ยังไม่วิกฤติ! รพ.วชิรพยาบาล แจง หน้ากากอนามัยพอใช้อีก 2 เดือน

by ThaiQuote, 5 มีนาคม 2563

รพ.วชิรพยาบาล ชี้แจง ข่าวห้องผ่าตัดไม่มีหน้ากากอนามัย คลาดเคลื่อน ย้ำ ไม่ถึงขั้นวิกฤติ ยังมีพอใช้อีก 2 เดือน ด้านโฆษก สธ. ระบุ เหลือในสต็อก 8 ล้านชิ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนทำให้อุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อไวรัสอย่าง “หน้ากากอนามัย” ขาดแคลน ซึ่งส่งผลกระทบไม่เพียงแค่ประชาชน แต่ยังรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย #รพ.วชิรพยาบาล

และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการขาดแคลนหน้ากากอนามัยของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ที่ระบุว่า ทาง รพ.ไม่มีหน้ากากอนามัยให้บุคลากร โดยมีการป้ายบริเวณหน้าห้องผ่าตัด บอกให้ทุกคนต้องนำหน้ากากผ้าส่วนตัวที่ได้รับแจกมาเอง ซึ่งข่าวดังกล่าวได้มีการส่งต่อในโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง

ล่าสุดวันนี้ (5 มี.ค.63) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้ออกมาชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวผ่านแถลงการณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

“ประกาศโรงพยาบาลวชิรพยาบาล (ฉบับที่ ๖)

เรื่อง ชี้แจงข่าว online “วิกฤติ! รพ.วชิรฯ ติดประกาศ ห้องผ่าตัดไม่มีหน้ากากอนามัย

ตามที่มีสื่อ online ลงข่าวว่า “วิกฤติ! รพ.วชิรฯติดประกาศ ห้องผ่าตัดไม่มีหน้ากากอนามัยให้บุคลากร วอนนำมาเอง และอ้างถึงป้ายบริเวณหน้าห้องผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้ติดป้ายไว้ว่า ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 OR ไม่มี Surgical Mask (หน้ากากทางการแพทย์)ให้ทุกคนต้องนำหน้ากากผ้าส่วนตัวที่ได้รับแจกมาเอง ยกเว้นการผ่าตัดรายติดเชื้อ airborne ซึ่งสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ในสถานพยาบาลเวลานี้”

โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ขอเรียนว่าข้อมูลดังกล่าวมีการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงอย่างมาก ทางโรงพยาบาลจึงขอชี้แจง ดังนี้

1) ผู้บริหารทุกระดับ มีความห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรทุกคนเป็นอย่างมาก และขอยืนยันว่า ปัจจุบันทางโรงพยาบาลยังมีหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานอย่างเพียงพอ ประมาณ 2 เดือน แต่ขอความร่วมมือให้ใช้อย่างเหมาะสม

2) สัปดาห์ที่ผ่านมามีการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ประมาณ 3 เท่า และความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทั่วประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความขาดแคลนและยากลำบากในการจัดซื้อให้เพียงพอในอนาคต ทางโรงพยาบาลจึงได้เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติจากการวางหน้ากากอนามัยไว้ที่หน่วยงานให้หยิบใช้ได้ตามอัธยาศัย มาเป็นการแจกหน้ากากอนามัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์เป็นรายคน นำไปปฎิบัติงานตามหน่วยงานต่างๆ และหากมีการปนเปื้อนสารคัดหลั่ง สามารถเบิกใช้เพิ่มเติมที่หน่วยงานได้

3) เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทุกคน ทางโรงพยาบาลได้มีการสั่งตัดหน้ากากอนามัยแบบผ้าชนิดที่สามารถสอดหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เป็นไส้กรองชั้นในให้กับบุคลากรที่มีความเสี่ยงต่ำใช้เพิ่มเติม

นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลได้รับความกรุณาจากทางกรุงเทพมหานคร และ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ (Uhos-Net) เป็นตัวแทนในการประสานงานการจัดสรรหน้ากากอนามัยจากกรมการค้าภายในเป็นที่เรียบร้อยในการประชุมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 และคาดว่าจะได้รับหน้ากากอนามัยเพิ่มเติมในเร็ววัน

จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์จักราวุธ มณีฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช”

 

 

ด้านกระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงฯ ได้ออกมาชี้ในประเด็นการขาดแคลนหน้ากากอนามัยสำหรับใช้ในสถานพยาบาล ระบุว่า ทั้ง 12 เขตสุขภาพ มีหน้ากากอนามัยรวมประมาณ 8 ล้านชิ้น ส่วนจะใช้ได้นานแค่ไหน พอหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ ผอ.รพ. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ต้องบริหารสต็อกให้เกิดประโยชน์ที่สุด

นอกจากนี้ โฆษก กระทรวง สธ.ยังระบุด้วยว่า ในส่วนของการจัดสรรโควตาหน้ากากอนามัยให้บุคลากรทางการแพทย์ราว 3.5 แสนชิ้นต่อวันของกรมการค้าภายในนั้นยังไม่ทรายรายละเอียด สำหรับความต้องการใช้หน้ากากอนามัยนั้น บุคลากรในสังกัดกระทรวงมีประมาณ 4 แสนคน

“ถามว่าจำนวน 3.5 แสนชิ้นจะพอหรือไม่ ก็ตอบว่าพอ เพราะมีบางส่วนที่ปฏิบัติงานในออฟฟิศ อย่างไรก็ตามที่ปฏิบัติงานใน รพ.จริง ก็ต้องยอมรับว่ามีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น เช่นเจ้าหน้าที่เวรเปล เจ้าหน้าที่การเงิน เดิมอาจจะใส่หน้ากากอนามัยบ้าง ไม่ใส่บ้าง แต่วันนี้ทุกคนต้องใส่ เพราะมีการสัมผัสกับผู้ป่วย” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

 

 

ด้านกระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงฯ ได้ออกมาชี้ในประเด็นการขาดแคลนหน้ากากอนามัยสำหรับใช้ในสถานพยาบาล ระบุว่า ทั้ง 12 เขตสุขภาพ มีหน้ากากอนามัยรวมประมาณ 8 ล้านชิ้น ส่วนจะใช้ได้นานแค่ไหน พอหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ ผอ.รพ. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ต้องบริหารสต็อกให้เกิดประโยชน์ที่สุด

นอกจากนี้ โฆษก กระทรวง สธ.ยังระบุด้วยว่า ในส่วนของการจัดสรรโควตาหน้ากากอนามัยให้บุคลากรทางการแพทย์ราว 3.5 แสนชิ้นต่อวันของกรมการค้าภายในนั้นยังไม่ทรายรายละเอียด สำหรับความต้องการใช้หน้ากากอนามัยนั้น บุคลากรในสังกัดกระทรวงมีประมาณ 4 แสนคน

“ถามว่าจำนวน 3.5 แสนชิ้นจะพอหรือไม่ ก็ตอบว่าพอ เพราะมีบางส่วนที่ปฏิบัติงานในออฟฟิศ อย่างไรก็ตามที่ปฏิบัติงานใน รพ.จริง ก็ต้องยอมรับว่ามีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น เช่นเจ้าหน้าที่เวรเปล เจ้าหน้าที่การเงิน เดิมอาจจะใส่หน้ากากอนามัยบ้าง ไม่ใส่บ้าง แต่วันนี้ทุกคนต้องใส่ เพราะมีการสัมผัสกับผู้ป่วย” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ