ฉายภาพ ยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของ "สยามพิวรรธน์" ยึดกรอบสากล ESG

by วันทนา อรรถสถาวร , 25 มิถุนายน 2565

"กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์" เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็น “ความยั่งยืน” โดยยึดกรอบสากล ESG (Environment Social Governance) เป็นพื้นฐานในการกำหนดยุทธศาสตร์ ร่วมกันรังสรรค์ และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

 

กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ ไอคอนสยามและสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็น “ความยั่งยืน” (Sustainability)

คุณนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด

คุณนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด

 

คุณนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ Thaiquote ถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ฯ โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้


ยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของ "กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์" มีกี่มิติอะไรบ้าง และมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไปสู่ความยั่งยืนอย่างไรบ้าง

กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ ไอคอนสยามและสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็น “ความยั่งยืน” (Sustainability) โดยยึดกรอบสากล ESG (Environment Social Governance) เป็นพื้นฐานในการกำหนดยุทธศาสตร์ ซึ่งบริษัทฯ ได้นำกลยุทธ์ “ร่วมกันรังสรรค์ (Co-creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Values)” มาบรรจุเข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกประเภท มุ่งเน้นให้ความสำคัญใน 3 มิติ คือ ผู้คน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม

มิติผู้คน ด้วยการให้โอกาส ความเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่ม สนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ กับบุคคล 3 กลุ่ม คือ 1) บุคคลทั่วไป 2) คนที่มีความสามารถในหลากหลายประเภท 3) ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ เด็กพิเศษ และผู้ด้อยโอกาส

มิติชุมชนและสังคม สร้างความเจริญและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนโดยรอบโครงการ เมื่อสยามพิวรรธน์ได้เข้าไปพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ใดจะต้องนำความเจริญ และความสะดวกสบายเข้าไปช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน สังคม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนตลอดจนสร้างพื้นที่ด้วยแนวคิดอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล

มิติสิ่งแวดล้อม การใช้พื้นที่ในทุกโครงการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ พร้อมตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรกผู้ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” กับการจัดการขยะได้แบบ 360 องศา พร้อมสนับสนุนให้คนใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ให้สมดุลและร่วมกันดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านหลากหลายโครงการ

 

 

กิจกรรมที่เกี่ยวกับความยั่งยืนแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง อย่างไร พร้อมกันนี้ทาง "กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์" มีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร มีโครงการอะไรบ้าง

สยามพิวรรธน์เน้นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรภายใต้นโยบาย “Co-creating Shared Value for Sustainability” ผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้กรอบ ESG ดังต่อไปนี้

Environment: Environmentally Friendly ให้ความสำคัญต่อภาวะโลกร้อน CFO (Carbon Footprint Offset) โดยร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการติดตั้งระบบประตูอัตโนมัติเพื่อลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็น โครงการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศ (chiller) ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น โครงการปรับเปลี่ยนระบบแสงสว่างมาใช้หลอด LED โครงการลดการส่งของเสียไปกำจัดโดยการฝังกลบเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 14,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 858,800 ต้น

ขณะที่ไอคอนสยามก็ได้พัฒนาและดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง วางแนวคิดการออกแบบอาคาร เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีในระบบอาคารที่รองรับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เดินหน้านำเอานวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งไว้เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยจากปี 2562 เป็นต้นมา ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 996 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 57,921 ต้น

การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างครบวงจร และมีประสิทธิภาพ ผ่านโครงการที่สำคัญๆ อาทิ
• Ecotopia นำเสนอพื้นที่สร้างสรรค์จากกลุ่มคนรักษ์โลกตัวจริง และสร้างประสบการณ์ใหม่ของคำว่าอีโค่ที่เข้าถึงง่าย และเป็นเรื่องใกล้ตัว “Ecotopia” รวบรวมผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกว่า 300 แบรนด์ 8 โซนไฮไลท์
• Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste สร้างต้นแบบการจัดการขยะแบบครบวงจร ด้วยการเปิดให้บริการ Recycle Collection Center หรือ จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้ว แบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) แห่งแรกในประเทศไทย

 

 

• โครงการ “CE Model Pathumwan” ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สยามพิวรรธน์เป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญสำหรับใช้ศึกษาข้อมูลของผู้บริโภค วงจรการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภค การคัดแยกและทิ้งขยะ และนำผลวิจัยไปวิเคราะห์เตรียมจัดทำเป็นแนวคิดพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) การบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมเมือง โดยมุ่งหวังว่าสยามพิวรรธน์จะเป็นต้นแบบของธุรกิจค้าปลีกในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร
• ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก “Circular Living X'mas Tree” ในช่วงสิ้นปี 2564 สยามดิสคัฟเวอรี่ยังได้จับมือร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดกิจกรรมประจำปีเนรมิตต้นคริสต์มาสรักษ์โลก “Circular Living X'mas Tree 2021” ที่จัดทำขึ้นจากขวดพลาสติกขุ่น (HDPE) ใช้แล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ร่วมกันจัดทุกปีติดต่อกันมาเป็นที่ 11 นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งวางถังเพื่อรองรับพลาสติก HDPE ของโครงการ YOUเทิร์นบริเวณทางเข้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น G ฝั่ง South และประตูทางเข้าสยามเซ็นเตอร์ ชั้น G อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด

  

 

Social: Social Opportunity สนับสนุนและส่งเสริมด้านความเท่าเทียมทางสังคม อาทิ ผู้ด้อยโอกาส เพศ เชื้อชาติ ผู้พิการ ผ่านหลากหลายโครงการ เช่น
• Citizen of Love - Made by Beautiful People สยามพิวรรธน์สนับสนุนและให้โอกาสกับผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ เด็กพิเศษ และผู้ด้อยโอกาส ใช้พื้นที่ในโครงการของสยามพิวรรธน์และบริษัทในเครือ เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ในโซน “Made By Beautiful People” ซึ่งได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของ ไอคอนคราฟต์ (ICONCRAFT) ชั้น 4 และ ชั้น 5 ไอคอนสยาม และ ร้าน ODS (Objects of Desire Store) ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ ให้เป็นที่ประจักษ์และยกย่องทั้งในหมู่คนไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยี่ยมชม
• Citizen of Love - Greater for Good โครงการ Citizen of Love by Siam Piwat มอบเงินสนับสนุนให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การศึกษา การกีฬา และของใช้จำเป็นต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
• Collaborate with UNDP – Diversity ตอกย้ำนโยบายด้านความหลากหลายความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม (Diversity, Equality & Inclusion) สยามพิวรรธน์ จึงเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมโดยการสนับสนุนของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) นับเป็นศูนย์การค้าแรกในประเทศไทยที่ประกาศตัวเป็น DiversCity Building สถานที่แห่งการส่งเสริมและสร้างคุณค่าทุกความต่าง ความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

Universal Design มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารตามหลักอารยสถาปัตย์ในทุกมิติ ลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ส่งเสริมทุกการเข้าถึง ให้ทุกคนสามารถใช้บริการต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย สะท้อนวิสัยทัศน์องค์กร ในฐานะผู้นำความคิดสร้างสรรค์ The Visionary Icon ภายใต้การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) รองรับการสัญจรและการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่มในสังคมได้อย่างเท่าเทียม ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ

  

 

เปิดพื้นที่สร้างโอกาสและส่งเสริมงานอาชีพให้กับผู้คนทุกระดับ ได้แก่
• ICONCRAFT พื้นที่รวบรวมผลงานจากช่างฝีมือไทยและผู้ประกอบการรายย่อยมากกว่า 800 ราย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น 4 และ ชั้น 5 ไอคอนสยาม และชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่
• SOOKSIAM นำเสนอคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Co-Creation’ หรือการร่วมกันรังสรรค์ คือผนึกกำลังพันธมิตรทางธุรกิจ ศิลปิน วิสาหกิจท้องถิ่น ชุมชนวิถีไทย และผู้ประกอบการรายย่อยระดับท้องถิ่นจาก 77 จังหวัดทั่วไทย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น G ไอคอนสยาม
• ODS ร้านของตกแต่งบ้านมัลติแบรนด์ที่รวบรวมสินค้าตกแต่งบ้านที่ชนะรางวัลต่างๆ มานำเสนอ ร่วมมือกับกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์และงานออกแบบที่โดดเด่นของดีไซเนอร์จากโครงการ DEMark, Talent Thai ที่ชนะรางวัลมาแล้วรวมกว่า 130 แบรนด์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่
การสนับสนุนความหลากหลาย ส่งเสริมให้พนักงานมีสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง
เพศ เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถแสดงออกได้อย่างเสรี พนักงานทุกคนมีโอกาสเติบโตก้าวหน้าในอาชีพการงานด้วยความเสมอภาค และมีแนวทางปฏิบัติต่อลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติต่อลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

 

 

Governance: Growth Reliability มอบโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทุกส่วนในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า พันธมิตรตลอดจนพนักงาน มีการบริหารงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลภายใต้กรอบจริยธรรม คุณธรรม และความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานและยกระดับแนวทางการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้เป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีความโปร่งใส ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อความสำเร็จอันสูงสุดของทุกฝ่าย ทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ

• ONESIAM SuperApp สนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจของบรรดาร้านค้าใน 4 ศูนย์การค้ารวมถึงพันธมิตรกว่า 1,000 แบรนด์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สร้างระบบนิเวศค้าปลีกรับโลกอนาคต ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตร 13 อุตสาหกรรมรวมกว่า 50 บริษัทกว่า 1,000 ร้านค้า เชื่อมคู่ค้าพันธมิตรจากทั่วโลก (Global Ecosystem) ให้เติบโตร่วมกันบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม
• บริหารจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจ จัดมาตรการให้ความช่วยเหลือหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านบริการ Call & Shop, Siam Paragon Luxury Chat & Shop, Click & Shop และ Ultimate Chat & Shop รวมถึงธุรกิจประเภทอาหารโดยร่วมมือกับทางแอปพลิเคชั่น True Food เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายครบรูปแบบออมนิแชนแนล (Omni-Channel)
• การพัฒนาพนักงานให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร โปรแกรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องด้วยแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan – IDP) รองรับการเติบโตของธุรกิจทั้ง Core Business และ New Growth Engine

 

 


“Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ระบบจัดการขยะทั้งห่วงโซ่มีกระบวนการดำเนินการอย่างไร กิจกรรมเป็นอย่างไร / การเดินหน้าสู่ต้นแบบของธุรกิจค้าปลีกในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร มีแบบแผนและการดำเนินการอย่างไร


สยามพิวรรธน์ตั้งเป้าหมายสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” เดินหน้าการสร้างต้นแบบ จัดการขยะได้ครบเส้นทาง ได้แก่
ต้นน้ำ >> จับมือกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน Brand Ownner ต่างๆ สร้างต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร จัดการขยะภายในศูนย์การค้าฯ อาทิ โครงการถังวนถุง โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน จุดให้บริการ Recycle Collection Center เป็นต้น
กลางน้ำ >> บริษัทฯ มีกระบวนการและห้องคัดแยกไว้ดำเนินการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม โดยส่วนหนึ่งส่งไปยังผู้รับขยะรีไซเคิล (ซาเล้ง) เพื่อนำเข้าโรงงานแปรรูป (รีไซเคิลหรืออัพไซคลิ่ง) อีกทั้งลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องส่งไปยัง กทม./สำนักงานเขต ก่อนเข้าสู่กระบวนการฝังกลบซึ่งนำไปสู่ปัญหาเรื่องกลิ่น สารเคมีตกค้างในดิน ขยะพลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลายที่ยาวนาน
ปลายน้ำ >> ส่งต่อผลิตภัณฑ์รักษ์โลกไปสู่ผู้บริโภคเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง สนับสนุนให้ใช้สินค้าที่ทำจากวัสดุหรืออุปกรณ์รีไซเคิล โดย 1 ในนั้นมีอีโค่โทเปียเป็นสถานที่จำหน่ายและวางสินค้าที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีจิตใจรักโลก รักสิ่งแวดล้อม

 

 

นอกจากนี้ ในทุกวันเสาร์แรกของทุกเดือนยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไป สามารถนำขยะกำพร้าหรือขยะพลาสติกไร้ค่าที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบได้ มาฝากที่จุดจอดรถทัวร์ ชั้น G ฝั่ง North ตั้งแต่เวลา 10.00 – 14.00 น. เพื่อส่งต่อให้กับบริษัทพันธมิตรที่ร่วมโครงการนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน (RDF) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

ตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน (พ.ค. 65) มีปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการมากกว่า 4.7 ตัน ประกอบด้วย กระดาษ /นิตยสารใบปลิว 1,489 กก. ขวดพลาสติกใส 776 กก. พลาสติกแข็ง 233 กก. อลูมิเนียม 121 กก. พลาสติกแบบยืด 209 กก. พลาสติกแบบซอง Multilayer 351 กก. กล่องนม / น้ำผลไม้ / กะทิ 418 กก. และขวดแก้ว 1,193 กก. โดยขยะทั้งหมดได้นำเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง และส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ และยังเปิดพื้นที่ให้สามารถนำขยะกำพร้าหรือขยะพลาสติกไร้ค่าที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบได้เพื่อส่งต่อให้กับวงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมินำไปทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน (RDF) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกไร้ค่าแล้ว ยังเป็นการสร้างระบบจัดการขยะเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง

 

 

เป้าหมายความยั่งยืนในอนาคตของ "กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์"คืออะไร

สยามพิวรรธน์ เป็นองค์กรที่พร้อมเดินหน้าเปิดรับการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ และมุ่งขับเคลื่อนบนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมอยู่ตลอดเวลา หากแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยนั่นก็คือ เรายังคงยืนหยัดและยึดมั่นในวิสัยทัศน์ การดำเนินธุรกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และได้ปลูกฝังเข้าไปอยู่ในโมเดลธุรกิจและการดำเนินการทุกๆ วัน ด้วยความเชื่อว่าแนวคิดนี้จะเป็นรูปแบบธุรกิจแห่งอนาคตที่นำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

นอกไปจากนั้นเรายังตั้งเป้าไว้ว่าจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมด้านความยั่งยืนขององค์กรให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใน 7 ปี (พ.ศ. 2564-2570) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นวาระโลก อาทิ การลดโลกร้อน พลังงานสะอาด การลดขยะ ส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) พร้อมทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยให้ความร่วมมือกันทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนเพื่อทำให้ผู้คน ชุมชนสังคม และประเทศชาติ ได้รับคุณค่าและประโยชน์สูงสุด.


อ่านข่าวอื่นที่น่าสนใจ:
เซลล์ผลิตแสงอาทิตย์อินทรีย์น้ำหนักเบากว่า 100 เท่า สามารถสร้างพลังงานหมุนเวียนได้หลากหลายการใช้งาน
https://www.thaiquote.org/content/247323

การวิจัยชี้การทดลองใช้ฉี่ของมนุษย์มารดทำเป็นปุ๋ยให้พืชผล ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ
https://www.thaiquote.org/content/247327

Ferrari ตั้งโรงงานผลิตเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 1MW เพื่อเร่งความเป็นกลางของคาร์บอน และมุ่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
https://www.thaiquote.org/content/247334