อาการ แพนิค ( Panic)

by ThaiQuote, 8 กรกฎาคม 2561

อาการแพนิค (Panic Disorder/Infomental)อาการแพนิค ในทางการแพทย์ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งมีคนเป็นกันมาก และเป็นกันมานานแล้ว(บนบก) แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย แพทย์บางท่าน อาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ "ประสาทลงหัวใจ" ความจริงแล้วโรคนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคหัวใจเลย เพราะไม่ได้มีปัญหาอะไรที่หัวใจ หากแต่เป็นสภาพทางจิตและ ไม่มีอันตราย ถ้าเกิดบนบก แต่จะส่งผลร้ายแรงอย่างยิ่งเมื่อเกิดอาการขึ้นในขณะดำน้ำ เนื่องจาก จะทำให้นักดำน้ำ จมน้ำเสียชีวิตได้   การเกิดอาการแพนิคในสถานการณ์ที่อยู่ใต้น้ำ จะมีอาการกำเริบจากความกลัว หรือเพราะผลจากความลึก ที่ทำให้เกิดแรงบีบกดร่างกาย และผลจากการหายใจที่ความลึก อากาศมีความหนาแน่นมากจึงหนัก ยากแก่การหายใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน มีความรู้สึกเหมือน Regulator ไม่จ่ายอากาศ หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน และหมดสติ ในขณะที่มีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวมากจนไม่สนองตอบต่อคำสั่ง   ผู้ป่วยโรคแพนิคส่วนใหญ่จะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวว่าตัวเองกำลังจะหมดสติแล้ว บางคนกลัวว่า ตนกำลังจะเสียการควบคุมตัวเอง อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นทันที และค่อย ๆ พัฒนาความหลอนรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ จนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ ทุเลาลง ในขณะนั้นถ้าเราพบเห็นนักดำน้ำที่มีอาการสั่นกลัว อาจให้ความช่วยเหลือได้โดยการพาขึ้นสู่ที่ตื้นอย่างช้าๆ จับมือผู้ป่วยไว้ให้แน่น เสมือนว่าเค้าปลอดภัยแล้วที่เจอเรา การพาผู้ป่วยขึ้นสู่ที่ตื้นนั้น เป็นการปรับลดความกด และแรงดันของระบบลง ซึ่งจะช่วยได้มากๆ นักดำน้ำจะรู้สึกหายใจได้ง่ายขึ้น สบายตัวขึ้น เพราะแรงกดดันลดลง ข้อควรระวังอย่างยิ่ง ในรายที่ดิ้นรนรุ่นแรงควรเข้าด้านหลัง หรือคุณควรมีความรู้ในระดับ Rescue แล้วเท่านั้น อาการมักจะหายหรือเกือบหาย ในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ภายหลังจากอาการแพนิคผ่านพ้นไปแล้ว ผู้ป่วยมักจะอ่อนเพลียมาก และแม้แต่ในช่วงที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยก็มักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก ซ้ำๆจนเสียสุขภาพจิต   อาการ Panic นี้ กำลังถูกพูดถึงกันมากในช่วงนี้ว่าจะเป็นอันตรายกับกลุ่ม “13 ชีวิต”ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน หากต้องใช้วิธีดำน้ำออกมา จาก เว็บ recondiver  กล่าวว่า โรค Panic นี้สามารถเกิดได้กับนักดำน้ำทุกวัยทั้งมือเก่า และมือใหม่ ทาง Thaiquote จึงอยากนำบทความนี้นำเสนอต่อผู้ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะ “ทีมหมูป่า” มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ยังอยู่ในช่วงที่ร่างกายอิดโรย สภาพจิตใจยังไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญไม่มีประสบการณ์ในการดำน้ำ และสภาพน้ำที่ดำเป็นน้ำในถ้ำ มีโคลน มืด ไม่สามารถสื่อสารกับผู้ประกบออกมาด้วยกันได้   ขอขอบคุณข้อมูล : www.recondiver.com