ซีไอเอ็มบี วางแผนแม่บท “ทุน” ส่งต่อมรดกให้คนรุ่นหลัง

by ESGuniverse, 27 มีนาคม 2567

 ซีไอเอ็มบี วาง 4 แกนหลัก ขับเคลื่อนเติบโตอย่างยั่งยืน แบงก์แห่งอาเซียน เปิดไอเดีย สินเชื่อ-บอนด์ เปลี่ยนผ่านธุรกิจสีน้ำตาล สู๋ธุรกิจสีเขียว วางหลักเกณฑ์ 5 แผนแม่บท คัดกรองธุรกิจป้องกันการฟอกเขียว

 

 

จากวิสัยทัศน์ธุรกิจซีไอเอ็มบี จะเป็นธนาคารที่ทำธุรกิจโดยไม่ได้ยึดผลกำไรในระยะสั้น จึงทำให้ธุรกิจอยู่ยืนยาวผ่านมา 4 ทศวรรษ ขยายสาขาในภูมิภาคอาเซียน มีเป้าหมายก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ก้าวหน้าที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น แต่ยังจะต้องมีส่วนปกป้องมรดกทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลัง

ทุกยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธุรกิจ จึงต้องการเติบโตเพื่ออนาคตที่ดีของทุกภาคส่วน คน ธุรกิจและสิ่งแวดล้อม เป็นธนาคารที่มีบทบาทสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ พร้อมกันกับลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จึงต้องเป็นธนาคารที่สร้างผลกระทบเชิงบวก ในการทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาทักษะของคน รักษาทรัพยากร สร้างมูลค่าเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ และสังคม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG -Sustainable Development Goals)

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย IMB Thai เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2567 ว่ามุ่งเน้นขับเคลื่อนผ่าน 4 เป้าหมายหลัก คือ 1.การขยายโอกาสในอาเซียน 2.ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยดิจิทัล 3.เป็นพันธมิตรกับเชิงกลยุทธ์ รุกธุรกิจบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน (Wealth Management) และ4.มุ่งสู่การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน (Sustainability)

1.ASEAN - ขยายตลาดอาเซียน โดยใช้เครือข่ายอาเซียนโดยเพิ่มยอดสินเชื่อ 10% โดยในปี 2564 จะเน้นไปที่เครือข่ายของประเทศอินโดนีเซียให้มากยิ่งขึ้น

2.Digitalization - นำดิจิทัลมาพัฒนาการบริการ มุ่งเน้นเรื่องดิจิทัล จึงมีการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล เช่น การออก Government Saving Bonds (GSB),
การเป็นหุ้นส่วนกับ API (Application Programming Interface), ช่องทางในการจ่ายเงิน อัตราการแลกเปลี่ยน และ บัญชีเงินฝากประจำ (FD Account)

3.Wealth & Consumer Finance Solutions แสวงหาพันธมิตรที่เข้าไปขยายการบริการ การบริหารจัดการพอร์ตลงทุน โดยในปีนี้ได้เป็นพันธมิตรกับ พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต 10 ปี ให้บริการด้านสุขภาพและบริหารเงินทุนแก่กลุ่มลูกค้า รวมถึงพัฒนาสินเชื่อยานยนต์ สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย

4. Sustainability - สร้างความยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะบรรลุการบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านตลาดเศรษฐกิจสีเขียว สังคมและความยั่งยืน (Green, Social Sustainable Impacted Products and Services (GSSIPS)

4 แกนหลักเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

สำหรับเป้าหมายด้านความยั่งยืน จะขับเคลื่อนใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
1.Sustainable Action ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 36% ภายในปี 2567 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions 2050)

2.Sustainable Business ส่งเสริมสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนและการลงทุนในด้าน ผู้ประกอบการ ที่จะมีการลงทุนและเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งกองทุนด้าน ESG มูลค่า 15,000 ล้านบาท

3.Governance and Risk มีการกำหนดมาตรฐานด้านการรายงานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IFRS) เพื่อนำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

4.Stakeholder Engagement and Advocacy เข้าไปสร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างผลกระทบเชิงบวก ทำให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบตลอดทั้งปี อาทิ สัมมนา The Cooler Earth Sustainability Series ตลอดทั้งปี การฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก, เสวนาโต๊ะกลมสินเชื่อยั่งยืน และสัมมนาใหญ่ร่วมกับ UN ESCAP โดยจะมีจัดต่อเนื่องหลังจากจัดขึ้นครั้งแรกไปในปี 2566

“ความยั่งยืนจะมีส่วนช่วยให้รักษาตลาดและสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ “


9 สาขาอุตสาหกรรมสีน้ำตาล
เปลี่ยนผ่าน สู่ธุรกิจสีเขียว

เจสัน ลี หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เป้าหมายในปี 2567 ทางธนาคารจะมีการเพิ่มสินเชื่อและการบริการ(GSSIPS) เพื่อสร้างธุรกิจยั่งยืนให้เกิดขึ้น เป้าหมายรวมมูลค่า 1 แสนล้านริงกิต (ราว7.7 แสนล้านบาท) โดยในไทยมีการปล่อยสินเชื่อในปีที่ผ่านมา 1.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 10% โดยมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อ และการออกพันธบัตรระดมทุน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว ไปในทิศทางเดียวกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. ) กำหนดหลักเกณฑ์ประเภทธุรกิจที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่าน (Taxonomy) โดยยึดหลักตาม NZBA ( Net Zero Banking Alliance ) จัดแบ่งกลุ่มภาคธุรกิจที่เป็นสีน้ำตาล ตามหลักการขอใน 9 สาขา ที่ต้องปรับตัว คือ ภาคการเกษตร, อลูมิเนียม, ซีเมนต์, ถ่านหิน, อสังหาริมทรัพย์, เหล็ก และเหล็กล้า, น้ำมันและก๊าซ, ผู้ผลิตไฟฟ้า และ ภาคขนส่ง รวมถึงการบิน

“สินเชื่อเพื่อธุรกิจสีเขียว และ ESG ในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ยังถือว่ามีโอกาสขยายอีกมาก โดยทางแบงก์ชาติ เริ่มต้นประกาศหลัก Taxonomy จากนั้นธนาคารพาณิชย์จะเริ่มทยอยออกมาผลิตภัณฑ์สินเชื่อสนับสนุนในตลาด

สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนนั้นมีหลากหลายมิติ เป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนผ่าน เข้าไปช่วยธุรกิจที่ยังมีการปล่อยคาร์บอน ที่เรียกว่ายังมีสีน้ำตาล (ฺBrown ) ให้ดำเนินธุรกิจลดคาร์บอน หรือธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ ธุรกิจสีเขียว”

ธนาคารซีไอเอ็มบี ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่จะเป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน เข้าไปช่วยภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ เปลี่ยนผ่านสู่ ธุรกิจสีเขียว

8 ผลิตภัณฑ์การเงิน
ตอบโจทย์ธุรกิจยุคกู้โลก

สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์และการบริการทางการเงิน ที่วางแผนในการพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ มีทั้งสิ้น 8 รายการ ประกอบด้วย
1.Green Loan / Bond สินเชื่อ หรือ ตราสารหนี้ เพื่อธุรกิจสีเขียว
2.Social Loan / Bond สินเชื่อ หรือ ตราสารหนี้ เพื่อธุรกิจพัฒนาสังคม เช่น การให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อช่วยให้กลุ่มคนเปราะบางเข้าถึงการเงิน
3.Sustainable Loan / Bond สินเชื่อและตราสารหนี้เพื่อธุรกิจยั่งยืน
4.Sustainability-linked Loan / Bond หุ้นกู้ส่งเสริมธุรกิจยั่งยืน เป็นตราสารหนี้รูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมธุรกิจสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.Transition Loan / Bond สินเชื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจสีเขียว หรือ ธุรกิจสะอาด ลดคาร์บอน เข้าไปสนับสนุนสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจในการดูแลพนักงานให้มีการอบรม พัฒนาทักษะ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานธุรกิจสีเขียว ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะมีภาคพลังงานในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้โซลาร์ หรือไฮโดรเจน
6.Sustainability-linked Derivatives หุ้นกู้ที่อนุพันธ์แฝงเกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืน
7.Green / Sustainable Deposits เงินฝากสีเขียว และยั่งยืน
8.ESG Funds / Structure Products กองทุนใช้หลักESG คัดเลือกสารสารลงทุน ธุรกิจ อุตสาหกรรม สินค้า และบริการด้าน ESG

“สินเชื่อ และบอนด์ที่ CIMB วางหลัเกณฑ์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งต้องใช้เวลา และมีหลากหลายผลิตภัณฑ์บริการสินเชื่อแยกเป็นประเภท เพื่อให้ภาคธุรกิจได้เข้าถึงสินเชื่อได้ถูกต้องและสอดคล้อง รวมถึงเพื่อเป็นการป้องกันการฟอกเขียว เพราะมีการระบุหลักเกณฑ์และรูปแบบสินเชื่อชัดเจนตามหลักสากล”

 

แผนแม่บทจัดสรรทุน
วัดเกณฑ์ ธุรกิจฟอกเขียว

แนวทางของทางซีไอเอ็มบี จะมีการทำคู่มือทางการเงินในการพิจารณาจัดทำสนับสนุนเงินทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านและแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งเป็นแผนแม่บท ในการพิจารณาจัดทำ Green Bond, Social Bon, Sustainability Bon และ Sustainability Linked Bon ประกอบด้วย

1.Use of proceed คือ ต้องใช้จ่ายเงินในการสร้างรายได้ โดยจะใช้ในการออก Green Bond ในโครงการสีเขียวตามที่กำหนด อาทิ การใช้พลังงานทางเลือก การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดก๊าซเรือนกระจก การคมนาคมสะอาด การบริหารจัดการน้ำ การกำจัดน้ำเสียที่ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

โดยจะมีองค์ประกอบหลัก เป็นการวางหลักการทำงาน ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. การใช้เงินรายได้ (Use of proceeds) 2. กระบวนการในการประเมินและเลือกโครงการ (Project Evaluation and selection) ตามเกณฑ์สีเขียว 3. การบริหารจัดการเงินรายได้ ( Management of Proceeds) จะมีการจัดสรรเงินที่ได้จากการระดมทัุนไปใช้เฉพาะโครงการสีเขียวเท่านั้น 4. การเขียนรายงาน มีการจัดทำรายงานเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุน ถึงการใช้จ่ายเงินตามกรอบระยะเวลา กำหนด เช่น รายปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ

นอกจากนี้จะมีองค์ประกอบ ด้านข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำคัญ โดยพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ Green Bond ในระดับสากล และคำแนะนำ ความเห็นจากหน่วยงาน หลักการขององค์กรรภายนอก

ทั้งหมดนี้ถือเป็น ข้อช่วยพิสูจน์ความเป็นธุรกิจสีเขียว จะต้องเข้าใจที่มาที่ไปของเงิน กับโครงการส่งเสริมด้านการปล่อยสินเชื่อสีเขียว มีข้อพิสูจน์เพื่อเป้าหมายความยั่งยืน สอดคล้องกับหลักการESG และ SDGs