จุดเปลี่ยนผ่าน 6 ทศวรรษ วิวัฒนาการ สู่จักรวาล ESG

by ESGuniverse, 23 เมษายน 2567

เส้นทางการเปลี่ยนผ่านกว่า 6 ทศวรรษ (ปี 1960-2024) ของวิวัฒนาการมาสู่หลักคิดการทำธุรกิจให้ยั่งยืน สร้างผลกำไร ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ สมดุลควบคู่กับสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามหลักคิดที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ESG (E-Environment-สิ่งแวดล้อม, S-Social-สังคม, G-Governance-ธรรมาภิบาล)

 

 


วิวัฒนาการของ ESG

ตามไปแกะรอยเส้นทางจุดเปลี่ยนของหลักคิดการทำธุรกิจจากสิ่งเล็กๆ ของภาคธุรกิจ กลายเป็นจุดศูนย์กลาง ในการกำหนดกลยุทธ์ นำไปสู่การพลิกโลกสู่มิติใหม่ ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น

 

ค.ศ. 1960 - 1970 : เกิดแนวคิดการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (SRI)

แนวคิดของการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investing: SRI) ได้ปรากฏขึ้นในยุคนี้ ซึ่งนักลงทุนได้เริ่มพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับประสิทธิภาพทางการเลือกลงทุนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

ค.ศ. 1980 : การทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) หลายธุรกิจเริ่มขยับทำโครงการเพื่อสังคม

แนวคิด ภาคธุรกิจต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เริ่มได้รับความสนใจภาคธุรกิจมากขึ้น โดยบริษัทต่างๆ มีการเพิ่มมิติของการวางแผนธุรกิจด้วยความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูล ไม่ส่งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

ช่วงปลายทศวรรษ 1990:ก่อตั้งองค์กรการเขียนรายงานสากล (GRI)

มีการริเริ่มก่อตั้งองค์กร การรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) เพื่อให้วางกรอบการทํางานลงลึกในรายละเอียด เป็นแนวทางให้กับบริษัทต่างๆ ในการเปิดเผยผลกระทบและการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลัก ESG

ค.ศ. 2002 : จัดทำการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยคาร์บอน (CDP)

มีการริเริ่มแนวทางการสร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการเปิดเผยข้อมูลการรายงานติดตามการปล่อยคาร์บอน (The Carbon Disclosure Project: CDP) เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการปกป้อง รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ค.ศ. 2006 : ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์ (DJSI)


ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (The Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) เป็นแนวทางการยอมรับองค์กรยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดย มีตัวชี้วัดจาก S&P Global ทำหน้าที่ติดตามผลการดําเนินงานของธุรกิจ และผลประกอบการ ของบริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืน

ค.ศ. 2010 : รวมกรอบการทำงาน บูรณาการสากล

มีการจัดตั้งสภาการจัดทำรายงานเชิงบูรณาการสากล สร้างรูปแบบการรายงานและการคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานทั้งในภาครัฐและเอกชน (International Integrated Reporting Council: IIRC) มีหลักเกณฑ์การกำหนดกรอบการทํางานอย่างบูรณาการ โดยรวบรวมแนวทางการชี้วัดในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการเงินและความยั่งยืน รวมถึงทำให้เกิดการหาแนวทางการระดมทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น พันธบัตรสีเขียว(Climate Bonds Initiative: CBI)

ค.ศ. 2011: เปิดตัว คณะกรรมการมาตรฐานด้านการบัญชีเพื่อความยั่งยืน (SASB)

ได้มีการเปิดตัว คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีเพื่อความยั่งยืน (The Sustainability Accounting Standards Board: SASB) โดยมุ่งเน้นหลักเกณฑ์การทำ ESG ที่มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเชื่อมโยงโดยตรงกับผลการดําเนินงานทางการเงินของบริษัท

ค.ศ. 2014 : IIRC เปิดรายงานกรอบการทำงานให้ภาคธุรกิจ

IIRC เผยแพร่กรอบการรายงานแบบบูรณาการเพื่อแนะนําบริษัทต่างๆ ในการสร้างรายงานแบบบูรณาการที่รวมข้อมูลทางการเงิน สิ่งแวดล้อม และสังคม

ค.ศ. 2015 : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ( SDGs) 17 ข้อ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ถูกนํามาใช้ พัฒนาเป็นแผนแม่บทระดับโลก เพื่อให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกเมีกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งผลเชื่อมโยงกับแนวทางการทำ ESG

ค.ศ. 2016 : สหภาพยุโรป ได้วางรูปแบบการกำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืน (SFDR)

สหภาพยุโรป (EU) ใช้ระเบียบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Finance Disclosure Regulation: SFDR) มีเป้าหมายการเพิ่มความโปร่งใสและลดการฟอกเขียวในการลงทุนที่ยั่งยืน

ค.ศ. 2021 : จัดหมวดหมู่ภาคธุรกิจสีเขียว


สหภาพยุโรปมีการนำระบบจำแนกประเภทกิจกรรมสร้างความยั่งยืน(The EU Taxonomy) มาใช้จัดหมวดหมู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาใช้พิจารณาโครงการสร้างความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม

ค.ศ. 2023 : กำหนดให้มีข้อบังคับการรายงานความยั่งยืนของบริษัท (CSRD) ใน EU


ข้อบังคับว่าด้วยการรายงานความยั่งยืนของบริษัท (The Corporate Sustainability Reporting Directive: CSRD) ได้รับการสรุปในสหภาพยุโรป โดยกําหนดให้มีการรายงานความยั่งยืนเพื่อวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนให้กับธุรกิจในสหภาพยุโรป

ค.ศ. 2024 : ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC)

สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในสหรัฐอเมริกา (Securities and Exchange Commission: SEC) พิจารณาข้อเสนอสําหรับการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่จําเป็นสําหรับบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศจีนและบราซิล อยู่ระหว่างการพัฒนาข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูล ESG

บทความและอินโฟกราฟิกนี้ได้เน้นย้ำถึงความสําคัญที่เพิ่มขึ้นของมาตรฐาน ESG และการรายงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบขององค์กรและกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มที่ชัดเจนต่อความโปร่งใสและกฎระเบียบที่มากขึ้นในด้านความยั่งยืนขององค์กรด้วยเช่นกัน

ที่มา-Climate Innovating for Resilience