EEC ต้นแบบแซนด์บ็อกซ์ จัดการน้ำ เสริมฐานราก ธุรกิจสีเขียว พลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจไทย

by ESGuniverse, 22 กุมภาพันธ์ 2567

อีอีซี เร่งสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ รองรับความกดดันน้ำแล้งในอีก 13 ปีข้างหน้า พร้อมหนุน ลงทุนเศรษฐกิจสีเขียว พัฒนาพื่นที่ชุมชนยั่งยืน เสนอ EEC เป็นSandbox โมเดลแก้ภัยแล้งยั่งยืน

 

 

ในยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มุ่งเพียงการเติบโตทางตัวเลข อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) เป็นหลัก จึงส่งผลกระทบต่อระบบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องและฟื้นฟู วางกรอบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ที่สมดุลทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบ พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เพื่อดําเนินการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ทั้งนี้ได้กำหนดพื้นที่ “สร้างสภาพแวดล้อมครบคลุม 3 จังหวัด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา พื้นที่ขนาด 8.3 ล้านไร่ มีการขับเคลื่อน ครบมิติ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ พร้อมกันกับจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกำหนดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยและประกอบกิจการ มุ่งสร้างเศรษฐกิจที่ดี กระจายความมั่งคั่งสู่คนในท้องถิ่น กันกับความเจริญก้าวหน้าเศรษฐกิจ จะต้องคำนึงถึง การใส่ใจดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกัน

 


ภายในงานสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง สถานการณ์ภาคตะวันออก พ.ศ. 2567 หัวข้อ “ระบบนิเวศของภาคตะวันออกและการบริหารจัดการน้ำ” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้มีใช้อย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ พัฒนาพื้นที่ เพื่อจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Special Economic Zone) ดึงให้เกิดการลงทุน นำพามาซึ่ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม นำไปสู่ด้านความยั่งยืนในที่สุด


โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) และศูนย์การศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท


เนื้อหาในการเสวนา ได้ระบุถึง ภาพรวมการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนออก (EEC)ใน 5 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566-2570) ตามวิสัยทัศน์ “ต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นเป้าหมายของนักลงทุน ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”

EEC จึงมีความหมายและองค์ประกอบดังนี้

E - Ecosystem พัฒนาระบบนิเวศน์รองรับในทุกมิติ
E - Exclusive กำหนดสิทธิประโยชน์และมาตรการพิเศษในการลงทุนเฉพาะตัว
C - Collaborative บูรณาการความร่วมมือในทุกภาคส่วน

โดยเป้าหมายการลงทุนใน 5 คลัสเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย นิวเอสเคิฟ สร้างการเติบโตใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทยเติบโต คือ การแพทย์และสุขภาพ, ดิจิทัล, ยานยนต์ทันสมัย, อุตสาหกรรม BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียน, และเศรษฐกิจสีเขียว) และธุรกิจบริการ

สำหรับดัชนีชี้วัด 8 ด้านประกอบด้วย 1.การจัดการน้ำ 2.สถานการณ์มลพิษ 3.การจัดการขยะ 4.ความมั่งคั่ง มีรายได้ต่อหัว และรายได้ประชากรสูง 5.ความทั่วถึง ในการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม ยกระดับรายได้ทำให้คนที่ก้าวพ้นเส้นความยากจน 6.สุขภาพ 7.คุณภาพชีวิต และ8. ความเท่าเทียมของสังคม

 



ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล กล่าวในงานสัมมนาฯ ว่า การนำเสนอ“รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565” เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้สาธารณชนโดยรวมได้รับทราบสถานภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดทำรายงานชิ้นนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอข้อมูลโดยสรุป หรือ Dashboard เรื่อง State of the Eastern Region เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ในพื้นที่ EEC รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่

 

GITSDA พบ EEC เสี่ยงน้ำตรึงเครียด ใน13 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต่อการพัฒนารองรับอุตสาหกรรม คือ ทรัพยากรน้ำ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่อไปได้ จึงต้องมีการเตรียมพร้อมการบริหารจัดการน้ำ รองรับความเสี่ยงในอนาคต

 

ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลนีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GITSDA กล่าวถึงผลสำรวจ การใช้เทคโนโลยีจัดการน้ำ Actionable Intelligence Policy (AIP) สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกิดจากข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงศักยภาพและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่ พบดัชนีความตรึงเครียดด้านน้ำ โดยอ้างอิงจากข้อมูลดาวเทียมย้อนหลังคาดการณ์ว่า ในปี 2037 (พ.ศ.2580) หรือภายใน 13 ปีข้างหน้า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยลดลง 200 มิลิเมตร และจะมีพื้นที่ขาดแคลนน้ำมากขึ้น


แนะรับมือแล้ง วางแผนจัดการน้ำ

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบรายเดือนพบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะประสบภัยแล้งชัดเจน โดยสรุป ภาพรวมปริมาณน้ำฝน เมื่อเทียบกับความต้องการใช้น้ำ ถือว่ายังมีเพียงพอ เพียงแต่ปริมาณน้ำฝนจะขาดแคลนในช่วงฤดูร้อน มี.ค.-เม.ย. แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เก็บปริมาณน้ำฝนที่มีมากไว้ใช้ในหน้าแล้ง จึงจะสมดุล เหมาะสมนำมาใช้ได้ตลอดปี


4 วิธีคิด จัดการน้ำบูรณาการ

4 ข้อเสนอหลักการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญ

1. วิธีคิดของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานโดยให้คำนึงถึงการพัฒนาและระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
2. เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยพัฒนาบุคลากรและเพิ่มทักษะความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรทุกระดับ
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการหรือ Integrated Area-Based Water Resource Management : IWRM) โดยอาจดำเนินการในลักษณะ Sandbox ในอีอีซี มุ่งจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% (RE100) สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ
4. เตรียมแผนรองรับ ป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการเผชิญกับภัยภูมิอากาศในเขตพื้นที่อีอีซี รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย

โดยอาจดำเนินการในลักษณะ Sandbox ในอีอีซี มุ่งจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% (RE100) สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ เตรียมแผนรองรับ ป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการเผชิญกับภัยภูมิอากาศในเขตพื้นที่อีอีซี รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย