‘เซ็นทรัลทำ โมเดล’ ร้อยเรียงห่วงโซ่คุณค่า เชิดชู 11 พันธุ์ข้าวพื้นเมือง หัวใจฐานรากยั่งยืน

by ESGuniverse, 19 ธันวาคม 2566

‘เซ็นทรัล ทำ’ สร้างพลังแห่งการตลาดสู่ห่วงโซ่แห่งคุณค่าการสร้างแบรนด์ ภูมิปัญญา ข้าวพื้นเมือง 11 สายพันธ์ุ ยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์เชื่อมตลาด ความแข็งแกร่งจากรวงข้าวสู่ซอฟต์พาวเวอร์ จากต้นแบบไลฟ์สไตล์ ต่อยอดการท่องเที่ยวศูนย์เรียนรู้ ลดเหลื่อมล้ำ เศรษฐกิจฐานรากไทยยั่งยืน

 

 

ปิดท้ายโครงการ”เซ็นทรัล ทำ ทำด้วยใจ “ในสิ้นปี 2566 หลังจากดำเนินโครงการมากว่า 5 ปี ผ่านการเข้าไปยกระดับการเพาะปลูกให้มีคุณค่าและมูลค่า แปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ ผลผลิตจากการเติบโตหยั่งรากสู่สังคมไทย เซ็นทรัลเป็นห้างค้าปลีก ที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 76 ปี (ก่อตั้งปี พ.ศ.2490) ค้าปลีกที่อยู่คู่ชุมชน ใช้ความเชี่ยวชาญในการเป็นศูนย์กลางด้านการตลาด สร้างมูลค่าสินค้า

วิธีการพัฒนาของ “เซ็นทรัลทำ” จึงเข้าไปต่อยอดสินค้าชุมชน ผ่านแนวคิด “ส่่งเสริมให้ทุกคนร่วมมือกันทำ” หรือ CSV (Creating Shared Values) เกิดเป็นพลังของการร่วมมือกันทำจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม และยังเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาฝังรากลึกในสังคมไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจฐานราก พร้อมกันกับ ดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย ตามกรอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations)

  

 

พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยถึงแนวคิดของการพัฒนายั่งยืน ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ว่า โครงการพัฒนาวิสาาหกิจชุมชนที่เซ็นทรัลเข้าไปพัฒนา มีการพัฒนาจากธุรกิจที่คิดเป็นกลยุทธ์ มององค์รวม ทุกฝ่ายที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจจะต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน นี่จึงถือเป็นวิธีการดำเนินธุรกิจยั่งยืน ที่เซ็นทรัลเชื่อมั่นในแนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) จะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพึงพอใจและทำให้เกิดการพัฒนายั่งยืนทั้งองคาพยพ ตั้งแต่เซ็นทรัล เกษตรกร ชุมชน คู่ค้า หรือทุกฝ่ายที่เซ็นทรัลเข้าไปสร้างการมีส่วนร่วมมือกันพัฒนา สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสิ่งแวดล้อม สังคม จึงส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีไปยังผู้บริโภค

“เซ็นทรัล ทำ” ศูนย์กลางห่วงโซ่ร้อยใจ
ปลดล็อก 5 ฐานรากสังคมไทย

โครงการ “เซ็นทรัลทำ ทำด้วยใจ” จึงเป็นโครงการที่มุ่งสร้างการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม เซ็นทรัลร่วมมือกับพันธมิตรหลากหลาย ทั้ง ภาคเกษตรกร ชุมชน จึงเกิดการสร้างคุณค่าร่วม ส่งต่อการทำแบรนด์ที่มีคุณค่ายั่งยืน

“ทุกสิ่งในการทำธุรกิจต้องทำควบคู่กันไป ทั้งธุรกิจเซ็นทรัลเข้าไปช่วยพัฒนาสินค้าชุมชน และนำมาสร้างมูลค่าจากสินค้าที่มีความแตกต่าง มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟื้นฟูสิ่งที่หายไปในท้องถิ่นให้กลับคืนมา ทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งต่อผู้บริโภคได้ทานของที่ดี ไม่มีสารพิษ มีสุขภาพที่ดี นี่คือหัวใจของการทำแบรนด์ดิ้งให้ยั่งยืน แทนที่เราจะเอาปลามาให้ เราก็สอนให้เค้าจับปลา และดูสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาว่าอะไรที่เราสามารถนำมาพัฒนาได้ แล้วก็ทำเกิดความนิยม จากสิ่งรอบชุมชนมาพัฒนาให้เป็นผลบวก ต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด” พิชัย เล่าถึงแก่นแท้ของความยั่งยืน”

การพัฒนาเกษตรกรไทย ถือเป็นหนึ่งใน เสาหลักของการพัฒนายั่งยืนที่เซ็นทรัลเข้าไปพัฒนา แก้ไขปัญหาโจทย์หลักของประเทศ 5 เสาหลัก ประกอบด้วย 1.การลดความเหลื่อมล้ำผ่านการยกระดับและแปรรูปสินค้าเกษกรกรไทย, 2.ใยกระดับการศึกษา, 3.ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม, 4.อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และ5.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

“การพัฒนาเกษตรกรโดยเอาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ยูนิคของคนไทยไปดัดแปลงให้ร่วมสมัยผ่านการแปรรูปและ ดูเรื่องการศึกษาให้นักเรียน ให้ทุกคนมีการศึกษา รวมถึงดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านการรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานสะอาด รีไซเคิล และกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการรักษาศิลปวัฒนธรรมไทย และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 ด้านแม้จะดูเป็นคนละเรื่อง แต่จริงเป็นเรื่องเดียวกัน ที่เป็นรากฐานการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนควบคู่กันไป”

จากรวงข้าว หยั่งรากวัฒนธรรม
ซอฟต์พาวเวอร์ ชีวิตดี สังคมดี

โดยโครงการเซ็นทรัลทำ ได้เข้าไปช่วยเกษตรกรไทยพัฒนาข้าวสายพันธ์ุดีจาก 11 แห่ง 9 ชุมชน 7 จังหวัด ภายใต้แนวคิด “ข้าวดี ชีวิตดี” หลังจากเข้าไปร่วมมือกับเกษตรกรในด้านการส่งเสริมการเพาะปลูกและฟื้นฟูสายพันธ์ุข้าวพื้นบ้าน และสอนให้ปลูกข้าวเชิงคุณภาพ แต่ละสายพันธ์ุข้าวจึงมีเอกลักษณ์ด้านรสชาติโดดเด่นและคุณลักษณะที่แตกต่างกันในแบบเฉพาะของตัวเอง ที่สามารถสร้างโอกาสในการต่อยอดทางการตลาดให้มีคุณค่า ที่สะท้องถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น สั่งสมความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรรมอันดีงาม ที่ควรแก่การเรียนรู้ และขยายไปสู่การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สามารถสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้

การต่อยอดโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ หลังจากมีการสืบสานและพัฒนา ข้าว สายพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 11 สายพันธุ์พื้นเมือง มากกว่า 9 ชุมชน ใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ จึงต้องมีการขยายตลาดข้าวไทย ให้เป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยม จึงจะสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ผู้คนในชุมชน พร้อมไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการยกระดับข้าวให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน จึงมีการจัดงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “ข้าวดี ชีวิตดี” จำหน่ายข้าวทั้ง 11 สายพันธุ์พื้นเมือง มาจัดแสดงที่งานข้าว”Thailand Rice Fest 2023” ณ ที่ “เซ็นทรัล ทำ พาวิลเลียน” (Central Tham) ระหว่างวันที่ 4- 17 ธันวาคม 2566 ณ Hall 6 ชั้น LG ศูนย์สิริกิตติ์ที่ผ่านมา

ข้าวไทย เฉิดฉายบน โอมากาเสะ
แมชชิ่งที่คิดไกลกว่าขายรวงข้าว

ภายในงานมีการต่อยอดพัฒนาข้าวจาก 11 สายพันธ์ุ นอกจากการยกระดับเพิ่มมูลค่าเพื่อการบริโภคแล้ว แล้วยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า อาทิ พัฒนาเป็นน้ำหอมจากข้าว ซึ่งเปิดตัวภายในงานเป็นแห่งแรก และนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากข้าว มาแปลงเป็นวัสดุสินค้าอื่น เช่นกระเป๋า และเครื่องใช้ต่าง ๆ และมีการสร้างสรรค์เมนูจากข้าวไทย สู่ โอมากาเสะ โดยเชฟดัง ที่รังสรรค์ทุกเมนูจากข้าวไทย

การส่งเสริมการพัฒนา ข้าว เป็นรากฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ที่นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการ การพัฒนาข้าวเกษตรอินทรีย์ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ที่นำไปสู่โอกาสการยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทย มีความภาคภูมิใจในคุณค่าและทรัพยากรท้องถิ่น สามารถสร้างความมั่นคงและยั่งยืน หากมีการยกระดับในเชิงมูลค่าที่จะสามารถต่อยอดส่งออก ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทยที่เกี่ยวข้องกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

“เพราะข้าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของไทย และมีการส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้กับคนไทย รวมทั้งสร้างความยั่งยืนให้ประเทศ และยังมีคุณค่าในตัวเอง อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือร่วมใจ ร่วมกันลงมือทำในการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน"

ภายในงาน “เซ็นทรัล ทำ” พาวิลเลียน แบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
-
โซนที่ 1 ขายข้าวดี

เป็นข้าว 11 สายพันธุ์ ที่ดีที่สุดของประเทศ จาก 7 จังหวัด 9 ชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวไร่ดอกข่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ดอกข่า ตำบลตากแดด จังหวัดพังงา, ข้าวเบายอดม่วง กะช่องฮิลล์/นาหมื่นศรี จังหวัดตรัง, ข้าวผกาอำปึล ข้าวเนียงกวง ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรทฤษฎีใหม่คอโค จังหวัดสุรินทร์, ข้าวหอมมะลิแดง สหกรณ์เกษตรพืชผักอินทรีย์หนองสนิท จังหวัดสุรินทร์, ข้าวเหนียวสันป่าตอง สหกรณ์การเกษตรแม่ทา จำกัด จังหวัดเชียงใหม่, ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จากวิสาหกิจชุมชนไร่กลิ่นโคนสาปควาย จังหวัดเชียงราย, ข้าวกล้องดอยพื้นเมือง (บือโปะโละ บือพะโคะ บือพะทือ) วิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปภูแจ่มใสและผ้าทอมือบ้านแม่ลานคำ จังหวัดเชียงใหม่, ข้าวเหนียวดำลืมผัว วิสาหกิจชุมชนข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว จังหวัดตาก และข้าวสังข์หยด วิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพัทลุง และของแห้งทานคู่ข้าว

โซนที่ 2 ทำของดี

เป็นกิจกรรม workshop ปั้นโอนิกิริจากข้าวไทย และทำเทียนหอมจากไขถั่วเหลือง (Soy wax) กลิ่นข้าวหอมมะลิ


โซนที่ 3 กินอร่อยดี

โอมากาเสะข้าวไทย โดยได้เชฟเทพ,เชฟแบล็ค และเชฟจากร้าน Spaghetti Factory มารังสรรค์เมนูที่ทำจากข้าว 11 สายพันธุ์พื้นบ้านไทย ทำให้การกินข้าวโอมากาเสะจะไม่ธรรมดาอีกต่อไป

โซนที่ 4 เรื่องราวดีดี

กิจกรรมการเสวนาเกี่ยวกับข้าว “ทำทุกคำให้ดี” ต้องทำทันที “เริ่มจากข้าวบนต้น สู่ข้าวบนจาน” โดยได้รับเกียรติจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตัวจริงที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์จากการลงมือทำจริง เพื่อพัฒนาให้ข้าวทุกคำเป็น “คำที่ดี” จากความหลงใหลสู่เรื่องราวข้าวกับชีวิต และพบกับนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวสายพันธุ์ข้าวและชุมชนผู้ปลูกข้าวที่สนับสนุนโดย เซ็นทรัล ทำ

โซนที่5 ช้อปสินค้าดี

โซนสุดท้ายที่ยกร้าน Good Goods มาไว้ในงาน โดยมีทั้ง cafe และโซนสินค้าชุมชน ที่ได้นำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับข้าว และผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของแต่ละชุมชนมาจำหน่าย อาทิ กระเป๋าสานไม้ไผ่จากกลุ่มจักรสานไม้ไผ่หวาย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, สบู่ข้าวก่ำ (Black Sticky Rice Soap), สบู่ข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice Soap), สบู่ข้าวมันปู (Red Cargo Rice Soap), ข้าวจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ข้าวหอมะลิจันกะผัก และข้าวหอมปทุมธานี/ข้าวกล้องปทุมธานี พร้อมเปิดตัว น้ำหอมข้าว ที่ใช้ข้าวหอมมะลิเป็นวัตถุดิบหลัก เป็นกลิ่นที่ทำให้นึกถึงน้ำค้างยามเช้าในนาข้าว

 

 

 

นอกจากนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจากตัวแทนชุมชนที่ปลูกข้าว อาทิ วิมลมาศ จิตการ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ดอกข่า ตำบลตากแดด จังหวัดพังงา, จิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ กะช่องฮิลล์ เต็นท์ รีสอร์ท จังหวัดตรัง ผู้ปลูก “ข้าวเบายอดม่วง”, สราวุธ วงค์กาวิน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด จ.เชียงใหม่ ผู้เพาะปลูกข้าวเหนียวสันป่าตอง, โฆษิต แสวงสุข สหกรณ์เกษตรพืชผักอินทรีย์หนองสนิท และวิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดสุรินทร์ ผู้เพาะปลูกข้าวหอมมะลิแดง, นักสิทธิ์ อุ่นจิต ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรทฤษฎีใหม่ จังหวัดสุรินทร์ ผู้เพาะปลูกข้าวผกาอำปึล,ข้าวเนียงกวง และข้าวหอมมะลิสุรินทร์ เป็นต้น

ภายใต้ โครงการ “เซ็นทรัล ทำ” จะร่วมบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีการปลูกข้าว วัฒนธรรม และการกินอยู่ของคนโบราณ ที่มีข้าวเป็นการขับเคลื่อนวิถีชีวิตอยู่ผู้คน

นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อข้าวทั้ง 11 สายพันธุ์พื้นเมืองนี้ได้ที่ ที่ร้าน Good Goods สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ หรือทาง www. centraltham.com/rice-fest ติดตามรายละเอียดข้อมูลได้ที่ www.facebook.com/CentralTham และ www.facebook.com/centralgroupthailand