อดีต กสม.ลั่น พร้อมยืนเคียงข้างทุกคนที่ปกป้องความยุติธรรม

by ThaiQuote, 5 ตุลาคม 2562

"อังคณา" โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กสามเหตุการณ์ใหญ่ในไทยสะท้อนถึงความยุติธรรมและสิทธิ์ของคนไทยกำลังถูกคุกคาม ทั้งปมผู้พิพากษา ถึงประเด็นคุมนักข่าว

วันที่ 5 ตุลาคม 2562 - นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า

"#ยืนเคียงข้างทุกคนที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม

ข่าวใหญ่ 3 ข่าววันนี้ทำให้มองเห็นว่า #ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของไทยกำลังถดถอยและถูกถูกคุกคามอย่างมาก

#Indepent_of_Judges #ความเป็นอิสระของตุลาการ
ข่าววันนี้ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลายิงตัวเองภายหลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษา คดี จชต ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความเศร้าสะเทือนใจและกระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างมาก

#อยากฝากถึงท่านโฆษกศาลยุติธรรมนะคะ การแถลงข่าวของท่านโฆษกกรณีท่านผู้พิพากษายิงตัวเองเพราะเหตุจากความเครียดส่วนตัว ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็น #ความเครียดจากการทำงาน คำว่า #ส่วนตัว ทำให้กระทบต่อครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากท่านไม่อยากให้เรื่องนี้กระทบต่อศาลยุติธรรม จะแถลงเพียงสาเหตุจาก”ความเครียด” อย่างเดียวก็ได้นะคะ
#ภาวนาขอให้ท่านปลอดภัย

#เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น #FoE #JudicialHarassment #ฟ้องปิดปาก กรณีที่วันนี้ กอ รมน. 4 ได้มอบหมายผู้แทนไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคล 12 คนที่ร่วมเป็นวิทยากรการเสวนา “พลวัตรแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งแก้รัฐธรรมนูญใหม่” ในความผิดตามมาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรฯ” ทั้งที่จริงการเสนอความคิดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องที่พูดกันมานาน หลายรัฐบาล หลายรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาโดยสุจริตของผู้แสดงความคิดเห็นจึงสมควรได้รับความคุ้มครอง

แม้ส่วนมากคดีความผิดตามมาตรา 116 ศาลจะยกฟ้อง แต่การสู้คดีในศาลเป็นระยะเวลานานทำให้บุคคลที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาต้องเสียเวลา เสียเงินเสียทองในการสู้คดี และยังทำให้เกิดความหวาดกลัวและเสียสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่างๆในระหว่างการดำเนินคดีอีกด้วย การฟ้องร้องในลักษณะนี้จึงถือเป็น #การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Strategic Lawsuit Against Public Participation-SLAPP)

#เสรีภาพสื่อ #Journalist_is_not_a_Crime เมื่อคืนไปร่วมงานวันชาติเยอรมันทราบข่าวมีนักข่าวเบลเยี่ยมถูกควบคุมตัวที่ สตม. 5 ชั่วโมง เพื่อขอให้ยกเลิกการสัมภาษณ์นักกิจกรรมทางการเมืองที่เห็นต่างจากรัฐ จนวันนี้สมาคมผู้สื่อข่าว ตปท.ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นกังวลยิ่งพร้อมบอกว่า #รัฐไม่มีสิทธิมาสั่งว่านักข่าวไม่ควรสัมภาษณ์ใคร แต่หากข้อมูลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ถูกต้องก็สามารถโต้แย้งได้

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
อธิบดีอัยการ ชี้ ผู้พิพากษายะลายิงตัว อาจโอละพ่อ!!