7 แบรนด์ชั้นนำโลก ชุบชีวิตขยะสิ่งทอ หมุนเวียนเส้นใย สู่แฟชั่นยั่งยืน

by สินนภา ดีเลิศพัฒนา, 11 เมษายน 2567

อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอีกตัวการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน และยังก่อให้เกิดขยะสิ่งทอจำนวนมาก และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลในการผลิต เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม

 

ขยะสิ่งทอ ทางรอดอุตสาหกรรมแฟชั่นแห่งอนาคต


น้ำสะอาดจำนวนกว่า 79,000 ล้านลูกบาศก์เมตรถูกนำไปใช้ในกระบวนการปลูกฝ้าย และ กระบวนการฟอกย้อม และมลพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำก็ยังมีที่มาจากกระบวนการฟอกย้อมจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานและกระบวนการปลูกฝ้ายที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นสาเหตุให้ สารเคมี สีฟอกย้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนที่น้ำผิวดิน และ แหล่งน้ำใต้ดิน

 

นับตั้งแต่กระบวนการปลูกฝ้าย, ปั่นด้าย, ทอผ้า, ฟอกย้อม, ตัดเย็บ, จนส่งถึงมือลูกค้า โดยในแต่ละปี ขยะสิ่งทอกว่า 92 ล้านตันจะถูกนำไปฝังกลบ หรือ เผาทำลาย เพิ่มผลกระทบที่ร้ายแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

การเลือกใช้วัตถุดิบรีไซเคิลที่เป็นของเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆ แบรนด์ทั่วโลก เริ่มนำมาใช้ช่วยลดทรัพยากรในการผลิต ช่วยลดจำนวนการฝังกลบและเผาทิ้ง และยังช่วยให้ของเสียเหล่านั้นได้ต่อยอดสร้างคุณค่าแบบครบจบลูปอีกด้วย

 

ด้วยการใช้สิ่งทอ รีไซเคิล (Textile Recycling) เป็นแนวทางที่สอดรับกับ BCG Model (BCG -Bio,Circular,Green Economy) ตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคในแง่ของการรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้ผลิตทั้งในด้านการลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาวัตถุดิบ รวมถึงเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ซึ่งจะทำให้การรีไซเคิลสิ่งทอมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

สิ่งทอรีไซเคิล (Textile Recycling) คืออะไร
และใช้วัสดุมาจากไหน?

 

เสื้อผ้าที่ผลิตมาจากขยะสิ่งทอ โดยวัสดุที่ใช้สำหรับการรีไซเคิลสิ่งทอสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. ขยะสิ่งทอก่อนการบริโภค (Pre-consumer) ส่วนใหญ่เป็นเศษด้ายและเศษผ้าที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

2. ขยะสิ่งทอหลังการบริโภค (Post-consumer) คือ สิ่งทอที่ถูกทิ้ง เสื่อมสภาพหรือผ่านการใช้งานแล้ว เช่น เสื้อผ้าเก่า และของใช้ในบ้านต่างๆ

 


กระบวนการผลิต สิ่งทอรีไซเคิล

กระบวนการผลิต (Textile Recycling) จะเริ่มจากการนำวัสดุของแข็งที่ติดมากับเสื้อผ้าออก เช่น กระดุมและซิป แล้วนำขยะสิ่งทอมาตัดหรือฉีกออกเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นจะทำการคัดแยกเฉดสี เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปลงสภาพ โดยการนำเอาตัวทำละลายที่เหมาะสมกับเส้นใยแต่ละชนิดมาทำละลายเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม แล้วอัดขึ้นรูปเพื่อนำมาปั่นเป็นเส้นใยรีไซเคิลสำหรับผลิตเสื้อผ้าใหม่หรือผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ

 

อย่างไรก็ดี เสื้อผ้าส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรีไซเคิลได้ 100% เนื่องจากส่วนประกอบและเส้นใยของเสื้อผ้ามีความหลากหลาย ซึ่งเส้นใยแต่ละชนิดมีความสามารถในการรีไซเคิลต่างกัน อีกทั้งกระบวนการรีไซเคิลสิ่งทอจะส่งผลให้ความยาวของเส้นใยสั้นลง จึงต้องทำการผสมกับเส้นใยบริสุทธิ์ในสัดส่วนราว 30-50% เพื่อให้เส้นใยมีคุณภาพมากขึ้น

 

ตามรายงานของ Future Market Insights ในปี 2022 พบว่า ความกังวลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมกับการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในเทคโนโลยี การรีไซเคิลสิ่งทอ จะเป็นปัจจัยเร่งให้มูลค่าตลาดตลาดเสื้อผ้าจากสิ่งทอ เส้นใยรีไซเคิลทั้งโลก มีแนวโน้มเติบโตอย่างสูง จากในปี พ.ศ.2565 ที่มีมูลค่า 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) คาดว่าจะขึ้นไปอยู่ที่ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 5.6 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ.2575 หรือ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10.7% ภายใน 10 ปี ข้างหน้า

 

โดยตลาดเสื้อผ้ารีไซเคิลเสื้อผ้า มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงประมาณ 1 ใน 4 โดยในยุโรป ส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 26% ขณะที่ในสหรัฐอมเริกา อยู่ที่ 24%


ส่วนตลาดเสื้อผ้ารีไซเคิล ในเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2565-2575 โดยเฉพาะในตลาดอินเดียเติบโตปีละ 15.2% และจีน เติบโตปีละ 13.6%


ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเติบโตเกิดจากบริษัทสตาร์ทอัพ ในอินเดียมีการลงทุนในเทคโนโลยีการรีไซเคิลเสื้อผ้ามากขึ้น ขณะที่จีนเป็นศูนย์กลางการผลิตและจัดหาสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้เอื้อต่อการนำสิ่งทอกลับมาผลิตใหม่ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

 


มัดรวมแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำ
เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Textile Recycling

1. เอช แอนด์ เอ็ม (H&M)

โครงการรวบรวมเสื้อผ้าของ H&M Group เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2013 (พ.ศ. 2556) และตั้งแต่นั้นมาก็ได้รวบรวมเสื้อผ้ากว่า 78,000 ตัน ผ่านการบริจาคของลูกค้าที่ร้านค้าทั่วโลก โดยกระตุ้นให้นักช้อปหัวใจรักษ์โลก ที่เก็บเสื้อผ้าเก่าและของใช้ผ้าผืน สิ่งทอเก่าที่ไม่ได้ใช้ นําเข้ามาบริจาค ตั้งแต่ ผ้าปูที่นอนที่เสื่อมสภาพไปจนถึง เสื้อเชิ้ตที่สกปรก เพื่อแลกกับส่วนลด 15% สําหรับการซื้อ ครั้งต่อไป

ส่วนสิ่งทอที่รับเข้ามา ก็จะถูกส่งไปยังโรงงานที่แบ่งออกไปบริจัดการตามสภาพ เป็นหมวดหมู่ สวมใส่ซ้ำ นํากลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล ส่วนกลุ่มจำพวกสิ่งทอจะจำหน่ายเป็นผ้ามือสอง หรือถูกแปลงเป็นเสื้อผ้าอื่นๆหรือแบ่งออกเป็นเส้นใยสิ่งทอเพื่อเข้ากระบวนการนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ ที่มีดีไซน์

 

2. เดอะ นอร์ท เฟซ (The North Faces)

แบรนด์ของคนที่รักกิจกรรมกลางแจ้ง จึงสมเหตุสมผลแล้วที่แบรนด์จะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและการรีไซเคิลด้วย ในปี ค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) บริษัทได้เปิดตัวโปรแกรม Clothes the Loop สนับสนุนให้ผู้คนรีไซเคิลเสื้อผ้าและรองเท้าที่ไม่ต้องการ โดยนําไปส่งที่ร้านค้าปลีกและเอาท์เล็ทของ The North Face เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน

แรงจูงใจการแลกเปลี่ยนคือ ลูกค้าจะได้รับรางวัล 10 เหรียญสหรัฐ สําหรับการซื้อครั้งต่อไปที่ 100 เหรียญสหรัฐขึ้นไป โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ได้ขยายไปยังตลาดใหม่และรวบรวมสินค้าใช้แล้วมูลค่ามากกว่า 125,000 ปอนด์ บริษัทมุ่งมั่นที่จะขยายโครงการไปทั่วโลกและรักษาเสื้อผ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดการฝังกลบของเสื้อผ้า

 

3. พาทาโกเนีย (Patagonia)

ก่อตั้งโดย อีวอง ชูนาร์ด (Yvon Chouinard) สร้างแบรนด์ Patagonia ปี ค.ศ.1973 (ปี พ.ศ. 2516) จากแรงบันดาลใจธรรมชาติกลางหุบเขา เหมาะกับการเดินป่า ไต่เขาที่สวยงาม เป็นบริษัทเครื่องแต่งกายกลางแจ้งซึ่งได้รับการรับรองจาก B-Corporation Patagonia เป็นผู้นําด้านแฟชั่นที่ยั่งยืน รายได้จากการขายเสื้อผ้า จะนำไปดําเนินการลดผลกระทบ ลดวิกฤติสภาพอากาศแปรปรวน (Climate Change)

 

สำหรับ แนวทางการรีไซเคิลสิ่งทอผ่านโปรแกรม Worn Wear ซึ่งช่วยยืดอายุสิ่งทอด้วยระบบหมุนเวียน ด้วยการซ่อมแซมและรีไซเคิลเสื้อผ้า และสร้างตลาดสําหรับเสื้อผ้า Patagonia มือสองในร้านค้าออนไลน์ โดยทาง Wear Wear ตั้งเป้าที่จะรักษาเสื้อผ้าและอุปกรณ์ให้นานขึ้น เป็นที่ยอมรับในระดับสากลสําหรับความมุ่งมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

 

4. อาดีดาส (Adidas)

ณ ปัจจุบัน รองเท้าแทบจะไม่สามารถรีไซเคิลได้เลย วัสดุที่หลากหลายมากเกินไป แต่รุ่น "Futurecraft Loop" อาดิดาสได้นําเสนอรองเท้าวิ่ง ที่จากวัสดุรีไซเคิล ได้เต็มรูปแบบ ซึ่งทำมาจาก เทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน (TPU) รีไซเคิลได้ 100% และไม่มีกาวใดๆ เลย ดังนั้นเมื่อถึงเวลารองเท้ารุ่นนี้ถูกใช้จนถึงวันหมดอายุแล้ว อาดิดาส จะนำไปล้าง บดเป็นเม็ดและละลายเป็นวัสดุสําหรับส่วนประกอบรองเท้าใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีเหลือแม้กระทั่งเศษขยะทิ้ง

 

5. ดีแคทลอน (DECATHLON)

ด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ ช่วยให้สามารถระบุขั้นตอนในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ ตามกฎหมายฝรั่งเศส ที่กำหนดให้มีการนำระบบที่มีการขยายขอบเขตผู้ผลิตต้องรับผิดชอบวงจรชีวิตสินค้าตั้งแต่ต้นจนจบ EPR (Extended Producer Responsibility ) จึงมีการจัดทำระบบรวบรวมสินค้า อุปกรณ์กีฬา ที่สิ้นอายุการใช้งาน ผุพัง ไม่ได้ใช้แล้ว เสื่อมสภาพกลับมาจัดการใหม่แตกต่างกัน ประกอบด้วย

-Upcycling คือ การเพิ่มคุณค่าผ่านการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน เช่น การกู้คืน สโนว์บอร์ดไปทำที่นั่ง

- material recycling การรีไซเคิลวัสดุ ผ่านการรวบรวมแล้วจึงคัดแยกวัสดุที่คล้ายกันมาเป็นหมวดหมู่ เพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

- downcycling: การทำลายไปไปสู่การเป็นส่วนประกอบของวัสดุอื่นๆ เช่น การบีบอัดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เพื่อทำเป็นเศษวัสดุ เช่น การใช้เศษโฟมเพื่อเติมถุงนั่งหรือเพื่อทำฉนวน

นอกจากนี้ยัง มีการจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์ก่อนใช้ให้ผู้บริโภคได้เห็นชัดเจน เช่น การระบุในฉลากวัสดุมาจาก ผ้าฝ้าย โดยมีฉลาก BCI (Better Cotton Initiative) ได้รับการยอมรับว่านี่คือสินค้าที่มีการออกแบบเป็นมิตรกับโลก วัสดุไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 


6. คาร์นิวัล (CARNIVAL®)

มีการเปิดตัว คอลเลคชั่นของ CARNIVAL® GREEN LABEL เสื้อผ้าแบรนด์ไทยที่มาพร้อมฉลากสีเขียว ที่ได้รับการยอมรับ ยืนยันสินค้าที่มุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อหวนคืนความยั่งยืนให้แก่โลกใบนี้ ด้วยการร่วมมือกับ SC Grand โดยสินค้าทั้งหมดหมวดหมู่ GREEN LABEL ที่จะมุ่งเน้นผลิตจากสิ่งทอรีไซเคิลโดยเฉพาะ ทั้งเศษผ้า เสื้อเก่า รวมถึงวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ นำมาผ่านกระบวนการแปรรูปให้เป็นเส้นด้าย และทอเป็นผ้าผืนใหม่จนกลายเป็นผ้ารีไซเคิลแบบ 100%

 

7. จีคิว ไทยแลนด์ (GQ Thailand)

ด้วยความร่วมมือของ GQ และ SC Grand มุ่งตอกย้ำให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล และเป็นการนำของเหลือใช้ที่ไร้ประโยชน์กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ให้คุ้มค่ามากที่สุด กระเป๋าในคอลเลคชั่นนี้ผลิตจากการทอเส้นด้ายรีไซเคิล เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นเฉพาะของ SC Grand เพราะเส้นด้ายของกระเป๋าแต่ละสี ทั้งสีขาว สีครีม และสีเดนิม ล้วนผลิตจากเสื้อผ้าตัวเก่า เศษผ้า หรือเศษวัสดุที่มีสีที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ไม่ผ่านการฟอกหรือย้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

 

สำหรับภาพรวมตลาดสิ่งทอรีไซเคิล (Textle Recycle) จะมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก ในประเทศไทย Krungthai COMPASS คาดว่า ในปี พ.ศ.2575 หรือ ภายใน 8 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดจะอยู่ที่ราว 1,300 ล้านบาท หรือสัดส่วน 0.5% ของมูลค่าตลาดเสื้อผ้าของไทย จากมํลค่ารวมทั้งหมดราว 258,200 ล้านบาท

 

 

 

ดังนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ผู้ประกอบการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยหันมาใช้ Textile Recycling มากขึ้น

 

Krungthai COMPASS ประเมินข้อดีของและเป็นโอกาสมหาศาลในการสร้างมูลค่า เพราะสินค้าที่ผลิตเส้นใยรีไซเคิลจะช่วยมีกำไร ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเสื้อยืดจากเส้นใยรีไซเคิล 100% จะช่วยให้ผู้ผลิตมีกำไรเพิ่มขึ้นราว 3%ตัว เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรของเสื้อยืดทั่วไป

 

นอกจากนี้ การผลิตสิ่งทอจากเส้นใยรีไซเคิล 100% ยังช่วยลดปริมาณของการใช้น้ำมากถึง 95% และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 45% ต่อปีอีกด้วย

 

source:

https://moneyandbanking.co.th/2023/20829/
https://sourcingjournal.com/denim/denim-brands/levis-madewell-north-face-zara-reformation-textile-recycling-denim-179386/
https://www.moneycrashers.com/retailers-recycle-clothes-money/
https://sc-grand.com/th/sustainability
https://www.imarcgroup.com/textile-recycling-companies
https://www.ispo.com/en/news-markets/how-sports-industry-further-developing-recycling
https://www.gqthailand.com/style/article/gq-x-scgrand-bag