ยูเครนไม่ทน! ถอดสัญลักษณ์สหภาพโซเวียต หลังเกิดสงความต่อเนื่องเมื่อปลายเดือน

by ThaiQuote, 3 สิงหาคม 2566

หลังจากการปะทะสงครามกันระหว่างยูเครน - รัสเซีย คนงานกำลังถอดสัญลักษณ์ค้อนและเคียวของสหภาพโซเวียตออก เพื่อเปลี่ยนโฉมเป็นตราสัญลักษณ์ของยูเครน

หลังการเกิดสงครามระหว่าง ยูเครน - รัสเซีย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คนงานยูเครนได้ทำการเปลี่ยนค้อนและเคียวสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียตออกจากรูปปั้นสูง 335 ฟุต ในเมืองเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน

โดยยูเครนมีแผนที่จะติดตั้งสัญลักษณ์ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราชของยูเครนโดยสัญลักณ์เป็น Tryzub รูปตราแผ่นดินของยูเครน

 

ขอบคุณภาพจาก Reuters

ขอบคุณภาพจาก Reuters

แต่เดิมสัญลักษณ์นี้ถูกใช้เป็นตัวแทนของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน หลังจากที่จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

ซึ่งขณะนี้สงครามยูเครนยังคงดุเดือด และผลกระทบจากการทำสงครามครั้งนี้ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเป็นอย่างมาก หากสถานการณ์ยังไม่มีวี่แววที่คลี่คลายลง เป็นไปได้ว่าสิ่งแวดล้อมทั่วโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายมากยิ่งขึ้น

จากเหตุสงครามยูเครน รัสเซีย ทำให้เกิดความเสียหายทางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีบ้านเมือง โรงพยาบาล พื้นที่การขนส่งพื้นที่การเกษตร แหล่งพลังงานไฟฟ้าต่าง ๆ และธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่สำคัญ ทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษยธรรมและสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่สำคัญของโลก และที่เสียหายไปกว่านั้น คือเขื่อน Nova Kakhovka ซึ่งถูกทำลายไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

โดยการทำลายเขื่อนได้ชะล้างพืชพรรณ กัดเซาะตลิ่ง และแหล่งน้ำดื่มที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงหนัก 150 ตัน ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมาก โดยคาดการณ์ความเสียหายกว่า 1.2 พันล้านปอนด์

ขณะนี้หลายประเทศ อาทิเช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ต่างให้ความช่วยเหลือในของฝั่งยูเครนเป็นอย่างมาก ด้วยมูลค่าเงินกว่าพันล้าน เพื่อช่วยสร้างยูเครนใหม่

อย่างไรก็ตามในการช่วยเหลือย่อมสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากทั้งต้นไม้ สิ่งปลูกสร้าง แหล่งพลังงาน ดังนั้นจึงทำให้เกิดการสูญเสียสมดุลทางสิ่งแวดล้อมได้มาก จึงเป็นกังวลอย่างยิ่งหากสงครามยังไม่มีวี่แววสงบลง

ที่มา

telegraph.co.uk

scientificamerican.com

reuters.com

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ถึงจะไม่ใช่นักลงทุน คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของ ESG ได้!

พาก้าวไปอนาคต ผลิตรองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ ช่วยลดขยะพลาสติก