โลกร้อนระอุ กรีนแลนด์พุ่ง 3 องศา พืชเขียวขจี มีเทนกระจายเพิ่ม 4 เท่า

by วันทนา อรรถสถาวร , 18 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้เชี่ยวชาญสภาพอากาศ พบปรากฎการณ์พันธ์ุพืชเขียวขจีในกรีนแลนด์ ไม่ใช่เรื่องน่ายินดี ความร้อนระอุของโลก ทำให้ ”กรีนแลนด์” เมืองที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งกลายเป็นแหล่งพืชเติบโต ระบบนิเวศเสียสมดุล น้ำแข็งละลายหนุนน้ำทะเลโลกสูงขึ้น การประทุขึ้นของก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า

 

 

หนึ่งในสัญญาณเตือนโลกร้อนระอุกำลังขยายวงกว้างมากขึ้นจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จากการเฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงของนักวิทยาศาสตร์ ผ่านดาวเทียม ชี้ให้เห็นถึงการละลายของน้ำแข็ง บริเวณ “กรีนแลนด์” พื้นที่เคยปกคลุมด้วยน้ำแข็ง แต่ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ถูกแทนที่ด้วยดินและโขดหินโผล่ขึ้น กินบริเวณกว้างขึ้น จึงทำให้พันธุ์ไม้เล็กๆ รวมถึง พืชผักประจำถิ่น ได้เจริญเติบโตโผล่พ้นเหนือดินมากมาย

นี่คือผลพวงจากความร้อนในชั้นใต้ดิน ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน จากบ่อน้ำ นำไปสู่การเกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลของตะกอนและสารอาหารเข้าไปยังชายฝั่ง

ส่งผลต่อระบบนิเวศในขั้วโลกเหนือ ส่งผลกระทบไปสู่ระดับน้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้น เป็นภัยต่อความมั่นคงของภูมิประเทศ

การเจริญเติบโตที่ผิดแผกจากเดิม สะท้อนถึง ระบบนิเวศกำลังสูญเสียสมดุลทางธรรมชาติ

น้ำแข็งละลายหายไป 1.6 % ของพื้นที่ทั้งหมด

การวิเคราะห์บันทึกดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางดาวเทียมได้ฉายภาพของการละลายของน้ำแข็งความกว้างถึง 11,000 ตารางไมล์ ( 28,489.8 ตารางกิโลเมตร) สัดส่วน 1.6 % ของพื้นที่น้ำแข็งทั้งหมด ส่วนพื้นที่ที่เปลี่ยนเป็นพรรรณพืชเจริญเติบโตก็ขยายวงกว้างขึ้น กินบริเวณยาวมากถึง 33,774 ตาราง ไมล์ (87,474.25 ตารางกิโลเมตร) หรือ เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า

รายงานการวิจัยค้นพบผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็ง เกิดพื้นที่ชุ่มน้ำ และหนองน้ำ และระบุถึงปรากฎการณ์นี้ว่า จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของก๊าซมีเทนถึง 4 เท่า หลังจากมีการละลายของธารน้ำแข็ง การเกิดพันธุ์พืช เจริญเติบโต ทำให้สารอาหารต่างๆไหลไปรวมตัวหนาแน่น ในบริเวณแหล่งน้ำ ใกล้กับ กังเกอร์ลุสซัก (Kangerlussuaq) ทางตะวันตกเฉียงใต้และในพื้นที่ห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือ

   

มีสัญญาณบ่งชี้ว่าพืชพรรณที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำแข็งเพิ่มเติม ภาพ: Michael_PhD

มีสัญญาณบ่งชี้ว่าพืชพรรณที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำแข็งเพิ่มเติม ภาพ: Michael_PhD

 

อุ่นกว่าค่าเฉลี่ย 3 องศา C

ผลวิจัยพบว่า อุณหภูมิของอากาศที่อุ่นขึ้นทำให้น้ำแข็งหดตัว และนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา อุณหภูมิ บน กรีนแลนด์ มีความร้อนขึ้น2 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก โดยวัดระดับอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555 เพิ่มสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบทียบกับ อุ่นกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ.2522 ถึง พ.ศ. 2543

โจนาทาน คาร์ริวิค (Jonathan Carrivick) นักวิทยาศาสตร์โลกแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์และเป็นผู้เขียนร่วมของการศึกษา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports กล่าวว่า นี่คือสัญญาณการสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งกำลังนำไปสู่การเกิดผลกระทบต่อปฏิกิริยาต่างๆ ที่เป็นผลพวงจากการแทนที่ด้วยน้ำแข็งละลาย

“การสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งเพิ่มขึ้น เป็นบทสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ “สีเขียว”เข้ามาแทนที่ น้ำแข็ง ในกรีนแลนด์ อนาคตน้ำแข็งที่หดตัวจะเผยให้เห็น หินเปลือยมากขึ้น กลายเป็นที่อยู่ของพุ่มไม้ในที่สุด ในเวลาเดียวกัน น้ำที่ละลายจากน้ำแข็ง จะเคลื่อนย้ายไหลมารวมกันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ หนองน้ำและที่ราบลุ่ม”


วิถีชนเผ่าพื้นเมืองเปลี่ยน
กรีนแลนด์หนุนน้ำทะเลโลกสูงขึ้น

ดร.ไมเคิล กริมส์ ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ ยังกล่าวว่า การขยายตัวของพืชพรรณควบคู่ลดลงของธารน้ำแข็ง เมื่อไหลตกตะกอนกลายเป็นสารอาหารลงไปสู่แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำชายฝั่ง เป็นสิ่งสะท้อนสาเหตุสำคัญทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น

“การเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศส่งผลกระทบต่อประชากรพื้นเมือง ที่ล่าสัตว์เพื่อยังชีพ จะต้องสูญเสียความความมั่นคงในวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป พร้อมกับ การสูญเสียมวลน้ำแข็งในกรีนแลนด์ มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ถือเป็นความท้าทายต่อปัจจุบันและในอนาคต”

 

ที่มา:
https://illuminem.com/illuminemvoices/climate-experts-sound-alarm-over-thriving-plant-life-at-greenland-ice-sheet
https://www.theguardian.com/world/2024/feb/13/flourishing-vegetation-greenland-ice-sheet-alarm-climate-crisis