ถอดสมการโจทย์ใหญ่สังคมไทย สร้างผู้นำ..เขยื้อนภูเขา.. พลิกมิติความเหลื่อมล้ำ

by ThaiQuote, 2 ตุลาคม 2566

ผ่าโจทย์ใหญ่ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาฝังรากลึกกัดกร่อน ความยั่งยืนสังคมไทย แผนพัฒนาฉบับ 13 วางเป้าหมาย พลิกสังคมไทยสู่เศรษฐกิจเพิ่มมูลค่า เอสซจี เผยกลวิธีเคลื่อนชุมชน ด้วยผู้นำธรรมชาติ ด้านสนธิรัตน์ อดีตรมว.พลังงานและพาณิชย์ แนะคิดเป็นองค์รวม บูรณาการครบทุกมิติ แกะรอยโมเดลมูลนิธิสัมมาชีพ 13 ปี สร้างผู้นำเปลี่ยนสังคม ร่วมมือข้ามองค์กร รัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ทำงานใกล้ชิดชุมชน 1 ปี เขยื้อนภูเขา

 

 

ปัญหาความเหลื่อมล้ำฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยเป็นเวลายาวนาน และคาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ภายหลังจากวิกฤติโควิด-19 ยิ่งเพิ่มช่องว่างระหว่างการเข้าถึงโอกาส และการสูญเสียรายได้ของกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากของสังคมไทย ทำให้เพิ่มช่องว่างความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยอย่างเห็นได้ชัด

 

ในปี 2564 สำรวจการออมคนส่วนใหญ่ในประเทศราว 94 ล้านบัญชีเงินฝาก มีเงินในบัญชีเงินฝากเพียง 4,622บาท ขณะที่สัดส่วนคนรวยที่สุดมี 1,500ล้านบัญชี มีเงินฝากเฉลี่ย 1,600 ล้านบาทต่อบัญชี เช่นเดียวกันกับ อัตราหนี้ครัวเรือน ที่สูงถึง 90 % ในช่วงต้นปี 2566 ที่ผ่านมา
ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มระดับสูงขึ้น สะท้อนถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่ตอบโจทย์กระจายรายได้สู่คนทั่วไปในสังคมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม บั่นทอนต่อการเติบทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงในระยะยาว

 


ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ถือเป็นสาเหตุสำคัญของการประเทศที่ทำให้เกิดปัญหาความแตกแยก และทำให้สังคมขาดสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจเติบโต แต่สังคมอ่อนแอ เกิดการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

 


รัฐบาลจึงมีมาตรการหลากหลายด้านที่เข้ามาสนับสนุนกลุ่มคนเปราะบางในสังคม เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาระยะยาว เพราะสาเหตุสำคัญนอกเหนือจากากรเข้าถึงโอกาสแล้ว การพัฒนาความทัศนคติความคิดในการกระตุ้นให้คนที่มีรายได้ต่ำ ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเองและคนในชุมชน มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำการเกษตร และบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อสร้างช่องทางโอกาสในพร้อมกับ อบรมให้ความรู้และวินัยในการวางแผนทางการเงิน ก็ถือเป็นโจทย์สำคัญที่เป็นการขับเคลื่อนจากภายในสู่ภายนอก หรือ เรียกว่า ระเบิดจากภายใน โดยที่รัฐเข้าไปสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการสร้างโอกาส เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การหารายได้ สร้างงานสร้างอาชีพ และการหาตลาด
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ปี 2566 -2570 มีแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลิกโฉมประเทศไปสู่เศรษฐกิจเพิ่มมูลค่า มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนสร้างโอกาสและความเสมอภาคในสังคมไทย รวมถึงแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG

 

 

(เศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว) ให้สอดคล้องกับเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ต้องการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น

ชุมชน กำหนดปัญหาและความต้องการ

คุณชนะ ภูมี Chief Sustainability Officer บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) องค์กรที่เข้าไปทำงานสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมขน จากจุดเริ่มต้นของการชวนคิดชวนทำสร้างฝายชะลอน้ำ เกิดความไว้ใจต่อยอดไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากร อนุรักษ์ป่า จนเกิดการเรียนรู้พัฒนาชุมชน ต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน เปิดเผยถึงหลักการสร้างการส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Public Private Partnerships) เริ่มต้นจากการสนับสนับชุมชน ถามถึงปัญหาและความต้องการ แล้วจึงค่อยๆ เติมเต็ม “องค์ความรู้” เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง มากกว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อทำให้ชุมชนในพื้นที่รอบโรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับการมีส่วนช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตามแนวทาง ESG (ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี) ซึ่งเป็นกระแสโลกในขณะนี้ โดยเอสซีจีได้นำหลักการของ ESG มาใช้เป็นแนวทางดำเนินธุรกิจ (ESG 4 Plus)

 

สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มต้นจากการเข้าไปพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง กล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยี มาขับเคลื่อนทุนทางเกษตร และวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเติบโต



เปลี่ยนชุมชนผ่านผู้นำธรรมชาติ
จาก 10 % สารตั้งต้น ขยายผลสู่คนส่วนใหญ่



การสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทย โดยหลักการที่จะทำให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสง เพื่อชักจูงให้ทุกคนเดินไปเส้นทางเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต้องใช้เวลา 2-3 ปี แรก จะเป็นการกำหนดพฤติกรรมจะเกิดเป็นหลักปฏิบัติของทุกคนในสังคม (Norm) และกลายเป็นค่านิยม ค่านิยม ต้องเกิดการปฏิบัติต่อเนื่อง จนกลายเป็นวัฒนธรรม ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี

 


สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยได้ การพัฒนาต่อเนื่อง จนเกิดผู้นำทางธรรมชาติ ที่จะเป็นต้นแบบให้กับสังคม ซึ่งจะค่อยๆ ขยายไปสู่คนกลุ่มใหญ่ยอมรับและนำไปปฏิบัติสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสังคม โดยส่วนมากสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นจากคนกลุ่มแรก 10% จะเป็นผู้นำและจะเพิ่มเป็น 30% จนกระทั่ง คนส่วนใหญ่เห็นว่าดีจะมีคนกลุ่มที่รอดูท่าที เริ่มปรับเปลี่ยนตาม

 


“หากต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงจะต้องเลือกผู้นำธรรมชาติ คือคนที่อยู่กับคนเยอะ มีแนวคิดที่เป็นต้นแบบในการทำให้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของคนรอบข้าง สิ่งสำคัญคือการสร้างพลังความนุ่มนวล (Soft Skill) ในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น พูดแล้วทำให้คนฟัง

 

 

พลิกเศรษฐกิจฐานราก
ต้องคิดองค์รวม บูรณาการทุกมิติ

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีต รมว.กระทรวงพาณิชย์ และอดีต รมว. การกระทวงพลังงาน การสร้างความเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มต้นจากการสร้าง จิตวิญญาณการทำงานเพื่อสังคมร่วมกัน เป็นกลไกลในการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลง มูลนิธิสัมมนาชีพมีปรัชญา มีจุดเริ่มต้นแข็งแรง ที่ต้องการจับมือกับเอกชน และภาคประชาสังคม เชื่อมองค์กร ในตลาด ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ให้ร่วมมือกันทำงานอย่างบูรณาการ พลังการสร้างหลักคิด การทำงาน ที่จะต้องหลอมรวมในทุกมิติ ทั้ง ทำงานข้ามกระทรวง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทรวงขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมต้องไปด้วยกัน อาทิ ด้านการศึกษา สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ในยุคที่สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน จึงทำให้เกิดเมกะเทรนด์ ธุรกิจสีเขียว (Green Economy) มีการสร้างกติกาการขับเคลื่อนธุรกิจขึ้นมาใหม่ ต้องมีการรายงานติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission) ทั้งนี้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะต้องทบทวนไปพร้อมกันคือกลุ่มชาวบ้าน ซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ จากการพัฒนา

 


“หากประเทศไทยบูรณาการการทำงานไม่ได้ ยิ่งเดินฐานรากยิ่งอ่อนแอ คนตัวเล็กยิ่งแย่ แม้ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลง ต้องคิดแบบองค์รวม เชื่อมโยงทุกมิติ การทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ต้องสร้างจิตวิญญาณและอุดมการณ์ ทำงานร่วมมือกันทั้งรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนจะมีพลัง”

 


สนธิรัตน์ กล่าวต่อว่า การสร้างการเปลี่ยนแปลงผู้นจะต้องเกิดการ ระเบิดจากภายใน ดังพระราชดำรัสของ ในหลวงร.9 หากสิ่งที่ต้องการทำขับเคลื่อนจากข้างในจะทำให้ไม่เกิดการเบียดเบียนผู้อื่น มองการพัฒนาเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน นี่จึงเรียกได้ว่า การพัฒนาทุกด้านต้องเริ่มจากฐานราก

 


เป็นกระดูกสันหลังของชาติ จึงจะทำให้ชาติเกิดการพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน ที่จะต้องมองการพัฒนาครบทุกมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ไทยมีฐานทุนทางทรัพยากร ซึ่งเป็นโอกาสในวันที่โลก มีเมกะเทรนด์ มุ่งขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน มีมาตรการติดตามการปล่อยคาร์บอน มาเป็นเกณฑ์ในการเก็บภาษีสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนและส่งออกไปยุโรป เป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกจะต้องทำการ CBAM หรือ กฎเกณฑ์มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU

โมเดล”สัมมนาชีพ”
สร้างผู้นำเขยื้อนภูเขา รุกเดินคู่ชุมชน

มูลนิธิสัมมาชีพ จัดโครการอบรมหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง หรือ Leadership for Change รุ่นที่ 13 เพื่อดึงให้หน่วยงานที่ทำงานเพื่อสังคมในภาคเอกชน ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการ ได้นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาธุรกิจ สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคม โดยการสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก โดยในปีนี้เป็นการจัดครั้งที่ 13 มีผู้เข้าร่วมอบรม 81 คน รวมทั้งสิ้น 13 ครั้งที่ผ่านมามีการสร้างผู้น LFC มาแล้ว 1,408 คน

 


การอบรมLFC ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “BCG Model in Action” มีเป้าหมายเพื่อนำหลักคิด องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ BCG มาส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน ท้องถิ่น นำไปต่อยอด ปรับใช้ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือ สร้างสังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตอย่างสมดุลยั่งยืน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน มีผู้เข้าร่วมอบรม 81 คน จากหน่วยงานภาคเอกชน 41 คน ภาครัฐ 12 คน องค์การมหาชน 4 คน และอื่นๆ อีก 2 คน

 

 

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานมูลนิธิ สัมมนาชีพ กล่าวว่า ในปี 2566 การอบรมครั้งนี้ 13 มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ BCG สอดคล้องกับ เทรนด์ใหญ่ของโลกมาถ่ายทอด รวมทั้งมีกิจกรรมที่เพิ่มเติม คือ การปฏิบัติการจริง โดยนอกจากผู้เข้าอบรมจะได้ลงพื้นที่เพื่อทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้ชุมชนพร้อมกับทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มรายได้ยกระดับให้ชุมชนเป็นพัฒนากิจการของตัวเอง ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร คือ บมจ.ไทยเบฟ หน่วยงานภาครัฐ และภาคีเพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม เป็นการสร้าง “ผู้นำที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง” ได้อย่างแท้จริง

 



“สิ่งสำคัญจากการเรียนรู้ คือการลงมือทำ โดยการเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ มาร่วมมือกันทำงานนั้น จะเป็นแบบอย่างการทำงานพัฒนาซึ่งจะต้องร่วมมือกัน เพื่อ “เขยื้อนภูเขา” ให้สำเร็จ ผู้เข้าอบรมถือเป็นองคาพยพสำคัญ ในการ “นำ” ความเปลี่ยนแปลงที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมได้ โดยมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ



สำหรับชุมชนที่ผู้เข้าอบรมเข้าไปทำงานร่วมมือกับการพัฒนาชุมชนโดยใช้ BCG มาสร้างแนวทางขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืน แบบเข้าไปลงมือทำจริง โดยพื้นที่ที่เข้าไปพัฒนา อาทิ ต. ถาวรวัฒนา อ.ทรายทองวัฒนา จ. กำแพงเพชร โดยมี 3 กลุ่มอาชีพ คือ 1. กลุ่มโคก หนอง นา โมเดล 2. กลุ่มแปรรูปอาหาร และ 3. กลุ่มหัตถกรรม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ จึงวางแผนพัฒนาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี

 

ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
บรรณาธิการ