สำหรับกรณี อ.เดชา เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งได้มอบหมายให้สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้พิจารณา หากมีคุณสมบัติถูกต้องของแพทย์พื้นบ้าน 8 ข้อ คณะกรรมการพิจารณาใบอนุญาตแพทย์พื้นบ้าน ภายใน1-2 สัปดาห์ในการขึ้นทะเบียน

หลังจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการวิจัยน้ำมันกัญชา มีเชื่อจุรินทรีย์ แบคทีเรีย ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก สารปนเปื้อนอื่นๆว่าปลอดภัยหรือไม่ พร้อมกับมีหน่วยงานไปอบรม เพื่อให้มูลนิธิฯดูแลติดตามอาการโรคได้ โดยขั้นตอนทั้งหมด เร็วที่สุดอยู่ภายใน 2-3 สัปดาห์

" ทราบว่ามีคนป่วยรอน้ำมันสกัดกัญชา อยู่จำนวนมาก จะสามารถแจกของเดิมต่อไปโดยแจกฟรีไปก่อน ส่วนปัญหาของใต้ดินมีขายราคาแพงๆ ต้องดำเนินการทางกฎหมายจับกุมอย่างเข้มงวด"น.พ.มรุตกล่าว

สำหรับเกณฑ์คุณสมบัติของการเป็นแพทย์พื้นบ้าน 8 ข้อ คือ
1.ให้บริการเสมอเสมอต่อเนื่องไม่น้อยกว่า10 ปี 
2. สืบทอดจากบรรพบุรุษหรือองค์ความรู้ท้องถิ่น
3.มีความสามารถบำบัดรักษาโรค
4.ไม่หวงวิชา มีการถ่ายทอดความรู้
5.ไม่เรียกร้องค่ารักษามากเกินควร
7.ชาวบ้านในพื้นที่ได้เซ็นรับรอง
8.มีคุณธรรม มีเมตตา ให้ความช่วยเหลือประชาชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพรบ.รักษาโรค

"อ.เดชา มีคุณสมบัติครบตามนี้ สามารถให้การรับรองขึ้นทะเบียนแพทย์พื้นบ้านได้ โดยอ.เดชา และคณะ ได้ใช้กัญชาเป็นประโยชน์รักษาผู้ป่วยมาระยะหนึ่งแล้ว การที่จะดำเนินการได้อย่างไร ต้องดูตามเกณฑ์เพราะ อ.เดชา มีส่วนดูแลผู้ป่วย อยู่บริเวณรอบๆที่ปลูก และเห็นว่ารักษาคนไข้ จากใช้สมุนไพรอื่นๆมานานแล้ว กรมจึงส่งเข้าพิจารณา มอบอำนาจให้ สธ.สุพรรณบุรีเป็นผู้ดำเนินการ ”น.พ.มรุต กล่าว

อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ใช้น้ำมันกัญชา จะต้องคุ้มครองผู้บริโภคด้วย โดยจะต้องนำมาทดสอบว่า ไม่มีจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ไม่มียาฆ่าแมลงตกค้าง ไม่มีโลหะหนัก พร้อมกับติดตามเมื่อรับไป ใช้ได้ผลอย่างไร โดยกระบวนหาผลทดลองในกฎหมาย เปิดช่องเอา ไว้ ทำโครงการทดลองในการใช้น้ำมันกัญชาได้ แต่ยังเป็นไม่ได้รับการรับรอง ผู้ป่วยที่จะมาใช้ และหมอ ต้องรับผิดชอบ จดบันทึกไว้ให้ชัดเจน

"วันพรุ่งนี้ (18 เม.ย.) จะมีการพูดคุยในคณะทำงานชุดใหญ่ มีการแถลงข่าวอีกครั้งที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ฯ”น.พ.มรุต กล่าว

ด้าน นายเดชา กล่าวว่า ได้ทำมาตั้งแต่ปี 2556 พร้อมได้ทำพืชสมุนไพรตัวอื่น เช่น รางจืด ตั้งแต่ปี 2550 ปัญหาของตนที่ทำ กัญชา ได้ทำส่วนตัวไม่เกี่ยวกับมูลนิธิฯเพราะ ตนกลัวเป็นมะเร็งเหมือนแม่ ไม่มีทางเลือกในการรักษา จึงยอมผิดกฎหมาย เมื่อได้ผลดีจึงทำมาให้พระแจก เชื่อว่ากฎหมายจะเปลี่ยนได้ แม้แต่สหรัฐอเมริกา ผิดกฎหมายมาก่อน ยังเลิกได้ เราต้องทำให้คนส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ เพื่อให้กฎหมายเปลี่ยน

“ขณะนี้ห่วงคนไข้ 5 พันกว่ารายที่สุดเพราะขาดยา รอทุกวันน่าเห็นใจมาก คาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะแจกได้ไม่ผิดกฎหมาย เพราะทำเป็นหมอพื้นบ้าน และ ไปร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา เอาคนไข้เป็นผู้ร่วมวิจัย เพราะตัวยายังไม่พิสูจน์ เข้ากระบวนการวิจัย พรุ่งนี้ ร่วมมือหลายสถาบัน ปฏิบัติการตรงๆ กับคนไข้ ทำให้ถูกต้อง แจกได้ตามกฎหมายไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ นี่คือจุดเริ่มต้น เราทำให้กฎหมายปรับให้ที่ดี ดูแลส่งเสริมสิ่งที่ดีมากที่สุด ไม่กำหนดจำกัดอยู่ในมือฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง”นายเดชา กล่าว

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

สุดช็อก ! พบแมวแช่ตู้เย็นตายจำนวนมาก ล่าตัวสัตวแพทย์