ผนึกพลังเชื่อมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทรานส์ฟอร์ม SMEs สู่ซัพพลายเชนยั่งยืน

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ/วันเพ็ญ แก้วสกุล, 12 ตุลาคม 2566

สสว.ห่วง ธุรกิจ SMEs ไทยยังไม่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ ESG, BCG และ SDGs หวั่นพลาดโอกาส 60%ไม่รู้จักนี่คือวาระโลกต้องทรานส์ฟอร์มธุรกิจ กระตุ้น SMEs ปรับ Mindset มองภาพใหญ่เข้าใจระบบพลิกธุรกิจสร้างแต้มต่อ ด้านสภาอุตฯ ชี้ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ดันไทยสู่ผู้นำเศรษฐกิจสีเขียวด้วย Soft Power ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ชี้กระทบทั้งซัพพลายเชน จับมือเอกชนจัดทัพธุรกิจติดปีกส่งออกยั่งยืน

 

 

 

ในการเปิดตัวจักรวาลแห่งความยั่งยืน แพลตฟอร์ม ESG Universe และมีการเสวนา” โอกาสและอุปสรรคของ SME หลังเทรนด์โลกมุ่งสู่ ESG “พา SME ไทย ไป Universe” มีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมเป็นงานเปิดตัวและสัมมนาซึ่งเป็นจุดกำเนิดแห่งการสร้างพลังที่ส่งผลกระทบเชิงบวก มุ่งหวังจุดประกายให้กับทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่สิ่งที่ดี และยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยผู้เปิดงาน คือ คุณนวลพรรณ บุญเผื่อน หัวหน้าสายงานทรูสเปซ บริษัท ทรู สเปซ จำกัด กล่าวให้การต้อนรับ, คุณมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการ บริษัท พี่เอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ


สำหรับเสวนาหัวข้อ "Bring you to the Universe by ESG" แนวคิด ESG กลยุทร์พา SMEs สู่เวทีโลก ผู้เข้าร่วมเสวนาเป็นผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบทิศทางโลก และแนวทางการขับเคลื่อนSMEs ไทยให้เปลี่ยนผ่านสู่ ESG ได้อย่างยั่งยืน

  

 

ESG Universe จักรวาลแห่งความยั่งยืน
เชื่อมทุกภาคส่วนเปลี่ยนเพื่อกู้โลก

 

นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหารบริษัทพีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ข้อมูลจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC) ระบุว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันราว 1.1 องศา และหากเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำมาในอดีต อีกไม่นานอุณหภูมิโลกก็จะสูงไปถึง 1.5 องศา และหากถึง 1.7 องศา โลกก็จะประสบกับความหายนะ เป็นที่มาให้ทุกประเทศทั่วโลกลุกขึ้นมาร่วมมือกันช่วยลดโลกร้อน
ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจคือตัวเร่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ทั่วโลกจึงมีควาพยายามกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดเพดานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปฏิเสธสินค้าที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ ซึ่งกฎระเบียบเหล่านี้ด้านหนึ่งจะกระทบต่อการส่งออกขององค์กรธุรกิจไทย แต่อีกด้านหากเราสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นโอกาสเช่นกัน


“การเปิดตัวแพลตฟอร์ม ESG Universe นอกจากจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ESG ในสังคมไทยเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนร่วมกันแล้ว ยังทำหน้าที่ให้ความรู้และช่วยผู้ประกอบการไทย เปลี่ยนผ่านกระบวนการทำงานให้สามารถค้าขายกับสังคมโลกได้ด้วย โดยเริ่มจากการสัมมนา พา SME ไทยไป Universe หลังจากนี้พีเอ็มจีจะร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดสัมมนา ESG ในอุตสาหกรรม Sector ที่สำคัญ เช่น พลังงาน เกษตร และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง” นายมงคล กล่าว

  

 

สสว.พบ 60% ไม่เข้าใจทิศทาง BCG

 

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เปิดเผยในงานสัมมนาว่า สสว. ได้เก็บข้อมูลภาคธุรกิจ SMEs กว่า 2,757 ราย เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามรูปแบบ BCG พบว่า กว่า 60% มีกระบวนการจัดการดำเนินการธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดการกลุ่มที่ 1 คือ การจัดการของเสีย ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ส่วนการนำระบบ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวยังมีอยู่ในระดับน้อย สิ่งที่สำคัญแม้จะมีกระบวนการดำเนินการ แต่มีถึง90% กลับไม่รู้จักว่าสิ่งที่ทำนั้นคือธุรกิจตามนโยบบาย BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ,เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy), มีสัดส่วนเพียง 10.2 % ที่ตอบว่ารู้จักนิยามของBCG ที่เข้าใจว่าเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกิจการ รองลงมา คือ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงยังไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ BCGมาก่อน และสัดส่วน 67% ยังไม่พร้อมเข้าสู่ธุรกิจBCG เพราะกังวลต่อเรื่องเงินลงทุน มีเพียง 46% ที่ให้ความสนใจเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่BCG ซึ่งผู้ที่เชื่อมั่นว่า BCG จะส่งผลดีต่อการพัฒนาธุครกิจ 59% ซึ่งให้เหตุผลว่า จะได้รับประโยชน์ต่อประเทศ และ สัดส่วน 40% ยังมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการทำ BCG ยังทำให้ธุรกิจยุ่งยากมากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น

“ผลสำรวจพบว่า SMEs ส่วนใหญ่ มีการทำเรื่องกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังทำต่อเนื่อง แต่ไม่เข้าใว่าสิ่งที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับ นโยบาย BCG ไม่รู้จัก ไม่เคยรู้จัก ไม่พร้อมและไม่รู้ว่ามันคืออะไร บางคนก็มองว่า ไม่แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์”

 

 

 

ปรับ Mindset SMEs คิดเป็นระบบ
เข้าใจโลก เข้าใจวงจรธุรกิจ

 

สิ่งที่จะทำลดช่องว่างระหว่าง ESG กับ BCG ให้มาเจอกันได้ จะต้องมีกลไก ที่ช่วยประเมินสถานการณ์ ขยายภาพรวมสังคมให้เป็นวงกว้าง และเติมเต็มองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ และเตือนถึงจุดเสี่ยงหากไม่เปลี่ยนแปลง หรือยังทำเหมือนเดิมในไม่ช้าจะได้รับผลกระทบอย่างไร แต่หากดำเนินการจะสร้างโอกาสมากมาย ตั้งแต่การยกระดับสินค้า ดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ บริหารความเสี่ยงในอนาคต ติดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ดึงดูดเงินทุนด้านESG และลดต้นทุนในระยะยาว

ทั้งนี้ สสว. มีบริการสนับสนุนงบประมาณให้SMEs มูลค่า 5 หมื่น - 2 แสนบาท เกี่ยวกับการยกระดับธุรกิจเพื่อเป็นมิตรกับสิ้่งแวดล้อม และการลดการปล่อยคาร์บอน

สำหรับแนวทางการสนับสนุน SMEs ที่ได้ร้บผลกระทบจากส่งออก แม้จะมีการส่งออกจำนวน 2 หมื่นราย จากผู้ประกอบการทั้งหมด 3.2 ล้านราย แต่ส่วนที่เหลืออาจจะอยู่ในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีการส่งออก จึงต้องเข้าไปช่วยยกระดับให้SMEs เข้าใจภาพรวมในการปรับกระบวนการคิด (Mindset) ให้เข้าใจทั้งระบบ การพัฒนาธุรกิจใส่ใจด้านESG

“โจทย์ที่ท้าทายคือทำให้ SMEs เข้าใจในสินค้าทั้งซัพพลายเชนอย่างครบวงจร จึงเข้าใจว่าเพราะอะไรจึงต้องปรับตัวให้ทันกับเทรนด์ภายนอก แต่ก็ยังถือว่ามีความรู้ความเข้าใจดีขึ้นกว่า 10 ปีที่ผ่านมาจากไม่เข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพ ก็เข้าใจว่าคืออะไร”

ในไม่เช้า SMEs ทั้งหมดจะถูกผลักดันให้ต้องปรับตัว มาจาก 4 ปัจจัย คือ
1.ภาคผู้บริโภคทั้ง กลุ่มลูกค้าที่เป็น B2B(ภาคพันธมิตรธุรกิจในซัพพลายเชน) และ B2C (ภาคผู้บริโภค) ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2.การปรับตัวในด้านESG ทำให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่เติบโตอย่างยั่งยืน
3.ดึงดูดนัีกลงที่สนใจเข้าเป็นพันธมิตร และซัพพลายเชน สร้างธุรกิจสีเขียว
และ 4.สถาบันการเงินจะสนับสนุนผุ้ที่ต้องการปรับตัวเอง ได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยดีกว่า

“วันนี้กระแสโลกเปลี่ยน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคที่มาทำการค้าและซื้อสินค้า ล้วนใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เมื่อปรับตัวได้ก็จะสร้างแต้มต่อ มีความแตกต่างให้กับสินค้า มีกรณีศึกษาบางวิสาหกิจชุมชน ได้ร้บความสนใจจากนักลงทุน เมื่อมีการปรับตัวื สามารถเข้าสู่ซัพพลายเชนระดับโลกได้ก่อน ผู้ประกอบการขนาดกลางที่ยังไม่ปรับตัว”

 

 

 

ใส่พลัง Soft power สู่ SMEs
พลิกไทยก้าวเป็นผู้นำเศรษฐกิจยั่งยืน


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรม ไม่สามารถทำธุรกิจแบบเดิมได้ เมื่อภัยพิบัติเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้น บางปรากฎการณ์เคยเกิดขึ้นในรอบ 50 ปี หรือ 100 ปี แต่ปรากฎบ่อยขึ้นในช่วงนี้ หรือบางภัยพิบัติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมเหมือนเดิม ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากศ (Climate Change) จึงถือเป็นความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมากที่สุด

สำหรับความหมายของ ESG คือ การทำธุรกิจโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งจะต้องมีการบริการจัดการที่ดี สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ของ UN รวมถึง BCG คือ เป็นทิศทางESG เวอร์ชั่นของไทย


ต้องยอมรับว่า ผู้ที่น่าห่วงและได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ SMEs ถือเป็นกลุ่มเปราะบาง เห็นได้ชัดในช่วงโควิด -19 ปรับตัวไม่ทันต้องปิดกิจการหายไปจากตลาดจำนวนมาก แต่ใน ESG จะเป็นการการสร้างโอกาสให้SMEsกลับมาฟื้นตัว อยู่ภายใต้ซัพพลายเชนรายใหญ่อย่างแข็งแกร่ง เพราะหลักการคือการทำให้รายใหญ่เข้ามาสนับสนุนรายเล็กให้มีการปรับตัว

นี่คือโอกาสที่จะคืนสมดุลให้กับโลก และคืนโอกาส สร้างความเท่าเทียมให้คนตัวเล็ก SMES ได้มีโอกาส บนกติกาใหม่ ที่EU กำลังออกมา คือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ที่เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาในสินค้า 6 ชนิด และในอนาคตจะขยายไปสู่สินค้าอื่น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย พึ่งพาการส่งออกกว่า 60% ต่อจีดีพี จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้มุ่งมั่นขับเคลื่อนทำให้โลกดีขึ้น ไทยเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศแบบเปิด จึงต้องปรับตัวให้เร็ว เพื่อสร้างความได้เปรียบการแข่งขัน โดยใช้พื้นฐานประเพณี วัฒนธรรม จิตใจของคนไทย เป็นแต้มต่อสร้างคุณค่าพลังอ่อนนุ่ม (Soft Power) ยกระดับสร้างความสัมพันธ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไปสู่ผู้นำด้านความยั่งยืน

“เราไม่ทำไม่ได้และถ้าหากทำแล้วก็ต้องทำให้ดี ดังนั้นคือนโยบายสภาอุตสาหกรรมฯ จึง ผลักดัน ESG มาขับเคลื่อนยกระดับให้อุตสาหกรรมไทยเหนือกว่าคนอื่น เอาวิกฤติมาเป็นโอกาส ESG สำคัญของไทยมาก ความสำคัญไม่ได้เพียงพอ กับรู้แล้วทำอย่างไร และนำซอฟต์พาวเวอร์รากฐานความเป็นวัฒนธรรม ประเพณี วัฒนธรรมแบบไทยสร้างแต้มต่อ”

 

 

 

วาระแห่งชาติ ผนึกพันธมิตรซัพพลายเชน
รับมือกฎเกณฑ์การค้าโลก

นางอารดา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า ESG นั้นมีความสำคัญกับเศรษฐกิจยั่งยืน ที่จะนำไปสู่การสร้างความอยู่รอดให้กับคนตัวเล็ก และคนตัวใหญ่ แม้ข้อบังคับผ่านมาตรการต่างๆ ที่ออกมา จะวางกฎเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต้องดำเนินการ แต่รายเล็กก็ต้องปรับตัว เพราะอยู่ในซัพพลายเชน


“แม้ SMEs มองว่าตัวเอง ยังขายในประเทศ แต่หากขายให้รายใหญ่อยู่ภายใต้ซัพพลายเชน ก็จำเป็นต้องรายงานการตรวบสอบการปล่อยคาร์บอน ก็ต้องมีเกณฑ์การวัดคาร์บอนเครดิต เช่นเดียวกันกับ มาตรฐานที่ยุโรปกำหนด “


หลังจากมีESG ซึ่งสอดคล้องกับการขับเคลื่อน BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนความยั่งยืน ทางกรมDITP ได้ให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ทั้ง 58 แห่ง ทั่วโลก ไปติดตามมาตรกาและกฎระเบียบ เพื่อนำมาเตรียมพร้อมในการยกระดับพัฒนาผู้ประกอบการไทย โดยสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้สอดคล้องกับ SDGs ต้องสร้างพันธมิตรเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน


“ไม่ว่าจะเป็น ESG, BCG และ SDGs เรื่องเดียวกันใครทำคนเดียวไมได้ ต้องร่วมมือกันทุกภาคทั้งสภาอุตฯ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพราะ ไทยไปลงสัตยาบันร่วมกันกับ 194 ประเทศ จึงไม่ทำไม่ได้ เป็นทิศทางที่ประเทศมุ่งพร้อมกับทั่วโลก โดยเฉพาะกฎระเบียบที่ทำกับ 10 ประเทศที่สร้างเงื่อนไข ไทยมีการส่งออก 56% หากไม่ทำไม่สนใจกฎระเบียบก็เท่ากับการค้าของไยหายไปกว่าครึ่ง เงินหายไปทันที 56 บาทจาก 100 บาท จึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม DITP”

 

 

 

 

Tag :