แม่ทัพ คนที่12 แห่งSCG ฉายภาพเคลื่อนองค์กรเติบโต Go Greenในโลว์คาร์บอน

by ESGuniverse, 28 กุมภาพันธ์ 2567

ซีอีโอ คนที่ 12 แห่ง SCG ยุคแห่งความท้าทายพลิกเกม ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ยุคที่ธุรกิจจะต้องเติบโตควบคู่กับดูแลสังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ Inclusive Green Growth จึงเป็นการเติบโตที่ ธรรมศักดิ์ ผู้นำคนใหม่เอสซีจี มุ่งหวังจะคว้าทั้งกล่อง และความมั่งคั่ง

ถึงวันที่ เอสซีจี ได้เปลี่ยนผ่านธุรกิจ111 ปี พร้อมกันกับผลัดใบ ผู้บริหารคนใหม่ ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำองค์กร ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี คนที่ 12 เข้ารับตำแหน่งอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา

แพสชั่นสำคัญของซีอีโอคนใหม่ ในยุคโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและท้าทาย ซีอีโอใหม่มีแรง ปรารถนา (Passion) เป็นผู้ขับเคลื่อนทิศทางธุรกิจเอสซีจี ในยุคเปลี่ยนผ่านองค์กรที่ดำเนินการมามากกว่า 111 ปี (ก่อตั้งปี พ.ศ.2456) ไปสู่การเติบโตรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับเทรนด์โลก ยุคเติบโตด้วยธุรกิจสีเขียว หลอมรวมความหลากหลาย (Inclusive Green Growth)

จากธุรกิจที่ก่อตั้งเติบโต บนพื้นฐานการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อตอบสนองความต้องการโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตในยุคนั้น จนมาสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง พร้อมกันกับความต้องการเศรษฐกิจขับเคลื่อนอย่างสมดุล สิ่งแวดล้อม และสังคม เติบโตไปด้วยกัน

เขาคือ ผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ธุรกิจใหม่ จนสามารถขยายการเติบโตในตลาดใหม่ สร้างรายได้ให้กับองค์กร ผลงานที่ผ่านมาจึงพิสูจน์ ความเหมาะสมในยุคที่ต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน ให้รวดเร็วเท่าทันกับยุคโลก เกิดความเปลี่ยนแปลงจากหลายปัจจัยนอกเหนือการควบคุมเข้ามาท้าทายกลยุทธ์การวางแผน ไม่เป็นไปตามคาดหมาย

 


ธุรกิจเติบโต โลว์คาร์บอน


ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี คนล่าสุด มองถึงการเปลี่ยนผ่านเอสซีจี ไปสู่การทำธุรกิจขายนวัตกรรมกรีน ควบคู่กับการให้โอกาสกับทุกภาคส่วนในสังคม ด้วยแนวคิด ‘Passion for Inclusive Green Growth’ เป็นภารกิจหลักกับการเป็นผู้นำขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก กำลังเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การดำรงชีวิตของคน และเศรษฐกิจโลก จึงต้องร่วมมือกัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero)

สิ่งที่ซีอีโอคนใหม่แห่งเอสซีจี เน้นย้ำเสมอ ตั้งแต่ก่อนมารับตำแหน่งคือ ที่ผ่านมา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่างต้องแลกมาด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่โลก ดังนั้น เขาต้องการพิสูจน์ โมเดลการทำธุรกิจ สร้างธุรกิจและเศรษฐกิจให้เติบโตได้ โดยที่ ลดการปล่อยคาร์บอน

นี่คือความยากและท้าทาย แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ สอดคล้องกันกับทิศทางเทรนด์โลก เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมาก กระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม การดำรงชีวิตของผู้คน และเศรษฐกิจโลก

“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) จึงเป็นภารกิจที่ทุกคนต้องเร่งมือ สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลกที่ผู้บริโภคต่างต้องการสินค้า บริการ โซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยกู้โลกเดือด จึงนำมาสู่โจทย์หลักของเอสซีจีต่อจากนี้ ที่จะมุ่งสร้างสังคม Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วย”

 

Inclusive Green Growth
เติบโตใต้ร่มใบธุรกิจสีเขียว
ปลุกพลัง”คน” ปล่อยแสง

คำตอบธุรกิจเอสซีจี ที่ทรานส์ฟอร์ม จากจุดกำเนิดปูนซีเมนต์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ยุค ที่เมืองไทยเริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาประเทศผ่านการก่อสร้างโครงการต่างๆ จนมาสู่ยุค การเปลี่ยนผ่าน วางกลยุทธ์การเติบโตร่วมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

”Passion for Inclusive Green Growth” เติบโตท่ามกลาง สิ่งแวดล้อมที่ดี สังคมมีคุณภาพ สร้างโอกาสให้คนได้เท่าเทียมกัน

“การนําพาธุรกิจอยู่ต่อไปในอีก 10 -20-30 ปี ข้างหน้า ต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ นี่คือความยั่งยืน ซึ่งมีความยากและท้าทาย เพราะต้องทำอย่างไรให้ได้เงินไม่ใช่แค่กล่อง ได้กล่องด้วยได้เงินด้วย จึงจะเติบโตอย่างยั่งยืน”

เขามองว่า สิ่งสำคัญคือต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ช่วยพากันไป หนึ่งองค์กร ต้องทำร่วมกันกับกับองค์กรอื่น ให้โอกาสกับทุกคน ให้”คนเป็นผู้ขับเคลื่อน” ร่วมกันปล่อยพลัง ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ในกันร่วมกันขับเคลื่อนทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร เพราะเชื่อเรื่องการให้โอกาสคน สอดคล้องกับ หนึ่งใน 4 อุดมการณ์ของเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

เขากล่าวถึงกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในปี 2567 นี้มีแผนลงทุน 4 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดคาร์บอนฯ ทั้งกรีนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะไกล”

“การขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสู่ Net Zero ต้องใช้เทคโนโลยี ทั้งกรีนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยการสร้างโอกาสให้อยู่ที่คน ต้องทําให้คนปล่อยพลังออกมาได้เต็มที่ ก็คือองค์กรแห่งโอกาส เราอยากจะเชิญชวนทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ มาช่วยกันปล่อยแสงให้เต็มที่”

4 เครื่องยนต์ ก้าวผ่านเศรษฐกิจสีเขียว

1 องค์กรคล่องตัว ยืดหยุ่น (Agile Organization)

ทรานส์ฟอร์มโครงสร้าง ให้เกิดความคล่องตัว เพิ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเติบโตสูง เพื่อขยายขีดความสามารถของแต่ละธุรกิจให้พร้อมตอบสนองความผันแปรที่เกิดขึ้นหลากหลายด้าน ตอบสนองความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงความผันผวนของสถานการณ์โลก จึงเกิดธุรกิจใหม่ ที่พร้อมรองรับตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ ประกอบด้วยธุรกิจ

     -เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ธุรกิจวัสดุและโซลูชันก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
     -เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง ธุรกิจนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง และโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีกว่า
     -เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น แอนด์ รีเทล’ ธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัยระดับอาเซียน
     -เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC’ บุกเบิกตลาดเคมีภัณฑ์ครบวงจรระดับภูมิภาค มุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน
     -เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ธุรกิจพลังงานสะอาดครบวงจรที่กำลังขยายไปในอาเซียน
     -เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP’ ผู้นำบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน
     -บริษัทเอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดีโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGJWD’ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนครบวงจรรายใหญ่สุดในอาเซียน
     -บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD’ ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรระดับอาเซียน

นอกจากนั้นยังมุ่งสร้างการเติบโตด้วย ‘การลงทุน (Investment & Holding)’ รวมทั้ง ‘เทคโนโลยีขั้นสูงและดิจิทัล (Deep Technology & Digital)’

 

2. นวัตกรรมกรีน (Green Innovations)


เร่งพัฒนานวัตกรรม โซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ต้องการสูงของตลาดโลก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสังคม Net Zero เช่น

     -นวัตกรรมปูนคาร์บอนต่ำ
     -สมาร์ทโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัย
     -พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนที่ใช้ซ้ำ รีไซเคิลได้
     -พลังงานสะอาดครบวงจร
     -อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
     -อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
     -สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลกเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน อาทิ ‘Norner AS’ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติก ประเทศนอร์เวย์ และ ‘มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด’ ประเทศอังกฤษ

 

เปลี่ยนผ่านธุรกิจใหม่สายกรีน

ทั้งนี้ ตั้งเป้ารายได้จากนวัตกรรมรักษ์โลก SCG Green Choice สัดส่วน 67% จากยอดขายทั้งหมด ภายในปี พ.ศ.2573 พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2593 (Net Zero 2050) ปัจจุบันคืบหน้าตามแผน

ในปัจจุบัน ธุรกิจในเครือได้เปลี่ยนผ่านสู่ ธุรกิจสีเขียวเกินกว่าครึ่งแล้ว โดยรายได้หลักมาจากเอสซีจี เคมิคคอลส์ สัดส่วนราว 40% , ซีเมนต์ แอนด์ บิวดิ้ง แมททรีเรียล สัดส่วนราว 30% และเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ราว 20%

“รายได้หลักในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ซีเมนต์อีกต่อไป และธุรกิจก็จะมีการทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจใหม่ที่เป็นกรีน เช่น กรีนซีเมนต์ , และเคมิคอลส์ เป็น กรีน พอลิเมอร์ “

 

3. องค์กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ (Organization of Possibilities) 

เปิดโอกาสให้พนักงานปล่อยแสงสร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านโครงการสตาร์ทอัพในเอสซีจี อาทิ

     -พัฒนาแพลตฟอร์มสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ‘Prompt Plus’ ยกระดับการบริหารจัดการต้นทุนและสต๊อกสินค้าให้แก่ร้านค้ารายย่อยกว่า 10,000 รายในเครือข่ายเอสซีจี
บ่มเพาะสตาร์ทอัพในโครงการ ZERO TO ONE by SCG สร้างโอกาสให้พนักงานก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ ปั้นธุรกิจศักยภาพสูงมากมาย เช่น
      -'Dezpax.com’ แพลตฟอร์มออนไลน์แพคเกจจิ้งครบวงจรรายแรกในไทย สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ และคาเฟ่ ในการสร้างแพคเกจจิ้งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในจำนวนน้อย ราคาเหมาะสมกับ SMEs ซึ่งเติบโตกว่า300%ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ
     -‘Urbanice’ แพลตฟอร์มสื่อสาร บริหารจัดการ สำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมและหมู่บ้าน เพื่อการอยู่อาศัยแบบสมาร์ท สะดวก และมีความสุข มีผู้ใช้งานกว่า 250,000 คน ใน 850 โครงการทั่วประเทศ
     -‘NocNoc’ ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ที่กำลังขยายธุรกิจทั้งในไทยและอาเซียน เป็นแพลตฟอร์มพัฒนาโดยพนักงาน ตอบเทรนด์อนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนภายนอกเอสซีจี

4. ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society)

ชวนทุกคนในห่วงโซ่คุณค่า (Supply Chain) เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปพร้อมกัน ผ่านการผลักดัน
     -'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย’ เพื่อเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัดในการเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
     -ส่งเสริม ‘การเกษตรคาร์บอนต่ำ’ เช่น การทำนาเปียกสลับแห้งและการปลูกพืชพลังงานอย่างหญ้าเนเปียร์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน
     -สร้างเครือข่าย ‘Big Brothers for SMEs’ ใน จ.สระบุรี เพื่อส่งต่อความรู้ให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ทั้งด้านพลังงานสะอาด นวัตกรรมรักษ์โลก การหาแหล่งเงินทุน ตลอดจน
     -พัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ’ 50,000 คน ในปี 2573 ยกระดับแรงงานไทย มีอาชีพมั่นคง ลดเหลื่อมล้ำ เช่น ช่างติดตั้งและทำความสะอาดหลังคาโซลาร์ และนักเขียนแบบโดยใช้โปรแกรม BIM (Building Information Modelling)
     -จับมือกับชุมชน ‘ดูแลระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ’ ผ่านโครงการรักษ์ภูผามหานที มุ่งสู่เป้าหมายปลูกต้นไม้ 1.5 ล้านไร่ในปี 2593 ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ส่งต่อความยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป

เส้นทางก้าวสู่ผู้นำ SCG

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี คนที่ 12 ผ่านประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ในธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีบทบาทผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี

เขาเป็นผู้ที่ชอบท้าทาย ทำสิ่งใหม่ และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้เอสซีจีอยู่เสมอ ตั้งแต่

     -การผลักดันนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ยุคแรกเริ่มของเอสซีจี
     -การขับเคลื่อนโครงการ LSP ปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันแรกจนดำเนินการก่อสร้างลุล่วงตามแผน

เขายังเป็นผู้นำพาองค์กรฝ่าวิกฤตโลกเดือดรุนแรงขึ้น การแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อร่วมกู้วิกฤตด้วยนวัตกรรมและโซลูชัน เป็นสิ่งที่เริ่มบุกเบิกภายในองค์กร และดำเนินการมาตลอด เอสซีจีจึงเป็นองค์กรแรก ๆ ที่ประกาศตัวเป็นธุรกิจ Net Zero จึงมีการปรับโครงสร้างองค์กรส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ในกระบวนการผลิต สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม

รักษ์โลกในทุกกลุ่มธุรกิจ

พร้อมกันกับ ทำให้เอสซีจี ก้าวไปรุกหาโอกาสในธุรกิจใหม่ ที่เป็นอนาคต เช่น ธุรกิจพลังงานสะอาด (SCG Cleanergy) ทำให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดครบวงจรสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งร่วมมือกับสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น บริษัท Rondo Energy พัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด

เครือข่ายร่วมESG

นอกจากนั้นยังมุ่งร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่สังคม Net Zero โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอาทิ อาทิ ขับเคลื่อนความร่วมมือในงาน ESG Symposium ทั้งไทย และอาเซียน นอกจากนั้น ยังร่วมเป็นประธาน ‘ประชาคมผู้นำอาเซียนเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเท่าเทียม (The ASEAN’s Leaders for Just Energy Transition)’ ในสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)