เครียดลงกระเพาะ ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร

by ThaiQuote, 25 ตุลาคม 2565

เครียดลงกระเพาะ คือภาวะความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากความเครียด รวมทั้งทำให้โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารมีอาการทรุดหนักลง

 

 

เหตุผลเพราะว่าอวัยวะต่างๆ ในส่วนนั้นมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียด สมองจะสั่งการให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ และกระเพาะอาหารถูกกระตุ้นให้บีบตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ในช่องท้องมีการระคายเคือง

ผลกระทบจากภาวะเครียดลงกระเพาะ

• มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น หรือมีการหลั่งกรดในการย่อยอาหารน้อยลง
• เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร
• หลอดอาหารมีการบิดเกร็งมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
• การเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดี
• ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
• ลำไส้ใหญ่มีการตอบสนองต่อความเครียด ส่งผลให้การขับถ่ายมีความผิดปกติ

นอกจากนี้ยังกระตุ้นก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติ และโรคต่างๆ ได้แก่

• โรคลำไส้แปรปรวน
• ลำไส้อักเสบ
• กระเพาะอาหารอักเสบ
• แผลในกระเพาะอาหาร
• ท้องผูก
• ท้องเสีย

เครียดลงกระเพาะมีอาการเป็นอย่างไร

• ขณะท้องว่างจะปวดท้องบริเวณส่วนบน
• หลังจากรับประทานอาหารจะจุก แสบ แน่นบริเวณลิ้นปี่
• เสียดแน่นหน้าอก
• รับประทานอาหารได้น้อยลง เพราะอิ่มเร็วขึ้น
• ท้องอืด
• คลื่นไส้ อาเจียน
• เรอเปรี้ยว
• ขับถ่ายออกมาเป็นสีดำ หรือมูกเลือด
• มีปัญหาในด้านการนอนหลับ

การรักษาภาวะเครียดลงกระเพาะ

การปรับพฤติกรรม
• รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ และตรงเวลา
• ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง และนั่งสมาธิ
• วางแผนการทำงาน และจัดสรรเวลาชีวิตให้มีความสมดุลกัน
• พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และทำการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพิ่มเติม

การป้องกันภาวะเครียดลงกระเพาะ

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
• ความเครียด และการวิตกกังวล
• อาหารรสจัด และอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมในปริมาณสูง
• เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนสูง
• การสูบบุหรี่

สิ่งที่ควรทำ

• รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายๆ เช่น เนื้อปลา
• รับประทานผัก ผลไม้ นมรสเปรี้ยว และโยเกิร์ต ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาหารเหล่านี้ มีจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย ส่งผลให้ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• เมื่อมีความเครียด ควรปรึกษาปัญหาจากบุคคลรอบข้างที่ไว้ใจได้ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น นักจิตวิทยา
• ฝึกการหายใจ และทำสมาธิ

ผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเครียดลงกระเพาะมาก ควรทำการป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด รวมทั้งการผ่อนคลายอย่างเหมาะสม เพราะนอกจากผลกระทบต่อทางร่างกายแล้ว ยังสามารถทำให้จิตใจผิดปกติตาม ทั้งนี้ผู้ป่วยจากภาวะเครียดลงกระเพาะ และทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่อาการยังไม่บรรเทาลง หรือแย่ขึ้นเรื่อย ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาให้ตรงจุดเกิดโรค.

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

กทม. เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศ 5 รพ.ในสังกัด หลังพื้นที่ต่าง ๆ แนวโน้มฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น
https://www.thaiquote.org/content/248501

รู้จักอาการ “ข้อไหล่ติด”
https://www.thaiquote.org/content/248514

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติแนะนำ 5 ขั้นตอนเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีขึ้น
https://www.thaiquote.org/content/248498