“ดร.สมคิด” สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการช่วยการท่องเที่ยว พร้อมสั่ง กนศ.ศึกษาCP-TPP

by ThaiQuote, 13 กุมภาพันธ์ 2563

“ดร.สมคิด” สั่งหลายหน่วยงานออกมาตรการหนุนการท่องเที่ยว หลังได้รับผลกระทบแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พร้อมเข้าประชุมกับ กนศ. เพื่อศึกษาข้อดี-ข้อเสียการเข้าร่วม CP-TPPและเร่งเครื่องเจรจา FTA ไทย-ยุโรป

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ว่าสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติงบประมาณรายจ่ายปี 63 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเร่งอัดงบประมาณออกสู่ระบบ ยอมรับว่าเมื่อไทยเจอปัญหาแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกส่วน ทั้งภาคแรงงาน ไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบการรายย่อย โรงแรม รีสอร์ท และอีกหลายส่วน แม้จะเป็นผลกระทบบางช่วงเวลาแต่ส่งผลอย่างมากในทุกกลุ่ม ซ้ำเติมปัญหาส่งออกชะลอตัว แต่นับเป็นโอกาสสินค้าเกษตรไทย เพราะหลายประเทศต้องการอาหารสะอาด ดูแลสุขภาพ เพราะไทยมีอาหารด้านเกษตรพร้อม ในช่วงโรคระบาด

 

 

ในบ่ายวันพรุ่งนี้จึงสั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชิญกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้ง คลัง พาณิชย์ กระทรวงแรงงาน อว. การท่องเที่ยว และอีกหลายหน่วยงานหารือแนวทางช่วยเหลือเยี่ยวยา และบรรเทาผลกระทบ เพื่อศึกษามาตรการได้แล้วเสร็จ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน หรือลดผลกระทบ เตรียมนำเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณา

สำหรับปัญหาหน้ากากอนามัย ขอให้กระทรวงพาณิชย์ประสานโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ขอความร่วมมือ เพื่อเร่งผลิตหน้ากากอนามัยตลอด 24 ชั่วโมงให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด 35 ล้านชิ้นต่อเดือน และป้องกันไม่ให้กักตุนจากผู้ประกอบการ โดยรัฐบาลพร้อมอุดหนุนต้นทุน

 

 

ดร.สมคิด กล่าวเต่อว่า เมื่อการแพร่แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 กระทบการท่องเที่ยว รัฐบาลจึงต้องเพิ่มวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำลังศึกษาแนวทาง เพื่อส่งเสริมให้มีวันหยุดหลายวันในระหว่างเดินทางกลับต่างจังหวัด จะได้มีโอกาสใช้เงินในแหล่งท่องเที่ยว

 

 

นอกจากนี้ ดร.สมคิด ยังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 1/ 63 กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานผลศึกษาข้อดี ข้อเสีย จากการเข้าร่วมกลุ่มประเทศ CPTPP เพื่อตัดสินใจว่าควรเข้าร่วมหรือไม่ในการประชุม กนศ.เดือนพฤษภาคมครั้งต่อไป เพราะเบื้องต้นไทยได้แสดงความสนใจเข้าร่วม

หากได้ข้อสรุปเตรียมเสนอ ครม.พิจารณา หลังจากเวียดนามได้ตัดสินใจเข้าร่วมไปแล้ว เพราะญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเข้าร่วมกลุ่ม CPTPP แต่ต้องศึกษาข้อดี ข้อเสียให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบ

 

 

รวมทั้งเร่งรัดการเดินหน้าเจรจาเสรีการค้า FTA ไทย-ยุโรป เนื่องจากสหภาพยุโรปเตรียมประกาศรับรองผลเจรจา FTA กับเวียดนาม จะมีผลบังคับในเร็วๆนี้ ยอมรับว่าสหภาพยุโรปเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ เมื่อไทยเข้าสู่รัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเจรจา เพื่อขยายตลาดสินค้าไปยังตะวันตก

นอกจากนี้ต้องการให้ที่ประชุม กนศ. หารือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความคืบหน้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เพื่อลดผลกระทบจากการเจรจา FTA ไทย-ยุโรป จึงเสนอตั้งกองทุนลดผลกระทบ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับผู้ส่งออไทยไปยุโรป จึงต้องหารือกับหลายฝ่าย

หลังได้เปิดงานสัมมนารับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายทั้งเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ขณะนี้เตรียมการคืบหน้าไปพอสมควร ผลศึกษาสรุปได้ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้หรือต้นเดือนมีนาคม 63

ในส่วนของการเตรียมการเข้ากลุ่มประเทศ เข้าร่วมกลุ่ม CPTPP โดยมีญี่ปุ่นเป็นแกนนำ ต้องเจรจากับสมาชิก 7 ประเทศหลัก คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เวียดนาม แม็กซิโก แคนนาดา จากนั้นต้องตั้งคณะทำงาน เพื่อเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ไทยเสียเปรียบ เช่น สิทธิบัตรยา CL การใช้เมล็ดพืชเพาะปลูก จึงต้องเจรจาเพิ่มเติม

สำหรับโอกาสและการเสียโอกาสจากการเข้าร่วมกลุ่ม CPTPP นั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์มีการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศร้อยละ 9.92 มีการลงทุนต่างประเทศ (FDI) ล่าสุด 63,939 ล้านบาท เวียดนาม การค้าเติบโตร้อยละ 7.85 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 16,940 ล้านบาท

ส่วนไทยยังไม่เข้าร่วม การค้าระหว่างประเทศเติบโตร้อยละ 3.23 การลงทุน FDI 9,000 ล้านบาท และได้คาดการณ์ว่าหากไม่เข้าร่วม CPTPP จะเสียโอกาสกระทบต่อจีดีพีหดตัวร้อยละ 0.25 หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ 26,600 ล้านบาท หากเข้าร่วมทำให้จีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.12 มูลค่าทางเศรษฐกิจ 13,300 ล้านบาท

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ