แยกขยะออกเป็น “เศษอาหาร” และ “ขยะรีไซเคิล” จุดเริ่มต้นที่ดีของการแยกขยะเมืองไทย

by ThaiQuote, 26 กันยายน 2565

“กระบวนการจัดการขยะต้องรู้พฤติกรรมศาสตร์ ถ้าเรานำจิตวิทยาหมู่มาจัดการเรื่องการจัดการขยะ สามารถทำให้คนสนใจมากกว่าสร้างจิตสำนึก” -คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล-

 

 

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ได้มาเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เราจะจัดการวิกฤตการณ์ขยะได้อย่างไร” ในมหกรรมงาน Sustainability 2022 โดยมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอยู่หลายประการ


คุณวรรณสิงห์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการจัดการขยะในบ้านเรานั้น ขอให้แยกเศษอาหารออกจากขยะก็ดีแล้ว การแยกขยะต้นทางสำคัญมาก เพราะจะทำให้การจัดการขยะปลายทางง่ายมากขึ้นอย่างมาก

กระบวนการแยกขยะในลำดับต่อไปคือให้แยกขยะรีไซเคิลให้ซาเล้ง ถ้ารีไซเคิลไม่ได้ก็ส่งไปที่โรงงานกำจัดขนาดใหญ่ ขยะเปี๊ยกต้องย่อยเป็นปุ๋ย ซึ่งต้องใช้เงินมาก ทำได้ยากในระดับครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่อยู่ในเมือง อาศัยอยู่บนคอนโดฯ การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือการมีระบบการจัดการขยะที่ไม่มีต้นทุน และมีรายได้กลับมา เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับคนจัดการขยะ

ที่ผ่านมาเราไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการจัดการขยะ เพราะพฤติกรรมเปลี่ยนยาก แต่ถ้าหากต้องการให้พฤติกรรมเปลี่ยน การสนับสนุนาอย่างหนึ่งคือต้องมีระบบมารองรับพฤติกรรมถึงเปลี่ยนได้ ตอนนี้คนตระหนักในเรื่องการจัดการขยะอยู่ในวงกว้างแล้ว แต่ไม่มีระบบ และไม่มีศรัทธาและความเชื่อในระบบ โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่ามีระบบ แต่ยังมีเพียงระบบเอกชน หน่วยงานราชการยังขาดระบบที่ชัดเจน นอกจากนี้ควรมีกฎหมาย แต่ต้องมีระบบมาก่อน ถึงค่อยทำได้

 

 

การส่งเสริมการจัดการขยะ หัวใจสำคัญประการหนึ่งคือการให้การศึกษา ต้องให้เข้าถึงได้มากกว่านี้ สอนเด็กเรื่องการแยกขยะ นอกจากนี้ไทยยังมีขยะนอกระบบ เพราะการจัดการเข้าไปไม่ถึง ก็เลยทิ้งขยะลงสู่คลอง มันเกิดขึ้นทุกวัน ฉะนั้นระบบการจัดเก็บขยะให้เข้าถึงจำเป็น สำคัญ ๆ เท่า ๆ กันกับระบบทางเศรษฐกิจเพื่อขยะ

คุณวรรณสิงห์ บอกว่า ส่วนในมิติของการดึงพลังงานจากขยะมาใช้ เช่นโรงเผาขยะ ราคาต่อยูนิตในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตพลังงานในวิธีการอื่น ๆ และยังมีความร้อนออกมา แต่ดีในแง่ของการจัดการขยะ

ด้านประสิทธิภาพของการจัดการขยะในแต่ละรูปแบบแตกต่างกัน บ่อฝังกลบ ถ้าเอาหน้าดินทับ ถ้ามีผ้าใบคลุมแล้วมีท่อต่อยิ่งดี แต่บ่อฝังกลบในประเทศไทยยังไม่มีคุณภาพ บ่อฝังกลมในไทยเป็นสีขาว มีพลาสติกมาก และนับวันใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ผิดกับจีนที่ลดลง สิ่งที่แย่คือบ่อฝังกลบที่ไม่มีการจัดการ

สิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไทยต้องแยกอาหารออกไป จะยิ่งที่จะทำให้การจัดการได้ง่ายมาก ลำดับต่อมาคือการแยกขยะเคมีออกไปก็จะดีขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไทยยังไม่เคยทำ การเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นเรื่องยาก ถ้าแยกขยะรีไซเคิลออกมา ไม่มีอาหารก็จะดีมาก แต่คอนโดและอพาร์ทเม้นต์ก็จะเป็นเรื่องยากกว่า

ตัวอย่างต่างประเทศแตกต่างกัน สวีเดน มีโรงขยะจนไม่มีขยะ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องโรคร้อน ญี่ปุ่นแยกขยะมากกว่า 37 ชนิด ขยะทุกอย่างนำกลับมาใช้หมด แถวยุโรป ทุกหน้าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า มีรับอิเล็กทรอนิกส์เก่า แต่เมืองไทยถุงสีแดง ถังสีแดงก็หายาก ทั้ง ๆ ที่เป็นขยะอันตราย มีเฉพาะในปั้มน้ำมัน ที่ยุโรปมีการแยกรีไซเคิลถึง 4 ประเภท ซึ่งเรากว่าจะคาดหวังให้คนไทยทำเป็นเรื่องยาก

สุดท้ายมีหลายอย่างที่บ้านเรามีปัญหา เศษอาหารที่ทิ้งมีการทิ้งบรรจุภัณฑ์ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดความเข้าใจ ขาดความรู้ เราควรแยกขยะครัวเรือน และขยะสาธารณะ ถ้าขยะไม่เลอะมาก ล้างน้ำแล้วแยก นอกจากนี้การดื่มน้ำแล้วเป็นบรรจุภัณฑ์ ควรใช้แก้ว อลูมิเนียม ส่วนความเชื่อเรื่องพลาสติกยุ่งยากมากกว่าการจัดการอื่น ๆ

สิ่งที่ต้องการในการจัดการขยะ ด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากกับโรงงานการจัดการขยะ ในแง่องค์กรทั่วไปควรลงทุนในเรื่องเครื่องจัดการขยะอาหารเป็นปุ๋ย ภาคราชการควรมีกฎหมายออกมาส่งเสริมและควบคุมองค์กรไปพร้อม ๆ กัน ในแง่ของการส่งเสริมคือการมีอัตราส่วนลดค่าจัดเก็บขยะ หากมีการแยกขยะที่ดีมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดการขยะบางส่วนด้วยตัวเอง ในส่วนของการควบคุมก็คือ ไม่อนุญาตให้องค์กรขนาดใหญ่ทิ้งขยะโดยไม่มีการแยกขยะ มีโทษปรับที่ชัดเจน มาตรการเช่นนี้สามารถทำได้จริง เพราะหากจะไปควบคุมครัวเรือนเป็นเรื่องยาก แต่หากควบคุมองค์กร น่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า และมีความเป็นไปได้สูง.

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ ประเทศไทย เดินหน้าสร้างหลักชัยธุรกิจพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง
https://www.thaiquote.org/content/248197

แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงทางตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน สร้างความเสียหาย ตึกถล่ม ถนนถล่ม
https://www.thaiquote.org/content/248194

นักศึกษาชาวดัตช์ได้คิดค้นรถยนต์ปลอดมลพิษที่ดักจับคาร์บอนขณะขับขี่
https://www.thaiquote.org/content/248191