ยุคเรืองรองของ Life Centric เพราะทุกชีวิตล้วนสำคัญ

by ESGuniverse, 23 กุมภาพันธ์ 2567

Life Centric แนวทางใหม่ในการสร้างธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสาคัญถึงทุกเรื่องราวบนโลกใบนี้ ทั้งธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, ชุมชน, สังคม มากกว่าเรื่อง ของลูกค้าเพียงอย่างเดียว ช่วงรอยต่อ โลกเก่า-โลกใหม่ บทบาทที่สำคัญของคนคือ การเปลี่ยนตัวเองจาก “ผู้สร้าง” มาเป็น “ผู้เยียวยา” เยียวยาชีวิต เยียวยาระบบที่กำลังล่มสลาย

 


​“ศักยภาพของคนในวันนี้ สามารถลุกขึ้นมาทำอะไร เพื่อคำว่า regeneration (การฟื้นฟู) ได้หมดเลย คนทุกคนต้องเรียนรู้ชีวิต ด้วยการสร้างเงื่อนไขให้ชีวิตได้เกิดด้วย เป็นอีกคำสำคัญของคนที่ทำงานด้านความยั่งยืน เรามีหน้าที่ ที่จะต้อง create condition conductive to life ทุกคนมีหน้าที่ จะสร้างเงื่อนไขในองค์กรอย่างไร ให้ชีวิตของคนในองค์กรมีการเติบโต”

 

 

ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน sustainable, ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการพอแล้วดี The Creator มองความสามารถของคนว่า ทำได้ทุกอย่าง ถ้าคิดจะลงมือทำ ​และช่วงรอยต่อระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ หนึ่งในบทบาทที่สำคัญของคนคือ การเปลี่ยนตัวเองจาก “ผู้สร้าง” มาเป็น “ผู้เยียวยา” มีหน้าที่เยียวยาชีวิต เยียวยาระบบที่กำลังล่มสลาย

 

​ด้วยเหตุผลเพียงหนึ่งเดียวคือ ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมา healing system ตั้งแต่วันนี้ เราจะไม่รู้เลยว่า อนาคตข้างหน้า เราจะอยู่กันอย่างไร เพราะคนเราไม่ได้เป็นเจ้าข้าวเจ้าของอะไรทั้งสิ้น และทรัพยากรโลกก็ไม่ได้เป็นของเรา



​“เราจะบอกว่า ทรัพยากรเป็นของเรา เราต้องใช้เผื่อเหลือไว้ให้ลูกหลาน มันไม่ใช่ ความจริงคือ ทรัพยากรเป็นของลูกหลาน เราขอยืมลูกหลานมาใช้ เพราะฉะนั้น ใช้อย่างเกรงใจเขาบ้าง และหน้าที่หลักของเราเลย คือการเป็น healer”

 

​หนึ่งในความสามารถหลักของผู้เยียวยา คือการทำให้ทุกชีวิตใน biocity เกื้อกูลกัน และทำให้ชีวิตผู้อื่นดีขึ้น แล้วชีวิตของเราก็จะดีตาม “ท่านพุทธทาส” เคยบอกว่า คนทุกคนในโลกล้วนคือคนเดียวกัน ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นกับชีวิตผู้อื่น แล้วจะไม่ส่งผลกระทบกับเรา เหมือนกับโควิด ถ้าคุณใส่หน้ากากอยู่คนเดียว ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะรอด หรือฉีดวัคซีนคนเดียว ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ติด เพราะทุกชีวิตต่างเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงถึงกัน


​วันนี้มันหมดยุคของคำว่า customer centric หมดยุคของคำว่า human centric ยุคนี้คือยุคที่เรียกว่า “life centric” ทุกชีวิตสำคัญหมด จะลุกขึ้นมาทำอะไรก็แล้วแต่ มด แมลง ผึ้ง ทุกอย่าง สำคัญหมด มันเปลี่ยนจากยุคหนึ่งที่เราเรียกว่า ยุค ego ยุคคนสำคัญที่สุด ยุคคนครองโลก มาเป็นยุคที่เราเรียกว่า eco ตอนนี้มันเป็นยุคที่เราเรียกว่า seva หมายถึง คุณต้องรู้เลยว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของทั้งระบบ​เหมือนกับ “เรือโนอาห์” ในตำนานน้ำท่วมโลก เขาก็ไม่ได้แค่ขนเอาแต่คนขึ้นเรือ แต่เอาเมล็ดพันธุ์พืช หมูหมากาไก่ หอบเอาไปหมด เพราะเวลาที่เราอยากมีอนาคต เราต้องเอาทุกชีวิตหนีบลงเรือไปด้วยกัน ไม่ใช่แค่เรา

 

​เวลาพูดถึงความยั่งยืน จะประกอบดัวย 3R คือ reduce, reuse, recycle ซึ่งเป็นแค่ปัจจุบัน คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้ยาวนานที่สุด ให้ยาวนานกว่าปกติ ใช้ซ้ำ เอากลับมาใช้ซ้ำ และเอาไป recycle คือการยืดปัจจุบันให้นานที่สุด แต่ไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร รู้แต่ว่าเอาปัจจุบันให้นานที่สุดเป็นพอ


​ขณะที่อีกมุมมองหนึ่ง ที่มองโลกทั้งใบ จะบอกว่าการยืดปัจจุบันมันไม่พอ ถึงเวลาที่เราจะต้องมีการ restore, renew, revitalize คืนกลับมาด้วย อะไรที่เป็นความอุดมสมบูรณ์ ต้องไปฟื้นฟู และดึงกลับมา ไม่อย่างนั้นแล้วจะอยู่แค่ stage ปัจจุบัน


​คือปลูกมะม่วงให้มีราคา ต้องหาสายพันธุ์ดีๆ ดินอุดมดี ซึ่งไม่พอ ถ้าอยากให้ระบบเกษตรดีขึ้น ต้องไปกอบกู้ทั้งระบบ ดูคุณภาพผักผลไม้ ดูสุขภาพคนกิน และเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่คำว่า “regenerative culture”​


​regenerative culture เป็นวัฒนธรรมองค์กรน้ำดี ที่เปลี่ยนผ่านตัวเองจาก conventional business พัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ จากการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า restorative คือการดึงอะไรที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเราเข้ามา แล้วพอกลับมาจุดที่เรียกว่าเรา restore ได้แล้ว ก็ต้องทำให้ regenerative ตัวเองกลับมาได้ด้วย ถึงจะเข้าสู่จักรวาลของ sustainable ​อย่างแท้จริงโดยทัพใหญ่ของการสร้างการเปลี่ยนแปลงหนีไม่พ้น ผู้นำ และมือขวาอย่าง HR


​บทบาทของผู้นำในโลกของความยั่งยืน แบ่งเป็น 3 เรื่องด้วยกันคือ


​1. การสร้าง security ให้กับคนในองค์กร ทำอย่างไรให้คนในองค์กรปลอดภัย รู้สึกมั่นคงในการลุกขึ้นมาทำงาน


​2. การสร้าง purpose ในการนำ เพราะการนำที่ไม่มีเป้าหมาย จะนึกภาพไม่ออก เพราะฉะนั้น มันต้องเดินอย่างมีเป้าหมาย องค์กรมีหน้าที่สร้าง purpose ถ้าไม่เริ่มต้นด้วย purpose ไม่รู้จะไปทางไหน


​3. การทำเรื่อง achievement ไม่ว่าในเชิงบุคคลหรือองค์กร ถ้าเอามาจับคู่กับมาร์ชโลว์ ความต้องการพื้นฐานของคน องค์กรมีหน้าที่พวกนี้ ในการสร้างเรื่องพื้นฐาน สร้างความมั่นคง ทำให้พนักงานมี self extreme และมีสิ่งที่เรียกว่า self actualization ในเรื่องของ achievement


​“ถ้าเราพูดถึงคำว่า regenerative leadership คือผู้นำที่ต้องให้ความสำคัญกับ restoration เรื่องของ neutralization และเรื่องของ ecosystem ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้นคุณสมบัติของ generative leadership คือเรื่องของการมี purpose driven และจะลุกขึ้นมาทำ design thinking อย่างเดียว โดยไม่เข้าใจ system thinking ก็ไม่ได้”


​หนึ่งในทักษะสำคัญของผู้นำ ในการสร้างองค์กรให้ยั่งยืน คือการสร้างความเป็นธรรม (justice) ให้ปรากฏ

​“คุณมีความเป็นธรรมขนาดไหน หรือคุณเอาแค่พรรคพวกตัวเองมาก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเราบอกว่า ทุกชีวิตสำคัญ ไพ่ justiceต้องเข้ามาเลย”


​ขณะเดียวกัน เวลาเราพูดเรื่องของบทบาทของ generative leader ต้องมีคุณสมบัติของสัตว์อยู่ 2 จำพวกคือ 1. เหยี่ยว ต้องมี bird eye view และ 2. มด มีความสามารถของคำว่า sensing คนโบราณจะบอกว่า ถ้ามดดำมา เดี๋ยวฝนตก มดเป็นสัตว์ที่มี sensing ที่ดีที่สุด ต่อไปผู้นำไม่ต้องมานั่งรอ customer insight ไม่ต้องรอให้คนมาบอก ผู้นำต้องมี good sensing ไม่ว่าการปรับตัวต่างๆ จะเป็นอย่างไร


​ขณะที่บทบาทของ HR ก็มี 3 หน้าที่หลักด้วยกันคือ


​1. ต้องสร้างคำว่า sustainability integration ทำอย่างไรให้เรื่องนี้ได้ integrate อยู่ในองค์กร เพราะถ้าคนไม่แข็งแรง อย่าไปหวังว่าองค์กรจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้ตัวเองได้ คนสำคัญที่สุด และต่อไป ถ้าจะสร้างคน ต้องสร้างให้เหนือกว่า AI ในเชิงของจริยธรรม


​2. มีหน้าที่สร้างคำว่า holistic well being programพนักงานของเราต้องแข็งแรงทั้งกายและใจ ในยุคที่องค์กรเต็มไปด้วยความหลากหลายทางเพศ


​3. สร้างในเรื่องของ purpose driven culture โดยคำว่า purpose ประกอบด้วย 3B คือ


​3.1 beyond โดย purpose ที่ดีจะต้อง beyond profit


​3.2 bigger ต้อง bigger than yourself คุณต้องเชื่อว่ามันมีชีวิตอื่น ที่ไม่ใช่แค่ชีวิตคุณ


​3.3 better ต้องเข้าให้ถึง impact ไม่ได้แค่ outcome


​“purpose มี ROI (return on investment) ไม่ได้เซ็ตไว้ให้ดูสวยงาม การทำธุรกิจ purpose ที่ดี ต้องย้อนกลับมา make better profit อย่างไนกี้ เซ็ต purpose ได้ถูกต้อง ทำให้คนอยากออกไปใช้ชีวิต purpose ชัดเจนจึงช่วยให้ยอดขายดีขึ้น”


​ความยั่งยืนไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่สายพันธุ์ใด สายพันธุ์หนึ่ง และความยั่งยืนไม่ใช่อำนาจที่ถูกสงวนไว้สำหรับบางจำพวก แต่เป็นการสร้างความยั่งยืน บนเส้นทางแห่งความสำเร็จร่วมกัน ในยุคเรืองรองของ life centric ที่แม้แต่ใบไม้ใบหญ้าก็มีความสำคัญ...

Tag :