“อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” ปลัดหญิงแกร่งแห่งดีอี กับ 3ภารกิจ Digital Thailand

by ThaiQuote, 6 ตุลาคม 2560

“ หน้าที่ของปลัดดีอีในขณะนี้ คือการเร่งรัดในสิ่งที่รัฐหมายได้มอบหมายเอาไว้ อันดับแรกคือ โครงการ “เน็ตประชารัฐ” เรื่องที่ 2 คือ การสร้างฐานข้อมูล และบูรณาการฐานข้อมูลรวมของประเทศ และ 3 คือ เรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ทั้ง พรก.และพรบ.ต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล”

“แนวคิดส่วนตัวของตนคือ คนเราจะทำอะไรจะต้องทำให้สุด เมื่อทำถึงที่สุดแล้ว เราจะไม่มานั่งคิดเสียใจภายหลัง ดังนั้นเมื่อได้รับโอกาสเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้แล้ว ก็จะต้องขอลองทำงานให้เต็มที่ดู สิ่งที่ตนอยากทำคือ การเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาประเทศนี้ให้พัฒนาไปในแนวทางที่ดีที่สุด” นี่คือคำพูดที่จะพิสูจน์ความสามารถของหญิงแกร่งแห่งกระทรวงดีอีกับ 3 ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศสู่ Digital Thailand “ หน้าที่ของปลัดดีอีในขณะนี้ คือการเร่งรัดในสิ่งที่รัฐหมายได้มอบหมายเอาไว้ อันดับแรกคือ โครงการ “เน็ตประชารัฐ” เรื่องที่ 2 คือ การสร้างฐานข้อมูล และบูรณาการฐานข้อมูลรวมของประเทศ และ 3 คือ เรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ทั้ง พรก.และพรบ.ต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล” สำหรับภารกิจที่ 1 เรื่องของโครงการ “เน็ตประชารัฐ” จะมีการเร่งรัดการวางโครงสร้างพื้นที่ให้เสร็จทั้ง 24,700 หมู่บ้านภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการใช้งานให้เป็นประโยชน์ ด้วยการปูพื้นฐานความรู้ สร้างองค์ความรู้ การนำอินเตอร์เน็ตที่มีมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้การปูพื้นฐานดังกล่าว กระทรวงดีอี จะจัดให้มีกิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ในพื้นที่โครงการ “เน็ตประชารัฐ” ทั่วประเทศ โดยกระทรวงดีอีจะเป็นแกนกลาง ประสานความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย,กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนตุลาคมนี้ในการจัดเตรียมการ และจะเริ่มการอบรมในเดือนพฤศจิกายนนี้ ในส่วนของกิจกรรมการอบรมดังกล่าวจะจัดเป็นลักษณะการรวมกลุ่มในพื้นที่ใกล้เคียง โดยการคัดเลือกตัวแทนแต่ละพื้นที่เข้าร่วมอบรม ด้านองค์ความรู้ด้านการใช้งาน ด้านกฎหมาย และแอพพลิเคชั่นของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชน ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมดังกล่าวประมาณ 6 เดือนตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากการนำร่องดังกล่าว ขณะที่ภารกิจที่ 2 คือ การจัดการระบบฐานข้อมูลภาครัฐ (Big Data) รวมทั้งการบูรณาการฐานข้อมูล  เป็นการสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวางนโยบาย สร้างความพร้อมและความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการจากหน่วยงานรัฐ โดยคาดว่าจะใช้เวลา 3 เดือนต่อจากนี้ ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้านการสร้างฐานข้อมูลหน่วยงาน(Database) ใน 4 ระบบฐานข้อมูลดังนี้ 1.ระบบฐานข้อมูลบุคคล เป็นการเชื่อมโยงฐานข้อมูลบุคคลของประชาชนชนระหว่างสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยการติดต่อราชการระหว่างประชาชนกับหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนอีกต่อไป ซึ่งขณะนี้มีเกินกว่า 100 หน่วยงานที่เชื่อมต่อฐานข้อมูลดังกล่าวแล้ว 2.ระบบแผนที่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลด้านการวางแผนนโยบายและตัดสินใจของภาครัฐ 3.ระบบสภาความมั่นคงของประเทศ โดยจะใช้รูปแบบของระบบแผนที่ประเทศไทย ใช้เพื่อเก็บข้อมูลด้านความมั่นคง ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ และยาเสพติด 4.ระบบการบูรณาการข้อมูลน้ำ ซึ่งใช้จัดการระบบน้ำทั่วประเทศ เพื่อการทำการเกษตรในพื้นที่ต่างๆ การพยากรณ์อากาศและปริมาณน้ำฝน รวมถึงการใช้เป็นข้อมูลด้านการแก้ไขอุทกภัย และฝนแล้ง ขณะเดียวกันในส่วนของภารกิจสุดท้าย คือ การเร่งรัดด้านข้อกฎหมายต่างๆของกระทรวงดีอี ซึ่งมีทั้งในส่วนของเรื่องการแบ่งส่วนราชการ พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติด้านข้อมูลส่วนบุคคล,ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภายใต้การมีกฎหมายต่างๆรองรับ และนี่คือ 3 ภารกิจเร่งด่วนซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ฝีมือปลัดหญิงแกร่งแห่งกระทรวงดีอีคนใหม่ ที่จะช่วยวางรากฐานให้ประเทศไทยก้าวสู่ Digital Thailand ในอนาคตต่อไป

Tag :