ออมสิน ชูธงผู้นำปรับพอร์ตสินเชื่อตามESG จัด3กลุ่มธุรกิจเพื่อโลกยั่งยืน สู่Net Zeroทั้งระบบ

by ThaiQuote, 6 กันยายน 2566

ออมสิน นำธงเป็นธนาคารเจ้าแรกปักหมุดหมาย Net Zero ในปี 2050 ล้างพอร์ตสินเชื่อใหม่ จัด 3 กลุ่มธุรกิจไม่ส่งเสริมธุรกิจเพื่อโลก ปี 2030 ไม่ลงทุนธุรกิจพลังงานฟอสซิล น้ำมันและก๊าซ มุ่งยกระดับยกระดับธุรกิจปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว และหนุนสินเชื่อพิเศษธุรกิจใหม่ เพื่อโลกยั่งยืน

 

ธนาคาร ออมสิน ที่ตั้งขึ้นมากว่า 107 ปี (ปี 2456) จากธนาคารที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการออมให้กับประชาชน และเด็ก พ่อค้าทั่วไป ได้ขยับมาสู่การขยายสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย ข้าราชการ จนล่าสุด เป็นธนาคารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น ธนาคารผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกยั่งยืน จึงปรับพอร์ตใหม่ มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสังคม

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารออมสินได้มีมติอนุมัติแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions Roadmap ทั้ง 3 Scope ภายในปี 2050 โดยในอีก 7 ปีข้างหน้าตั้งเป้า Net Zero สำหรับ Scope 1 และ 2 ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคารจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ขณะที่ Scope 3 ที่เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าและการลงทุน ธนาคารจะดำเนินการคู่ขนานจนสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมลงได้มากกว่า 50% ภายในปี 2030 และบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

ทั้งนี้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจของธนาคารออมสินกว่า 97% มาจากการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าและการลงทุน (Scope 3) ซึ่งมีการจัดเก็บและคำนวณได้จากวิธีการตามมาตรฐาน Science-Based Target Initiative ที่เป็นสากล

นับจากปีนี้ (2023X ธนาคารได้กำหนดแผนงดการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเชื้อเพลิงถ่านหินและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (No Coal and Coal Related Business) และเริ่มการใช้ ESG Score ในการประเมินคุณสมบัติด้าน ESG ของลูกค้าวงเงินสินเชื่อ 500 ล้านบาทขึ้นไป

ดังนั้น จะมีส่วนในการนำการนับคะแนน ESG Score (Environment Social Governance) มาประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยพิจารณาโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะมอบส่วนลดดอกเบี้ย และ/หรือ อนุมัติเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการที่ดีมีประโยชน์ต่อโลก
ธนาคารออมสิน ถือเป็นธนาคารแรกของประเทศ ที่ริเริ่มนำเอา ESG Score มาใช้ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ

นำมาสู่การจัดกลุ่มธุรกิจที่จะสนับสนุนปล่อยสินเชื่อและการลงทุนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. Exclusion List หรือ ธุรกิจที่ไม่สนับสนุน เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2. Negative List หรือ ธุรกิจที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ โดยหลีกเลี่ยงการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่มีคะแนน ESG Score ในระดับต่ำมาก โดยธนาคารจะต้องเข้าไปพัฒนาช่วยเหลือลูกค้าให้ปรับปรุงตัวเองไปสู่ธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Positive Engagement) จึงจะสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจได้ปรับตัวหันมามีบทบาทร่วมมือกันฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งระบบ

3. Positive List หรือ ธุรกิจที่ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ ผ่านการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม BCG, ธุรกิจ EV ลงทุนจุดชาร์จไฟฟ้าและ Supply Chainที่เกี่ยวข้อง, ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่า หรือกิจการบริษัทที่มีคะแนน ESG Score ในระดับสูง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ และโครงการเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม มีการพิจารณาสินเชื่อสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อความยั่งยืนทั้งระบบ เป็นการปรับการให้สินเชื่อคู่กับความรับผิดชอบ โดยให้สินเชื่อทางการเงิน เพื่อไม่ให้เกิดหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น อาทิ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดโดยติดตั้ง Solar Rooftop ภายในสำนักงานใหญ่และสาขา การเปลี่ยนใช้รถยนต์ไฟฟ้าในธุรกิจธนาคาร รวมถึงการปลูกป่าทดแทนป่าเสื่อมโทรมและการอนุรักษ์ป่า เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนที่สำคัญ และช่วยพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ เสริมรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ เป็นต้น