หมีขั้วโลก ‘นอนหลับไหล’ 1 ใน 5 ภาพชีวิตสัตว์ป่า ความน่ารักเทใจโหวดจากคนทั่วโลก

by วันทนา อรรถสถาวร , 12 กุมภาพันธ์ 2567

ภาพถ่ายชื่อ “Ice Bed” หมีขั้วโลกงีบหลับอยู่บนโขดน้ำแข็ง ความงดงาม บนความบางของโลกร้อน ทั้งน่าชื่นชมและสะเทือนใจจนได้รับโหวดสงสุด รับรางวัลช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี จาก People's Choice Award

 

 

รางวัลพีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ (People's Choice Awards) เป็นรายการประกาศรางวัลอเมริกัน สร้างชื่อเสียงให้คนและผลงานวัฒนธรรมสมัยนิยมผ่านการออกเสียงจากสาธารณชน รายการจัดขึ้นประจำปีตั้งแต่ ค.ศ. 1975 รางวัลพีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ออกอากาศทางช่องซีบีเอส และผลิตโดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล มีการมอบรางวัลให้กับ ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี (Wild Life Photographer of the Year ) ประจำปี 2023 ในสาขา ขวัญใจมหาชน (People's Choice Award) จัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติแห่งลอนดอน (London's Natural History Museum) ประเทศอังกฤษ

การมอบรางวัลภาพประจำปี ผลงานภาพถ่ายประจำปี ถือเป็นการชื่นชมผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่าย เป็นผู้สร้างการตระหนักรู้ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกใบนี้ โดยการเปิดโหวตจากคนทั่วโลก กดเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างชุมชน สังคม ที่ใส่ใจเกี่ยวกับชีวิตบนโลก คนทั่วโลกในแต่ละมุมไม่ได้เห็นในทุกวัน ดังนั้นการร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากช่างภาพถ่ายทอดเรื่องราวความน่ารักของสัตว์บนโลกจากแง่มุมต่างๆ จะทำให้ผู้คนเกิดการตระหนักรู้ การอนุรักษ์ ปกป้องและฟื้นฟูชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากการเรียนรู้ความเกี่ยวข้อง เรื่องราวอันน่าประทับใจของการเกื้อกูลความเป็นอยู่ของสรรพสิ่งบนโลก รวมถึงเข้าใจปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญ นั้นเกิดจากอะไร เพื่อนำไปสู่ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาร่วมกัน


หมีขั้วโลก ปุกปุย
ความงามอันบอบบางบนภาวะโลกร้อน

สำหรับรางวัลในปีนี้เป็นภาพ หมีน้อยขั้วโลกนอนหลับอุตุอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง เป็นภาพที่ได้รับชัยชนะจากการประกวด ภาพดังกล่าวเป็นของ นีมา ซารีคานี (Nima Sarikhani) ช่างภาพสมัครเล่นชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นรูปที่ถ่ายขึ้นบนหมู่เกาะสวาลบาร์ดของนอร์เวย์ เป็นสิ่งที่เตือนใจด้วยภาพอันเจ็บปวดว่าน้ำแข็งละลายเร็วแค่ไหนเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น


ซารีคานีผู้คว้ารางวัล People's Choice Award ได้ผ่านด่านการชนะเลิศจากการแข่งขันอันดุเดือดจากคู่แข่งจำนวนมาก ผลงานที่ได้รับการโหวดสูงสุดถึง 75,000 คน เขาตั้งชื่อว่า 'เตียงนอนน้ำแข็ง'(Ice Bed) ภาพหมีกำลังนอนหลับไหล ถือเป็นภาพที่เต็มไปด้วยความรู้สึกหลากหลายกับผู้ที่ได้ชมภาพ ทั้งเอ็นดูและสะเทือนใจกับ นึกสะท้อนไปถึงปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่เราต้องเผชิญหน้า จึงหวังว่าภาพถ่ายนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ ใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการแก้ไขปัญหาที่มนุษย์เราเป็นสาเหตุที่หรือเป็นผู้ก่อปัญหาขึ้นอย่างแท้จริง 

"ภาพที่กระตุ้นความคิดของเขาเป็นเครื่องเตือนใจอย่างชัดเจนถึงความผูกพันระหว่างสัตว์กับถิ่นที่อยู่ของมัน ทำหน้าที่สะท้อนภาพผลกระทบอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนทำให้หมีสูญเสียถิ่นที่อยู่"

ด้าน ดร.ดักลาส เกอร์ (Douglas Gurr) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ (the Director of the Natural History Museum) ให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพว่า ภาพที่หมีตัวขาวปุกปุย ราวนุ่นขาว ดูน่ารักและน่าอัศจรรย์ในธรรมชาติของหมีขั้วโลก ที่หลับลึกอย่างเต็มอิ่ม ช่างภาพช่วยให้เราเห็นความสวยงามและความบอบบางที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา


"ภาพที่สร้างสรรค์ให้เราคิดและเป็นการรู้สึก ร่วมที่ช่วยเชื่อมโยงพื้นฐานระหว่างสัตว์และที่อยู่ของมันและเป็นการแสดงภาพตัวแทนของผลกระทบที่เลวร้ายของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึุ้น จนทำให้หมีขั้วโลกสูญเสียบ้าน หรือ ที่อยู่อาศัย" ผู้อำนวยการกล่าวเพิ่มเติม

ที่มาของการถ่ายภาพหมีขั้วโลกของ Nima Sarikhani

นีมา ซารีคานี ช่างภาพผู้ชนะรางวัล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทการลงทุนในลอนดอน ถ่ายภาพที่ได้รับรางวัลจากการเดินทางกับ ORYX Photo Tours เล่าถึงเบื้องหลัง หลังจากใช้เวลา 3 วันอย่างสิ้นหวังในการค้นหาหมีขั้วโลกผ่านหมอกหนาทึบทางตอนเหนือของ หมู่เกาะ สวาลบาร์ด ของนอร์เวย์ เรือสำรวจน จนต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นความโชคดีที่ได้พบกับหมีขั้วโลกตัวน้อยที่น่าเอ็นดู

ก่อนเที่ยงคืน เจ้าหมีขั้วโลกหนุ่มปีนขึ้นไปบนภูเขาน้ำแข็งเล็กๆ และใช้อุ้งเท้าอันทรงพลังเพื่อแกะสลักเตียงน้ำแข็งสำหรับตัวเองก่อนที่จะผล็อยหลับไปอย่างราวกับสลบ Nima บันทึกช่วงเวลาแห่งความฝันด้วยกล้อง Canon EOS-1D X Mark III

ดร.ดักลาส เกอร์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กล่าวว่า ภาพอันน่าทึ่งและสะเทือนอารมณ์ของนิมาทำให้เราได้เห็นความงามและความเปราะบางของโลกของเรา

คณะกรรมการตัดสินระดับนานาชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน เป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศการได้เลือกภาพจากเกือบ 50,000 รูปที่ส่งมา โดยคัดเลือกภาพที่มีความโดดเด่น 25 ภาพ อาทิ เต่าแสนสุข สิงโตที่เลี้ยงลูกร่วมกัน และเยลลี่ออโรร่า เพื่อให้ผู้คนเข้ามาโหวด

ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี รางวัล People's Choice Award ผู้เข้ารอบสุดท้ายที่ได้รับการยกย่องอย่างสูง

ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปีคือหนึ่งใน การประกวดภาพถ่ายธรรมชาติและสัตว์ป่าซึ่งเป็นรางวัลที่มีเกียรติและยาวนานที่สุดในโลก มหกรรมการแข่งขันดังกล่าวผลิตโดยหน่วยงานพัฒนาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน

โดยยังมีภาพอีก 4 ภาพที่ได้เป็นผู้เข้าชิงรางวัล “Highly Commended” ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้รักสัตว์ป่า ประกอบด้วย

 

 

“เต่ามีความสุข’ โดย Tzahi Finkelstein อิสราเอลTzahi Finkelstein / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

“เต่ามีความสุข’ โดย Tzahi Finkelstein อิสราเอลTzahi Finkelstein / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

 

1. “The Happy Turtle” โดย “Tzahi Finkelstein” เต่าทะเลบอลข่านหน้าตาร่าเริงซึ่งมีปฏิสัมพันธ์อันแสนสุขกับแมลงปอลายแถบทางตอนเหนือในหุบเขา Jezreel ของอิสราเอล

 

 

“Starling Murmuration” โดย Daniel Dencescu เยอรมนี/โรมาเนีย / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

“Starling Murmuration” โดย Daniel Dencescu เยอรมนี/โรมาเนีย / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

 

2. “ฝูงนกเล็ก ๆ ร้องกระจิบกระจั๊บ (Starling Murmuration)” โดย Daniel Dencescu บินก่อตัวกันเป็นรูปนกในช่วงเวลาอันน่าประหลาดใจประกอบกับเสียงร้องระงม เป็นภาพที่สุดประทับใจสำหรับผู้พบเห็น

 

 

“การเลี้ยงดูร่วมกัน” โดย Mark Boyd ประเทศเคนยา  / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

“การเลี้ยงดูร่วมกัน” โดย Mark Boyd ประเทศเคนยา / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

 

3.นอกจากนี้ยังมีภาพ "การเลี้ยงดูร่วมกัน" ของมาร์ค บอยด์ ที่มีสิงโต 2 ตัวพ่อแม่ร่วมกันดูแลลูก 1 ตัว ก็เป็น 1 ใน 5 รูปที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองมาไซ มารา ของเคนยา

  

Aurora Jellies โดย Audun Rikardsen, นอร์เวย์ www.audunrikardsen.com ©Audun Rikardsen / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

Aurora Jellies โดย Audun Rikardsen, นอร์เวย์ www.audunrikardsen.com ©Audun Rikardsen / ช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี

 

4.ภาพถ่าย “Aurora Jellies” ของ Audun Rikardsen เผยให้เห็นแมงกะพรุนพระจันทร์ 2 ดวง สะท้อนส่องสว่างเสมือนหนึ่งเป็นแสงเหนือ ที่ส่องแสงระยิบระยับ ในประเทศนอร์เวย์

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้คนได้เริ่มให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และสัตว์ป่ามากขึ้น เพราะจากปัญหาเรื่องโลกร้อน ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่เฉพาะมนุษย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ด้วย สัตว์บางอย่างที่มีจำนวนน้อย ปรับตัวได้ยาก ก็ย่อมเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

การจัดมหกรรมการถ่ายภาพประกวดในครั้งนี้ได้สะท้อนถึงความสวยงาม อ่อนโยนของสัตว์ท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพหมีขั้วโลกนอนอยู่บนภูเขาน้ำแข็งขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก ภาพได้ส่งแรงสะเทือนด้านจิตใจว่า หมีบขั้วโลกเหล่านั้นกำลังถูกคุกคามที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงจากปัญหาพภูเขาน้ำแข็งละลายจากสาเหตุโลกร้อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้ได้เห็นภาพนี้ได้ฉุกคิดเป็นอย่างดี

ภาพทั้ง 5 ภาพจะถูกจัดแสดงทางออนไลน์และในนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้

ที่มา: https://www.euronews.com/green/2024/02/07/let-sleeping-bears-lie-photo-of-snoozing-polar-bear-wins-prestigious-wildlife-photography-
https://www.hindustantimes.com/trending/wildlife-photographer-of-the-year-peoples-choice-award-sleeping-polar-bear-claims-crown-in-contest-101707291646189.html