ดร.การดี เลียวไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการศูนย์ C Asian “อย่าคิดว่าหน้าที่พัฒนาประเทศคือรัฐบาลเราไม่เกี่ยว” (ตอน4)

by ThaiQuote, 24 มิถุนายน 2559

จริงด้วยคะ เอารัฐบาลชุดนี้ก่อนเพราะว่ารัฐมนตรีคนที่แล้วพูดถึง “ดิจิตอล อีโคโนมี” วันนี้ไม่มีใครพูดถึงคำนี้เลย จริง ๆมันคืออินฟาสตรัคเจอร์นะคะอย่าเพิ่งไปว่าคนอื่นเอาตรงนี้ก่อน อย่าเพิ่งกระโดดไปเรื่องอื่น ดิจิตอลอีโคโนมีเป็นเรื่องที่สำคัญหม่อมอุ๋ยได้มีการพูดถึงเอาไว้ ดิฉันคิดว่าก็ยังคงมีความสำคัญแล้วก็ต้องสานต่อ ดิฉันรู้ว่าวันนี้ก็ยังมีการทำงานในเรื่องนี้อยู่ เพียงแต่ว่าความตื่นเต้นมันหายไปทั้งที่มันควรจะอยู่ออนต่อไป เพราะฉะนั้นถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่อยากให้ใครมาลบกระดานอันใหม่ก็อย่าไปลบกระดานอันเก่ามากนัก อันที่มันดีก็ต้องคงดำเนินกันต่อไป 

มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อจำกัดของประเทศไทยหรือเปล่า 

ใช่คะ ฝรั่งเขาเรียกเราว่าเรามี Not Invented hear syndrome คือมีอาการว่าถ้าไม่ใช่ของ ๆฉัน ๆก็จะไม่ทำต่อ ซึ่งบางทีมันก็น่าเสียดายนะคะ คือสิ่งที่ผ่านมาในอดีตไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายดิฉันคิดว่าบางอย่างมันต่อยอดไปได้ทำให้ดีขึ้นได้ มันถึงกลับมาในความคิดเดิมของดิฉันก็คือว่า “ถ้าเปลี่ยนระบบไม่ได้ก็สร้างระบบใหม่ที่มันดีกว่าเดิม” เพราะทุกคนไม่ว่าจะมีส่วนร่วมกับรัฐบาลหรือไม่ ถือเป็นข้อต่อสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งสิ้นล่ะค่ะ อย่าไปคิดว่าหน้าที่ในการพัฒนาประเทศคือรัฐบาล ตัวเองไม่เกี่ยวแล้วก็นั่งแง็บ ๆ ๆเห่าไปเรื่อย ๆโอ้ยรัฐบาลเฮงซวยตายแล้ว ดิฉันคิดว่ามันไม่แฟร์กับคนที่เขาเสียสละมาทำเพื่อประเทศนะคะ พูดแรงไปมั้ยเนี่ย 


กลับมาเรื่องของ C asean ขณะนี้เราได้ทำอะไรไปบ้าง

ถ้าในเรื่องของทางด้านธุรกิจนี่ สิ่งที่เราได้มีการเริ่มทำไปตั้งแต่ปีที่แล้วนี่เราเริ่มสร้างเครือข่ายของเยาวชนอาเซียนค่ะผ่านตาม Community ต่าง ๆในเพื่อนบ้านของเรา สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม แล้วก็ในประเทศอื่น ๆเพื่อที่ว่าเราจะสร้างเหมือนกับเป็น Network of asian แล้วก็เน้นไปในกลุ่มของสตาร์ทอัพ อย่างเช่นใกล้ ๆสุดเราก็จะมีเพื่อนจากเมจิคมาเลเซีย ก็คือเป็นหน่วยงานภาครัฐของมาเลเซียมาโรดโชว์ที่บ้านเรา ดิฉันคิดว่าความร่วมมือในการพัฒนาของประเทศไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะว่าประเทศเราของเราแล้วไม่ต้องไปพัฒนาชาวบ้าน มันเป็นไปไม่ได้แล้วคะ ถ้าเกิดเราพัฒนาเพื่อนบ้านได้นั่นก็คือหมายความว่าเราก็กำลังพัฒนา Supply Chain ของเราไปด้วยกัน ก็จะมีการจับมือกับเพื่อน ๆในภูมิภาคอาเซียน แล้วก็พยายามให้เกิดการถ่ายโอนในเรื่องขององค์ความรู้ใหม่ ๆซึ่งกันและกัน ซึ่งเพื่อนสิงคโปร์กับเพื่อนมาเลเซียก็เป็นเพื่อนที่ Active มากทีเดียวค่ะ ส่วนเพื่อนที่น่ารักแล้วก็พร้อมที่จับมือกับเราเสมอมาก็คือเพื่อนอย่างกัมพูชา เวียดนามเป็นต้น นั้นคือทางด้านธุรกิจที่เน้นไปในเรื่องของสตาร์ทอัพ 

นอกจากนี้เรามีในเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวกับอาเซียนเช่นกรณีกลุ่มเอสเอ็มอีที่อยากจะทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่ได้เรียนในห้องหรือเป็นการบรรยายเท่านั้น เดินไปดูไปด้วยกันเลยคะ แล้วก็ไปนั่งฟังบรรยายตามประเทศต่าง ๆที่เขาสนใจโดยเราจะเป็นคนเชื่อมให้และไปด้วยกัน 

คนใจเยอมั้ย

เราทำมาเป็นรุ่นที่ 2 แล้วคะรุ่นแรกจบไปประมาณปีที่แล้ว ใช้เวลาประมาณ 5-6 วันอยู่ด้วยกัน แต่ละประเทศที่สนใจแล้วก็จะเวียนไปให้ครบ 10 ประเทศแต่ละรุ่นจะรับประมาณ 25 คนถือว่าเล็กมาก ๆ คือเราจะเริ่มจากประเทศก่อน แล้วใครที่สนใจประเทศนี้ก็จะมาจอยกลุ่มกัน จากนั้นก็จะมีการพูดคุย ลิงค์ความรู้ข้ามกลุ่มกันด้วยเช่นเดียวกันนั่นก็เป็นกลุ่มทางด้าน Business ค่ะ 

สองก็คือทาง Art and culture เราก็มีการทำในเรื่องของโครงการที่นำนักดนตรีทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนน่ะค่ะ เอาดนตรีพื้นบ้านของเขาแต่ละประเทศ อย่างบ้านเราก็คือระนาด ของกัมพูชาก็คือซอ ซึ่งตอนเด็ก ๆดิฉันเรียนซอด้วง ปรากฏว่าเล่นได้ด้วยเพราะว่ามันคล้ายกันมากทั้ง 10 ประเทศนะคะเราก็เชิญครูเพลง ครูดนตรีมาร่วมหารือประชุมกันว่าเอ๊ะเราจะสร้าง Asian music คอนโซลนั้นคือสร้างวงด้วยกันดีมั้ย ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ก็เกิดมาสเต็ปที่สองคือว่างั้นเราประชุมร่วมกันแต่งเพลงคือรีอะเรนซ์น่ะค่ะเพลงของ 10 ประเทศมารีอะเร้นซ์ใหม่ แล้วเล่นด้วยเครื่องดนตรีเป็นวงของทั้ง 10 ประเทศนี่ด้วยเครื่องดนตรีของแต่ละประเทศในอาเซียน ก็มีความไพเราะจับใจมาก อันนี้ก็ถือเป็นอีกโปรเจ็กที่ทำให้คนในเซียนรู้จักวัฒนธรรมของเพื่อนได้มากขึ้นอย่างนี้เป็นต้น