ล้งจีน : ปัญหาการผูกขาดหัวคิวผลไม้ไทย

by ThaiQuote, 15 กุมภาพันธ์ 2561

จากรสนิยมที่ชื่นชอบผลไม้ไทยของชาวจีน จนมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งโรงคัดบรรจุผลไม้หรือที่เรียกกันว่า “ล้ง” หรือ “ล้งจีน” มากขึ้น เพื่อรับซื้อผลไม้ไทยถึงในสวนและส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้มีการครอบงําการค้าผลไม้ไทย และมีการขยายฐานไปยึดครองการค้าผลไม้ไทยในอีกหลายจังหวัดในภูมิภาคต่างๆเกษตรกรชาวสวนผลไม้ส่วนใหญ่ เริ่มหวาดหวั่นว่าล้งจีนจะเข้ามาผูกขาดการซื้อขายและกําหนดราคาผลไม้ไทยในอนาคต ซึ่งหากปล่อยไว้ โดยไม่มีการแก้ไข ป้องกันหรือควบคุม ธุรกิจการค้าผลไม้ไทยอาจประสบปัญหาวิกฤต จากการที่สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติ แห่งชาติได้มีการพิจารณาศึกษา “กรณีการตั้ง โรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) ของผู้ประกอบการชาวต่างชาติ ในจังหวัดจันทบุรี” เพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาด ทางตลาด ลดการครอบงําการค้าผลไม้ไทยเพื่อให้ เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น และควบคุม การประกอบธุรกิจของคนต่างชาติให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายนางสาวอรวรรณ วัฒนยมนาพรนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สํานักขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ ได้สรุปปัญหาดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอข้อแก้ไขได้ดังนี้
  • มาตรการการจัดระเบียบทางการค้า โดยการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับให้เข้มข้นขึ้น เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโลและห้องเย็น พ.ศ. .... โดยการพิจารณาจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
1.1) ปัญหาการประกอบอาชีพของคนต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต : การประกอบธุรกิจ โรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้งจีน) เป็นการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยธุรกิจการรับซื้อผลไม้ จากชาวสวนมาคัดกรองคุณภาพและขนาดบรรจุเพื่อส่งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจถือเป็นการให้บริการบริษัทแม่ในต่างประเทศตามธุรกิจบริการตามบัญชี 3(21) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการประกอบธุรกิจของสํานักงานผู้แทน จึงต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้หากมีการคัดผลไม้เพื่อส่งออก แต่มีการขายผลไม้ที่ไม่ผ่านการคัดแยก บางส่วนในประเทศ ถือเป็นการประกอบธุรกิจการค้าภายในเกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรตามบัญชี 3(13) ซึ่งจะต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายดังกล่าวก่อนด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายฉบับนี้ 1.2) ปัญหาพฤติกรรมทางการค้าไม่เป็นธรรมและมีการกระทําหรือตกลงร่วมกันอันมี ลักษณะผูกขาดทางการค้า : การประกอบธุรกิจโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้งจีน) โดยมีการกระทําหรือตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้ประกอบการเพื่อซื้อผลไม้จากชาวสวนเป็นจํานวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีการกําหนดราคาสําหรับ ผลไม้บางส่วนให้ต่ำกว่าราคาตลาด อาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 1.3) ปัญหาการทํางานของคนต่างด้าว (บุคคลธรรมดา) : การที่คนต่างด้าวที่เข้ามาทํางาน ในไทยต้องได้รับใบอนุญาตทํางาน (Work Permit) ตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ประกอบกับต้องได้รับอนุญาตให้อยู่และทํางานในประเทศได้ (Permit to Stay) ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงควรตรวจสอบว่าคนต่างด้าวในธุรกิจนี้ได้รับอนุญาตให้ทํางานอย่างถูกต้องแล้วจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.4) ปัญหาการจัดเก็บภาษี : การประกอบธุรกิจซื้อผลไม้หากมีการทําธุรกรรมขายสินค้า ในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ถือเป็นการทําให้เกิดรายได้ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งผู้มีรายได้มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากรจึงควรมีการตรวจสอบและจัดเก็บภาษีจากธุรกิจนี้ให้ถูกต้องครบถ้วน 1.5) การจัดระเบียบการส่งออกนําเข้าผลไม้ควรมีการกําหนดให้สมาคมการค้าที่ตั้งขึ้นเฉพาะ เป็นตัวช่วยเสริมบทบาทการกํากับดูแลการส่งออกนําเข้าผลไม้ของไทยให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความถูกต้อง และเป็นธรรม เช่น เรื่องการกําหนดเงื่อนไขทางการค้า การชําระเงิน เงื่อนไขการตลาด อย่างชัดเจน สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมของสมาชิกที่ส่งออกไปและเป็นการส่งเสริมเหตุผลในการต่อรองเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม จากประเทศผู้ซื้อ โดยในโอกาสต่อไป อาจจําเป็นต้องมีการกําหนดผลไม้ที่สําคัญและจําเป็นบางชนิดให้ต้องมี การออกใบอนุญาตนําเข้า (Import Licensing) และใบอนุญาตส่งออก (Export Licensing) 2) มาตรการส่งเสริมการตลาด การส่งออก การค้าและการนําเข้า เช่น 2.1) การส่งเสริมการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่คนไทยที่เคยออกจากตลาดไปแล้ว ให้กลับมามีบทบาทในการส่งออก ควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในการหาตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ รวมทั้งวางแนวทางสนับสนุนให้การค้าผลไม้ไทยเป็นวาระแห่งชาติและสร้าง Platform การบริหารจัดการ การค้า การตลาดและการทําเว็บไซต์ผลไม้ไทย เพื่อเป็นโมเดลแก่ผู้ประกอบการไทย 2.2) การส่งออก ควรมีมาตรการส่งเสริมเรื่องการส่งออกผลไม้การแปรรูปผลไม้โดยถือเป็น วาระสําคัญในการขับเคลื่อนผลไม้ไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อห่วงโซ่อุปทาน 2.3) การค้าผลไม้ในพื้นที่แหล่งผลิตในตลาดกลางและการเตรียมการบรรจุการสงออก ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวและมีระบบโลจิสติกส์ทั้งด้านการขนถ่ายและห้องเย็นที่เอื้ออํานวย ซึ่งจะช่วยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับผู้ผลิตของไทย ทั้งในส่วนที่เป็น SMEs เกษตรกร หรือสหกรณ์ผู้ผลิต ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการต่างชาติได้ทําหน้าที่เป็นผู้นําเข้าที่ดีต่อไป 2.4)การนําเข้าผลไม้บางประเภทที่เข้ามาค้าขายในตลาดเมืองไทยบางอย่าง ต้องมีการกําหนดมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อเป็นการป้องกันผู้บริโภคให้ได้รับของที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล 3) มาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น 3.1) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและการซื้อขายแบบ On-line สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน และทําการซื้อขายแบบ On-line ซึ่งจะทําให้สามารถขายสินค้าได้ทั่วโลก นอกจากนี้สหกรณ์การผลิตหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรผนึกกําลังเพื่อส่งเสริมให้มีการตั้งโรงคัดบรรจุผลไม้หรือส่งเสริมให้โรงคัดบรรจุผลไม้ มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันกับโรงคัดผลไม้ของคนต่างด้าวได้ภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสภาหอการค้าจังหวัด ต้องเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นในการสร้างผู้นําทางการตลาด และเป็น Smart SMEs 3.2) ควรกําหนดให้ผู้ส่งออกผักและผลไม้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก โดยผลิตผลที่ส่งออก ต้องมาจากแปลงปลูกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรที่ดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP) และมาจากโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรส่งออกของไทยแก่ประเทศคู่ค้า ตามระเบียบการส่งออก พืชผักและผลไม้สด ในเรื่องการปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช 3.3) นอกจากบังคับใช้กฎหมายแล้ว ควรกําหนดมาตรการอื่นๆ เช่น กําหนดให้ผลไม้เป็นรายการสินค้าสําคัญที่ควรมีการควบคุม กํากับดูแลปริมาณที่ส่งออก ตามพระราชบัญญัติการส่งออกนําเข้าพ.ศ. 2522 จัดระบบการเก็บภาษีรองรับ และมาตรการส่งเสริมอื่นๆ ให้ชาวสวนมีความเข้มแข็ง เช่น โครงการส่งเสริมการรวมตัวเป็นสมาคมการค้า และการหาตลาดอื่นนอกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการนวัตกรรมการแปรรูปผลไม้หรือการเรียนรู้เพื่อให้มีอํานาจต่อรองทางการค้ามากขึ้น 3.4) สร้างรูปแบบการดําเนินการของสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการ การสนับสนุนการเปิดเว็บไซต์เพื่อการจําหน่ายผลไม้ออนไลน์ หากลักษณะตลาดยังมีความต้องการ (Demand) ผลิตผลทางการเกษตรสูง ประเด็นเรื่องดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยมากนักอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันและเหลือบทบาท เป็นเพียงผู้ปลูกและดูแลสวนผลไม้ แต่ถ้าสถานการณ์ของตลาดผลิกผัน ความต้องการในผลิตผลทางการเกษตรน้อยลงจนเกิดสภาวะผลไม้ล้นตลาด ผู้ประกอบการฝ่ายไทยจะไม่สามารถหาตลาดเองได้เพราะขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการจีน อีกทั้งไม่มีผู้ซื้อรายอื่นรองรับสถานการณ์นี้จะส่งผลให้ผลไม้มีราคาตก เกิดสภาวะผลไม้ล้นตลาดและต้องทิ้งเปล่าเป็นจํานวนมากจนอาจกลายเป็นความเสียหายอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น จึงควรเร่งรัดผลักดันให้มีมาตรการรองรับ และใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการผูกขาดทางตลาดลดการครอบงําการค้าผลไม้ไทยเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
  •            นางสาวอรวรรณ วัฒนยมนาพร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สํานักขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ แหล่งที่มาของข้อมูล  • การประชุมคณะกรรมาธิการการพาณิชย์การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ 31/2558 วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558, สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กฏหมายและระเบียบ, http://www.dbd.go.th • กรมวิชาการเกษตร, พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร 2551, http://doa.go.th/oard5/images/pdf/GAP/q4.pdf • กรมส่งเสริมสหกรณ์, ผลไม้, http://www.cpd.go.th/cpd/thaiaseancoop • สํานักบริหารแรงงานต่างด้าว, พระราชบัญญัติ, http://wp.doe.go.th/wp/index.php/2013-07-25-03-45-44/ 2013-07-25-08-01-56/2013-07-25-08-08-05
Tag :