“โรคเกาต์” รักษาได้ด้วย เห็ด

by ThaiQuote, 22 มิถุนายน 2560

จากข้อมูลข้างต้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเกษตรสร้างสรรค์ ร่วมกับคณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ผศ. อุษณา พัวเพิ่มพูนศิริ และ ผศ.วริษฎา ศิลาอ่อน  ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ด เพื่อลดสภาวะปวด อักเสบของข้อที่เกิดจากอาการโรคเกาต์ และเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการบรรเทาอาการอักเสบที่เกิดเนื่องจากสภาวะของโรคเกาต์ การวิจัยดังกล่าวสืบเนื่องมาจากปัญหาหลักในการรักษา คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน (Acute gouty attack) เกิดขึ้นเป็นระยะ และมีผู้ป่วยที่มีอาการโรคข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic tophacous gout) อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีภาวะไตพิการ หรือไตวายร่วมอยู่ในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 70 มักพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเกาต์เสียชีวิต อีกทั้งยาที่ระงับหรือป้องกันอาการอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการกินยาในปริมาณสูง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลหรือเลือดออกในกระเพาะ มีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เป็นผลเสียต่อผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจร่วมด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีอาการไตเสื่อมอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันขึ้น ซึ่งยาในกลุ่ม NSAID นี้มีกลไกในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostanoids ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้น แต่การยับยั้งเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นได้ มีรายงานการวิจัยที่กล่าวถึงศักยภาพของเห็ดในการต้านการอักเสบ รวมถึงลดการหลั่งของสารที่เกี่ยวข้องกับกลไกการอักเสบของร่างกาย อาทิ interferon-g (IFN-g), IL-2, and IL-6 นอกจากนี้เมื่อนำมาทดสอบในสัตว์ทดลอง ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพรูปแบบเม็ด ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (สายพันธุ์เห็ดนางรม เห็ดหอม และนางฟ้า ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสารเบต้ากลูแคนสูง รวมถึงวัสดุเพาะที่ปรับปรุงสูตรเฉพาะเหมาะสำหรับการผลิตเบต้ากลูแคน) โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านมาตรฐานการผลิตยาเม็ดตามเภสัชตำรับ ทั้งนี้จากผลทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ของ crude extract (การสกัดขั้นแรก) ของเห็ดทั้ง 3 ชนิด ต่อ การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านการอักเสบ พบว่า crude extract ของเห็ดหอม ที่ความเข้มข้น 60 ug/ml สามารถลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการอักเสบ เช่นเดียวกับผลของ crude extract ของเห็ดนางฟ้าที่สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอักเสบ ในเซลล์ ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดสภาวะอักเสบ ในขณะที่สารสกัดจากเห็ดนางรม สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติ โดยการเพิ่มการแสดงออกของยีน อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถติดต่อได้ที่ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โทร. 0-2577-9436-38 หรือ Call center วว. โทร.0 2577 9300 ในวันและเวลาราชการ E-mail : [email protected]

Tag :