เปิดโมเดล ‘นีโอ’ ท็อป3 ตลาดอุปโภค ชู R&D หัวใจโตยั่งยืนสู่นวัตกรรมแห่งเอเชีย

by ESGuniverse, 9 พฤศจิกายน 2566

นีโอฯ เผยเส้นทางวิจัยและพัฒนาสินค้ากว่า 34 ปี เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ไต่ท็อปทรี ชู 2 แบรนด์ฮีโร่เบอร์หนึ่งตลาดคือ ดีนี่ และทรอส แซงหน้าโกลบอลแบรนด์ รวม 8แบรนด์ครองท็อปทรี เผยวิสัยทัศน์ยกระดบคุณภาพชีวิตยั่งยืนกับผู้คน ก้าวสู่บริษัท FMCG นวัตกรรมแห่งเอเชีย

 

 

นีโอ คือธุรกิจอุปโภคสัญญาชาติไทยที่สามารถยึดหัวหาดครองตลาดในกลุ่มสินค้าที่ส่งผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้ แม้ตลาดอุปโภคบริโภค ที่เรียกว่าเข้าเร็วออกเร็ว ( FMCG-

Fast-Moving Consumer Goods products) จึงเป็นตลาดแข่งขันกันดุเดือด เจ้าของแบรนด์ ผู้ที่ทำตลผลิตสินค้อุปโภค 3 กลุ่ม รวม 8 แบรนด์ ประกอบด้วย

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน (Household Products) มี 3 แบรนด์ ได้แก่ 1. ไฟน์ไลน์ (Fineline) ผลิตภัณฑ์รีดผ้า 2 สมาร์ท (Smart) เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และปรับผ้านุ่ม และ 3 โทมิ (Tomi) เช่น ทำความสะอาดพื้น และห้องน้ำ
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล (Personal Care Products) ประกอบด้วย 4 แบรนด์ ได้แก่ 1 บีไนซ์ (BeNice) เช่น ครีมอาบน้ำ 2 ทรอส (TROS) โคโลญ และโรลออนสำหรับผู้ชาย 3 เอเวอร์เซ้นส์ (Eversense) เช่นแป้งและโคโลญ และ4. วีไวต์ (Vivite) เช่น โรลออนผู้หญิง
3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้สำหรับเด็ก (Baby and Kids Products) ดีนี่ (D-nee)

นายสุทธิเดช ถกลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO) เปิดเผยถึงผลการการดำเนินงานในฐานะผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคชั้นนำของประเทศที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 34 ปี และยังมีโอกาสขยายตลาดต่อเนื่อง มีสินค้าในธุรกิจที่แข่งขันในตลาดได้ดีจนสามารถครองเบอร์ 1 ใน2 แบรนด์ คือ ผลิตภัณฑ์เด็ก มีส่วนแบ่งทางการตลาด 26%และ แบรนด์ ทรอส ครองโรลออน และโคโลญสำหรับผู้ชาย ส่วนแบ่งทางการตลาด 70% สามารถแซงหน้าผู้ผลิตและจำนหน่ายบริษัทระดับโกลบอลแบรนด์ได้ อีกทั้งภาพรวมธุรกิจทั้ง 8 แบรนด์ที่เหลือส่วนใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 โดยรวมทุกกลุ่มสินค้าเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 10 % เทียบกับบริษัทอุปโภคบริโภค นีโอก้าวมาอยู่อันดับที่ 6 ในปี2566

สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์การพัฒนาสินค้า คุณภาพและราคาสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ที่นอกจากครองตลาดในเมืองไทยแล้ว ยังขยายตลาดส่งออกไนกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่น ๆ โดยรวมกว่า 16 ประเทศ ในระยะเวลารุกตลาดต่างประเทศมากวก่า 16 ปี (ตั้งแต่ปี 2550)

ทั้งนี้ ธุรกิจมีวิสัยทัศน์ มุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัท FMCG โดดเด่นด้าน “นวัตกรรมของเอเซีย” ทำหน้าที่ผลิตสินค้ากระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภค ทั้งการคิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปูฐานการผลิตยั่งยืน10 ปี
ไม่ปล่อยน้ำเสีย ดูแลชุมชน

ด้านปัทมา ถกลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการพาณิชย์ NEO กล่าวว่า อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคในประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป หลังจากาวะวิกฤติโควิด -19 ส่งผลทำให้คนก้าวเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้น (Urbanization) ที่ขยายตัวและเกิดวิถีชีวิตใหม่ด้านสุขอนามัย ส่งผลให้อัตราการขยายธุรกิจสามารถเติบโต และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 3% ทุกปี ในหลายกลุ่มสินค้า สะท้อนให้เห็นถึงการวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

ที่สำคัญ ธุรกิจนีโอฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยสร้างวัฒนธรรมองค์กรปลูกฝังความรู้ให้กับบุคลากร สนับสนุนกิจกรรมชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainability Brand) โดยได้วางกลยุทธ์การพัฒนายั่งยืนมายาวนานมาแล้วกว่า 10 ปี ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจของบริษัท ทำให้กระบวนการผลิตวางระบบลดปริมาณน้ำเสียจนเป็นศูนย์ (Zero waste Water) ในกระบวนการผลิตจึงไม่ปล่อยน้ำเสียไปออกจากโรงงานเลย เพราะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย และสุขอนามัย และมลภาวะ ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพความเป็นอยู่ชุมชนรอบโรงงาน

“เราเป็นคนไทย ที่นี่เป็นบ้านของเรา เราจึงเข้าใจดีว่า ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี ทุกคนก็จะได้รับผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงป็นเรื่องให้ความสำคัญมาตลอดและไห้ความสำคัญต่อไปควบคู่กันกับการวางสมดุลของธุรกิจให้เติบโต”

นอกจากนี้ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ปัญหา(Painpoint) ช่องว่างของผู้ใช้บางกลุ่ม ที่คนมองข้าม อาทิ การพัฒนา น้ำยาซักผ้าสำหรับจีวรพระ แก้ไขปัญหา จีวรพระมีขนาดใหญ่ แต่มีพื้นที่ตากผ้าจำกัด จึงส่งผลกระทบต่อกลิ่นอับ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการซื้อ คือ พุทธศาสนิกชน ที่ต้องการทำบุญได้ซื้อถวาย

สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมี 3 แนวทาง ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้บริโภค ส่งผลทำให้ธุกริจเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

1. นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development) รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม (Relaunch) ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เช่น สินค้าในกลุ่มธรรรมชาติ และออร์แกนิคซึ่งปลอดภัยต่อคน และสิ่งแวดล้อม ส่งเข้าไปทำการตลาดเพิ่มความนิยมและส่วนแบ่งทางการตลาด

2.ยกระดับสินค้าสู่พรีเมียมแมส (Premium Mass) และระดับพรีเมียม (Premium) เพื่อเพิ่ม
ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ผ่านการสื่อสารและส่งเสริมการขายอย่างครบวงจร โดยการเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด ในสินค้าที่มีศักยภาพเติบโตสูงให้ก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดมากขึ้น (Close Gap)

3.เพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Optimization) บริหารจัดการวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต


แต่งตัวเข้าตลาด ระดมทุน
ขยายการผลิต-คลัง รับโอกาสโตอนาคต

วณิศรา ถกลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายปฏิบัติการ NEO กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดอยู่เสมอ โดยทีมงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ NEO มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในธุรกิจสินค้าอุปโภค ให้สอดคล้องกับเทรนด์ของตลาด และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละยุค จึงพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงกับผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง

ในปี 2565 บริษัทฯ มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 412 รายการ (SKUs) อีกทั้งยังมีโครงการในการวิจัยและพัฒนาในการลดต้นทุนการผลิต โดยการหาตัวเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตและราคาที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของตลาดสินค้าอุปโภคได้ดียิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่แบรนด์ชั้นนำระดับสากลและเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคสูงสุด

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีแผนที่จะนำธุรกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้ดำเนินการมากว่า 4-5 ปี โดยวางแผนระดมเงินเพื่อปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนและกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุน 1,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 4-5 ปี เพื่อขยายกำลังการผลิตให้ตอบสนองกับตลาดที่ขยายตัว ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 229,296 ตันต่อปี (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566) เพิ่มขึ้น20.86% ต่อปี จากเดิมที่ 142,800 ตันต่อปี ในปี 2563

อีกทั้งบริษัทฯ มีการลงทุนในอาคารและระบบคลังจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปอัตโนมัติ (Automated Storage and Retrieval Systems: ASRS) เพื่อรองรับแผนการเติบโตในอนาคต โดยปัจจุบันสามารถจัดเก็บสินค้าได้ 35,000 พาเลท และกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารและระบบคลังสินค้าอัตโนมัติรองรับการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปประมาณ 10,700 พาเลท โดยคาดว่าสามารถเปิดดำเนินการได้ไตรมาสที่ 4 ปี 2566