‘โรงไฟฟ้าBLCP’ เปิดกลยุทธ์ESG ผ่าน 20 โครงการ CSR มอบค่านิยมองค์กรสายใยชุมชน

by ESGuniverse, 25 มกราคม 2567

บีแอลซีพี เดินแผนธุรกิจเปลี่ยนผ่านตามปรัชญา ESG มุ่งสู่โรงไฟฟ้าสีเขียว ชุมชนไว้วางใจ โปร่งใส สานสัมพันธ์ผ่าน CSR 20 โครงการยกระดับคุณภาพชีวิต เข้าถึงความต้องการ 3 กลุ่ม เพิ่มโอกาสรายได้ การศึกษาและสาธารณสุขครอบคลุม 38 ชุมชน และ 12 กลุ่มประมง

 

 

แม้บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี-BLCP) จะเติบโตมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งมีการวางกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่การพลังงานสะอาด เนื่องจาก ถ่านหินคือหนึ่งในพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่กำลังจะต้องลดระดับความสำคัญในการผลิต เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ

จากวิสัยทัศน์ของการมุ่งเป็นต้นแบบที่ดีของโรงไฟฟ้าถ่านหิน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงให้กับแผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ทำงานด้วยคุณธรรม ได้รับความไว้วางใจตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบข้าง

สิ่งสำคัญ การทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงต้องบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน สื่อสารสร้างความเข้าใจกับชุมชน เป็นหนึ่งใน โจทย์กลยุทธ์ 3 เสา “Triple E” ประกอบด้วย

     -Ecosystem - สร้างระบบนิเวศสีเขียว และอัจฉริยะ โดยการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
     -Excellence -ผลิตพลังงานไฟฟ้าตอบสนองความต้องการด้วยคุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ
     -ESG ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับความยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มีการจัดการโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล

หลังจากดำเนินกลยุทธ์ โดยนำหลักการ ESG (Environment, Social, Governance; ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล)เข้ามาดำเนินธุรกิจในโรงงาน จึงทำให้ได้รับรางวัล"อุตสาหกรรมดีเด่น" ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี 2566  (The Prime Minister’s Industry Award 2023) จากกระทรวงอุตสาหกรรม สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมาโดยตลอด

สำหรับการบริหารจัดการสร้างความพึงพอใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) สอดคล้องกับทิศทางดำเนินธุรกิจของบริษัทแม่ บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ โดยการดำเนินงานด้านสังคมและชุมชนในระดับโลก (Global Standard) ใช้หลักการวางแผนการตัดสินใจ จาก “มองกว้าง มองรอบ และไม่มองแค่ขั้นต่ำ” เน้นการนำประสบการณ์และองค์ความรู้ มาปรับรูปแบบ (tailor-made) ใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น (Local community) ทั้งการดูแลพนักงานขององค์กรและการอยู่ร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น BPP บูรณาการองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติตามความต้องการ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

20 โครงการCSR 3 กลุ่มพัฒนา
ยกระดับชีวิต 38 ชุมชน และ 12 กลุ่มประมง

สำหรับโรงไฟฟ้าในไทย ธุรกิจโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า มีกำลังการผลิตรวม 1,434 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จึงต้องเริ่มต้นจากการสร้างความรักและความผูกพัน ไว้วางใจจากชุมชนรอบโรงงาน ทำให้ธุรกิจต้องมีกิจกรรมโครงการเข้าไปมีส่วนพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ อย่างต่อเนื่องและยาวนาน

ทำให้ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR-Corporate Social Responsibility) โดยรวมกว่า 20 โครงการ ทำให้ส่งผลกระทบเชิงบวกครอบคลุม 38 ชุมชน และ12 กลุ่มประมงในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก อาทิ

โครงการสร้างรายได้และอาชีพ เช่น สนับสนุนการใช้บริการซักอบรีดชุดของพนักงานผ่าน, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มบริการซักอบรีดประมงเรือเล็กบ้านพยูน, โครงการดูแลพื้นที่สีเขียวภายในโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี, โครงการฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแขวน โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง, สร้างรายได้จากการขายผลไม้ปลอดสารพิษ, โครงการขยะรีไซเคิล แลกผักปลอดภัย เป็นต้น
ผลจากการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นให้วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนถึงปัจจุบัน รวม 52 กลุ่ม ที่ช่วยให้เพิ่มรายได้เข้าไปในชุมชน

โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา เช่น รับนักศึกษาฝึกงานจากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะช่างเทคนิค สาขางานไฟฟ้าควบคุม (V-EsEPC) วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด มอบทุนการศึกษาผ่านโครงการ "น้องๆ เรียนดีกับบีแอลซีพี" จัดโครงการมัคคุเทศก์น้อยบีแอลซีพี ซึ่งมีการดำเนินการต่อเนื่องเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา

โครงการส่งเสริมด้านสาธารณสุข โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีเป็น 1 ใน 5 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จัดตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไร ในชื่อว่า “สมาคมเพื่อนชุมชน” เพื่อสร้างเพื่อนชุมชนธรรมศาสตร์โมเดล ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุข (ทุนพยาบาล เพื่อฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ) รวมไปถึงร่วมมือกันกับ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ อาทิ อบจ.ระยอง มหาวิทยาลัยบูรพา และมูลนิธิตากสินระยอง เป็นต้น

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มุ่งมั่นที่จะดำเนินพันธกิจเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยการจัดหาพลังงานสะอาดและมั่นคง ไปพร้อมกับดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยยึดหลักคุณธรรมและความเชื่อถือ มีการดำเนินงานอย่างมืออาชีพโดยอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีของพนักงานทุกคน เข้าไปสร้างความสัมพันธ์ รักษาผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย รวมทั้งผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การเข้าไปดูแลชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับที่ตั้งของโรงไฟฟ้า จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงโอกาสเพิ่มรายได้และอาชีพ การศึกษา และสาธารณสุข จึงทำให้สังคมเติบโตยั่งยืนคู่กับโรงไฟฟ้า

นี่คือแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการ ESG ของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีการตั้งคณะกรรมการ ESG ขึ้นมา โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ เป็นประธาน เข้ามาวางกลยุทธ์การทำงาน เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของนักลงทุน พร้อมกับความผันแปรของสภาพอากาศ สภาพเศรษฐกิจ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างสมดุล จึงทำให้องค์กรได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งมอบค่านิยมองค์กร  4 ด้าน คือ รอบรู้ เชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ (Professionalism), ซึ่อตรงและมีคุณธรรม (Integrity), กล้าทำมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จทั้งทาง ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Commitment) และ ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและสื่อสาร (Compassion)