12 สิงหา ไม่ใช่แค่วันแม่ แต่ยังเป็น วันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

by ThaiQuote, 12 สิงหาคม 2566

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศนั้นถือกำเนิดขึ้นจาก อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ โดยนักธุรกิจชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีความเห็นใจและอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน นอกจากจะมีความสำคัญระดับโลกแล้วยังมีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกด้วย

 

 

12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันแม่แห่งชาติของไทยแล้วนั้นยังเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญระดับโลก นั่นคือ วันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอีกด้วย

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

“กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” “กฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ” และ “กฎหมายสงคราม” อาจกล่าวได้ว่าเป็นคำพ้องที่มีความหมายเหมือนกัน แต่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย และรัฐต่างๆ นิยมใช้คำว่า “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” (หรือกฎหมายมนุษยธรรม)

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law) หรือ IHL เป็นกฎหมายที่วางหลักสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการขัดกันทางอาวุธ หรือสงคราม โดยมีต้นกำเนิดมาจาก อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ ซึ่งสนธิสัญญาเจนีวาและพิธิสารเพิ่มเติม ระบุถึงสิทธิและความคุ้มครองของผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม ไม่ว่าจะเป็น พลรบ พลเรือน ทหารที่ได้รับบาดเจ็บและไม่สามารถสู้รบต่อได้ เชลยศึก และผู้ได้รับความคุ้มครองอื่นๆ

อนุสัญญาเจนีวา
สาระสำคัญของ IHL คุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามและการขัดกันทางอาวุธ ในการประชุมทางการทูตระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้มีการลงนามรับรองอนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ


อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสนามรบ
อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสงครามทางทะเล
อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการกำหนดสถานภาพและการปฏิบัติต่อเชลย
อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือพลเรือนในเขตพื้นที่ที่มีการขัดแย้งกันทางอาวุธ

กฎสำคัญในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
1. ฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งจะต้องแบ่งแยกระหว่างพลเรือนและพลรบในทุกขณะ เพื่อละเว้น ชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน และจะต้องไม่มีการโจมตีประชากรพลเรือนหรือพลเรือน ใดๆ การโจมตีกระทำ ได้ต่อเป้าหมายทางทหารเท่านั้น ฝ่ายต่าง ๆ ในความขัดแย้งหาได้มี สิทธิในการเลือกอาวุธหรือวิธีการทำสงครามอย่างเสรี การใช้อาวุธหรือวิธีการทำสงคราม โดยไม่เลือกเป้าหมาย รวมถึงการใช้อาวุธหรือวิธีการทำสงครามซึ่งมีแนวโน้มจะก่อให้ เกิดการบาดเจ็บเกินขนาดหรือความทุกข์ทรมานโดยไม่จำ เป็น ถือเป็นเรื่องต้องห้าม

2. ห้ามมิให้ฆ่าหรือทำ ให้ศัตรูบาดเจ็บหากพวกเขายอมจำ นนหรือไม่อาจสู้รบได้อีก และต้อง เคารพต่อชีวิตและความเป็นหนึ่งเดียวของร่างกายและจิตใจของประชาชน ผู้ซึ่งไม่ได้ มีส่วนร่วมในสงครามหรือไม่อาจมีส่วนร่วมได้อีก ประชาชนเหล่านั้นจะต้องได้รับการ คุ้มครองและปฏิบัติต่อด้วยมนุษยธรรมโดยปราศจากอคติในทุกสถานการณ์

3. จะต้องมีการค้นหา เคลื่อนย้าย และให้การรักษาผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ทันทีที่สถานการณ์ เอื้ออำ นวย บุคลากร สถานบริการ ยานพาหนะและอุปกรณ์ทางการแพทย์จะต้องได้รับ การละเว้น เครื่องหมายกาชาด เสี้ยววงเดือนแดง และคริสตัลสีแดงบนพื้นขาว เป็น เครื่องหมายบ่งชี้ว่าบุคคลและวัตถุนั้น ๆ ต้องได้รับความเคารพ

4. ชีวิต ศักดิ์ศรี สิทธิส่วนบุคคล และความเชื่อทางการเมือง ศาสนา และอื่น ๆ ของพลรบ หรือพลเรือนที่ถูกฝ่ายตรงข้ามจับกุมและควบคุมจะต้องได้รับความเคารพ และได้รับ ความคุ้มครองจากการล้างแค้นและความรุนแรงทั้งปวง พวกเขามีสิทธิที่จะได้ติดต่อกับ ครอบครัวและได้รับความช่วยเหลือ หากมีการดำ เนินคดีอาญาใด ๆ ต่อพวกเขา สิทธิใน กระบวนการยุติธรรมของพวกเขาจะต้องได้รับการเคารพ

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บังคับใช้เมื่อใด?
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศนำ มาใช้เฉพาะในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ โดยแบ่งการคุ้มครองออกเป็น 2 ประเภท คือ หนึ่ง สำหรับการขัดกันทางอาวุธระหว่าง ประเทศ และสองการขัดกันทางอาวุธที่มิใช่ระหว่างประเทศ ดังนั้น การนำกฎหมายไป บังคับใช้ในเหตุการณ์ใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทการขัดกันทางอาวุธ

ก. การขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศ การขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศเกิดขึ้นเมื่อรัฐหนึ่งรัฐใดหรือมากกว่าเลือกใช้อาวุธ สู้รบกับอีกรัฐหนึ่ง การขัดกันทางอาวุธระหว่างรัฐหนึ่งรัฐใดกับองค์กรระหว่างประเทศ นับเป็นการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศเช่นกัน สงครามปลดแอกซึ่งประชาชนต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากการเป็นอาณานิคมหรือ ต่อต้านการยึดครองโดยชาวต่างชาติ และการต่อสู้กับการเหยียดสีผิวโดยใช้สิทธิใน การกำ หนดเจตจำ นงของตัวเอง จัดว่าเป็นการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศภายใต้ เงื่อนไขบางประการ

ข. การขัดกันทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน การขัดกันทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศเกิดขึ้นเป็นจำ นวนมาก การขัดกัน ทางอาวุธที่มิใช่ระหว่างประเทศ คือการขัดกันทางอาวุธที่เกิดขึ้นระหว่างกองทัพแห่งรัฐ และกองกำลังจัดตั้งติดอาวุธที่มิใช่ของรัฐ หรือระหว่างกองกำลังจัดตั้งติดอาวุธด้วยกันเอง การที่จะพิจารณาว่าการขัดกันทางอาวุธใดเป็นการขัดกันทางอาวุธที่มิใช่ระหว่างประเทศ หรือไม่นั้น ให้ดูจากระดับความตึงเครียดว่าจะต้องสูงถึงระดับหนึ่ง อีกทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการจัดตั้งที่เป็นกิจลักษณะเพียงพอด้วย

ใครคือผู้ผลักดันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศร่วมสมัย

บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศร่วมสมัย ได้แก่ อังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิตเซอร์แลนด์ และ กิลโยม-อังรี ดูฟูร์ นายทหารชาว สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ ค.ศ. 1859 ระหว่างการเดินทางในอิตาลี ดูนังต์ได้ประสบกับเหตุการณ์อันโศกสลดที่เกิดขึ้นหลังการขัดกันทางอาวุธที่ซอลเฟอริโน

ภายหลังเดินทางกลับมายังเจนีวา เขาได้บันทึกประสบการณ์ของตนเองไว้ใหนังสือชื่อ “ความทรงจำแห่งเมือง ซอลเฟอริโน” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1862 พลเอกดูฟูร์ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสงคราม จึงไม่รีรอที่จะสนับสนุนความคิดของดูนังต์ ด้วยการตอบรับเป็นประธาน การประชุมทางการทูต ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1864

ส่วนอนุสัญญาเจนีวาฉบับแรกก็ได้มี การรับรอง ณ การประชุมครั้งนี้ เมื่อ ค.ศ. 1863 ดูนังต์และดูฟูร์ร่วมกับกุสตาฟ โมอีนีเย่, หลุยส์ อัปเปีย และธีโอดอร์ โมนัวร์ ทั้ง 5 คนรวมตัวกันก่อตั้ง “คณะกรรมการทั้งห้า” ซึ่งเป็นคณะกรรมการระหว่าง ประเทศเพื่อการบรรเทาทุกข์แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยต่อมาได้พัฒนาเป็นคณะกรรมการ กาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) เมื่อ ค.ศ. 1876

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศร่วมสมัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อมีการโน้มน้าวโดยสมาชิกก่อตั้งทั้ง 5 คน รัฐบาลแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้จัดการประชุมทางการทูตขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1864 โดยมีรัฐต่างๆ เข้าร่วมทั้งสิ้น 16 รัฐ โดยรัฐเหล่านี้ได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเยียวยาผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพ ในสนามรบและถือเป็นจุดกำ เนิดของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสมัยใหม่

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศร่วมสมัยถือกำเนิดพร้อมกับอนุสัญญาเจนีวาฉบับแรก เมื่อ ค.ศ. 1864 และได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามความต้องการความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการผลิต อาวุธและการขัดกันทางอาวุธรูปแบบใหม่ๆ ส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจาก มีเหตุการณ์ที่จำ เป็นต้องใช้เครื่องมือทางกฎหมายนั้นๆ เกิดขึ้น

อนุสัญญาเจนีวากับประเทศไทย
หลักการกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวก่อให้เกิดอนุสัญญาเจนีวา ปี 1949 มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ ประกอบด้วย


ฉบับที่ 1 ว่าด้วยการเยียวยาทหารที่บาดเจ็บหรือป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบ
ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการเยียวยาทหารที่บาดเจ็บ ป่วยไข้ หรือประสบเหตุเรืออัปปางในการขัดกันทาง อาวุธทางทะเล
ฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก
ฉบับที่ 4 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนในภาวะสงคราม

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาเจนีวา และได้ออกกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาด้วย นั่นคือ พระราชบัญญัติบังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก พ.ศ. 2498 โดยมีเนื้อหาอันเป็นการช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่เชลยศึก อันจะเห็นได้ในบทบัญญัติ ในส่วนความผิดที่กระทำต่อเชลยศึก

มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำการทดลองชนิดใดๆ แก่เชลยศึกในทางแพทย์ทางชีววิทยา หรือทางวิทยาศาสตร์ อันไม่เป็นการสมควรแก่เหตุในการรักษาพยาบาลเชลยศึกนั้น มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันห้าร้อยบาท และจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดขู่เข็ญ ดูหมิ่น หรือกระทำให้เชลยศึกได้รับความอัปยศหรืออปมานในตัวตนและเกียรติยศ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือบังคับเชลยศึกด้วยประการใดๆ เพื่อจะได้มาซึ่งข้อความใดๆ จากเชลยศึก หรือคุกคาม ดูหมิ่น หรือให้ได้รับผลปฏิบัติใดอันเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ หรือเสื่อมเสียประโยชน์ไม่ว่าประการใดๆ ในกรณีที่เชลยศึกไม่ยอมให้คำตอบมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา ๑๕ ผู้ใดบังคับเชลยศึกให้เข้าประจำการในกองทหารศัตรูของเชลยศึกมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา ๑๖ ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้เชลยศึกมิได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรมหรือตามระเบียบที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

“กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” (International Humanitarian Law : IHL) นั้นมีต้นกำเนิดมาจาก อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ คุ้มครองทหารและพลเรือนลอดทั้งพิธีสารเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามและความขัดแย้งกันทางอาวุธ

สาระสำคัญของอนุสัญญาเจนีวา

  • ผู้บาดเจ็บต้องไม่ถูกทอดทิ้ง
  • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล
  • ผู้เสียชีวิตต้องถูกค้นหา
  • พาหนะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องได้รับการคุ้มครอง
  • เชลยศึกต้องได้รับการปลดปล่อยและส่งกลับโดยไม่ชักช้า
  • ให้ความช่วยเหลือแก่เรืออับปาง
  • โรงพยาบาลต้องไม่ถูกคุกคาม
  • หีบห่อยาและเวชภัณฑ์มีเส้นทางลำเอียงที่ปลอดภัย
  • สตรีต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษให้พ้นจากการถูกข่มขืน
  • ห้ามการปล้นสะดม
  • ห้ามแก้แค้นผู้ที่ได้รับการคุ้มกัน
  • เป็นหลักของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
  • เป็นตราสารระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในการป้องกันศักดิ์ศรีของมนุษย์ในยามสงคราม
  • เป็นอนุสัญญาที่ได้รับการให้สัตยาบันมากที่สุดในโลก (191 ประเทศ)

พิธีสารเพิ่มเติม (The Additional Protocols)

คือกฎหมาย IHL ที่ขยายความเพิ่มเติมจากอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ปกป้องชีวิต และศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มพลเรือนให้ได้รับการคุ้มครองมากยิ่งขึ้น จึงมีการลงนามรับรอง พิธีสารเพิ่มเติม 2 ฉบับ ใน พ.ศ. 2550

พิธีสารฉบับที่ 1 การคุ้มครองพลเรือน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศครอบคลุมถึงทรัพย์สินของพลเรือน อุปกรณ์รักษาพยาบาล แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และกำหนดวิธีการใช้อาวุธในการทำสงคราม

พิธีสารฉบับที่ 2 การคุ้มครองพลเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งที่มิใช่ระหว่างประเทศ เช่น สงครามกลางเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ

สาระสำคัญของพิธีสารเพิ่มเติม

  • ต้องจำกัดวิธีการในการทำสงคราม
  • ต้องแยกแยะพลเรือนออกจากผู้ที่ทำการสู้รบ (ทหาร)
  • ห้ามทำลายสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของพลเรือน
  • ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าร่วมในการสู้รบ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กาชาด ถือกำเนิดเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เพื่อนมนุษย์ ป้องกันชีวิตและสุขภาพ เคารพในสิทธิของมนุษย์ ส่งเสริมสัมพันธภาพ ความร่วมมือเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ช่วยเหลือโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ชนชั้น และลัทธิการเมือง

คำว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" (Human Dignity) ในการดำเนินงานของกาชาด มีความสำคัญมากเพราะมนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีที่ผู้อื่นมิอาจจะล่วงละเมิดได้ กาชาดจึงทำหน้าที่ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งในยามสงคราม เมื่อเกิดภัยพิบัติ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐด้วย

ประเทศไทย มีกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 บัญญัติการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ว่า “...คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์ หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนำมนุษย์มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้ และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น…” มนุษย์ มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่สามารถดำเนินชีวิตด้วยความรับผิดชอบของตนเอง และมีความเป็นอิสระที่จะพัฒนาบุคลิกภาพภายใต้ความรับผิดชอบและการตัดสินใจของตนเอง มนุษย์จึงมีสิทธิและเสรีภาพ โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น นั่นก็คือการเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นนั่นเอง

สรุปกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL)

  • การเคารพชีวิตทหาร พลเรือน
  • การเคารพสัญลักษณ์กาชาด
  • ห้ามทำร้ายคนที่วางอาวุธ
  • ช่วยคนบาดเจ็บ รักษาพยาบาล
  • การแบ่งเขตระหว่างทหารและพลเรือน
  • การจำกัดวิธีการทำสงคราม

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://blogs.icrc.org/th/2016/08/11/1220-international-humanitarian-law-day/
https://blogs.icrc.org/th/2022/07/27/ihl-ihrl/
https://deepsouthwatch.org/th/node/5758
https://www.mcot.net/view/hyVeBOq6
https://blogs.icrc.org/th/2022/07/06/ihl-rules-of-war-faq-geneva-conventions/
https://blogs.icrc.org/th/wp-content/uploads/sites/104/2020/03/0703_301_IHL-Answers-to-Your-Questions-TH-web-version.pdf
https://thestandard.co/key-principles-in-international-humanitarian-law/
https://www.sanook.com/campus/1403600/

Tag :