แก้ปัญหาน้ำ 2แสนล้านไม่ทำ –ทำรถไฟฟ้า 1 ล้านล้าน ทำไม!

by ThaiQuote, 10 สิงหาคม 2561

ประเทศไทย แม้จะเห็นว่า มีเขื่อน มีอ้างเก็บน้ำอยู่มาก โดยมีเขื่อนอยู่ 33 แห่ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และมีอ่างเก็บน้ำจำนวนหนึ่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ  ซึ่งการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำ หรือการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในการควบคุม เพื่อประโยชน์ในการทำการเกษตร ที่เรียกว่า ระบบชลประทาน และเพื่อการอุปโภคบริโภค ประเทศไทยมีแม่น้ำสายหลัก กระจายอยู่ทั่วประเทศตั้งแต่เหนือจรดใต้ 43 แม่น้ำ ไม่นับแม่น้ำ สาขา ห้วย คลอง ลำธารอีกมากมาย โดยประเทศไทยมีระบบชลประทาน เพียง 28% ของพื้นที่ประเทศ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้คนภาคกลางสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 4 ครั้ง มีรายได้มากกว่าคนพื้นที่อื่น ในอาชีพเดียวกัน พื้นที่ๆมีระบบชลประทานน้อยที่สุด คือ ภาคอีสาน เกษตรกรภาคอีสานส่วนใหญ่ จึงทำการเกษตรแบบพึ่งพึงธรรมชาติ ฝนตก ก็ดำนำด้ ฝนแล้ง ข้าวกล้าก็ตาย คนอีสานในภาคเกษตรจึงมีฐานะยากจนกว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จึงหนีตายจากภาคอีสานมาทำงานรับจ้างในกรุงเทพฯ หรือไปต่างประเทศ มีชีวิตที่ต้องดิ้นรน ยากลำบาก เมื่อถึงหน้าทำนา เกี่ยวข้าว ก็จะกลับไปดำนาเกี่ยวข้อง ด้วยความยากลำบากเช่นนี้ คนอีสานจึงเห็นว่า การปลูกข้าวเป็นเรื่องสำคัญ น่าสงสัยว่า ในเมื่อ เราให้การยกย่องว่า ชาวนาหรือเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่เราให้ความสำคัญในการสร้างระบบชลประทานเพื่อเกษตรกรน้อย ช่วงที่มีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  คนไทยพูดกันมากเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และการสร้างระบบชลประทาน ตอนที่คสช.ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามีการพูดเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นสำคัญ ถึงกับมีแนวคิดที่จะจัดตั้งกรมน้ำ ขึ้นมาด้วยซ้ำ แต่แล้ว เรื่องก็เงียบหายไป เหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดเพชรบุรี เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว กรมชลประทานอาจทำได้ดีในการบริหารเหตุการณ์เฉพาะหน้า เพราะต้องไม่ลืมว่า น้ำท่วมเพชรบุรี จากน้ำในเขื่อนแก่งกระจานเต็ม ดำเนินมาหลายปี ถ้ามีการคิดป้องกันในระยะยาว มีระบบการเบี่ยงน้ำ การเก็บน้ำ การทำแก้มลิง เพื่อดูดซับน้ำ ก็จะแก้ปัญหาได้ถาวร ไม่ต้องมาทำกันในช่วงที่น้ำกำลังจะท่วม เช่นเดียวกัน ในภาคอีสานและในหลายจังหวัด เมื่อถึงหน้าแล้ง หน่วยงานราชการ ก็จะนำน้ำใส่รถไปแจกชาวบ้าน ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาถาวรและยั่งยืน ด้วยการสร้างระบบชลประทานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งมีการศึกษา ได้ตัวเลขว่า การสร้างระบบชลประทาน ในภาคอีสานใช้งบประมาณ 2-3 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งรัฐบาลคสช. ให้ความสำคัญน้อยมากกับการแก้ปัญหาน้ำอย่างถาวรและยั่งยืน รัฐบาลลงทุนสร้างรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ทั่วประเทศมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้าน เพื่อให้บริการคนรวย คนมีเงิน แต่สร้างระบบชลประทาน 2-3 แสนล้านบาท เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน กลับไม่ทำ เป็นการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดหรือไม่ ลองพิจารณากันดู พรพญา ข้อมูลที่น่าสนใจ จำนวนแม่น้ำในประเทศไทย ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เหตุผลของความอุดมสมบูรณ์นี้คือประเทศไทยของเรามีแม่น้ำลำคลองกระจายอยู่ทั่วไปประเทศ แม่น้ำในประเทศไทยมีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาสูงในภูมิภาคต่างๆ ก่อนจะไหลลงมาก่อเกิดเป็นแม่น้ำที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค การคมนาคมขนส่ง การเกษตรกรรม และเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น แม่น้ำในประเทศไทย ที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่และสำคัญมีทั้งหมด 43 แห่ง หรือ 43 ลำน้ำ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของไทย โดยรายชื่อแม่น้ำในประเทศไทยเรียงตามตัวอักษรมีดังนี้ 1. แม่น้ำกก 2. แม่น้ำกระบุรี 3. แม่น้ำโกลก 4. แม่น้ำโขง 5. แม่น้ำแคว 6. แม่น้ำเจ้าพระยา 7. แม่น้ำชี 8. แม่น้ำตรัง 9. แม่น้ำตาปี 10. แม่น้ำท่าจีน 11. แม่น้ำนครนายก 12. แม่น้ำน่าน 13. แม่น้ำน้อย 14. แม่น้ำบางขาม 15. แม่น้ำบางตะบูน 16. แม่น้ำบางปะกง 17. แม่น้ำปัตตานี 18. แม่น้ำปาย 19. แม่น้ำป่าสัก 20. แม่น้ำปิง 21. แม่น้ำปราจีนบุรี 22. แม่น้ำปราณบุรี 23. แม่น้ำเพชรบุรี 24. แม่น้ำภาชี 25. แม่น้ำเมย 26. แม่น้ำแม่กลอง 27. แม่น้ำมูล 28. แม่น้ำคีรีรัฐ 29. แม่น้ำยม 30. แม่น้ำยวม 31. แม่น้ำรวก 32. แม่น้ำลี้ 33. แม่น้ำลพบุรี 34. แม่น้ำลำเชียงไกร 35. แม่น้ำลัดเกร็ด 36. แม่น้ำเลย 37. แม่น้ำวัง 38. แม่น้ำสะแกกรัง 39. แม่น้ำสาละวิน 40. แม่น้ำสาย 41. แม่น้ำสายบุรี 42. แม่น้ำเหือง 43. แม่น้ำอิง จำนวนเขื่อนในประเทศไทย