‘โบแยน’ วิศวกรสมองเพชร คิดค้น Interceptor19 เรือดักขยะคุ้งน้ำเจ้าพระยา

by สินนภา ดีเลิศพัฒนา, 31 มีนาคม 2567

 โบแยนผู้แปลงความห่วงใย ความงามมหาสมุทรโลก ถูกทับถมด้วยแพขยะนับล้าน จึงอาสาตั้ง Ocean Cleanup คิดค้นนวัตกรรม Interceptor เก็บขยะตามแหล่งน้ำ มหาสมุทรทั่วโลก

 

โบแยน สแลต เป็นใคร? เรียนรู้แนวคิดนวัตกรรมเรือเก็บขยะรักษ์โลก Interceptor 019 กำจัดขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา

คนไทยปลาปลื้มปิติมาก เมื่อเห็นข่าวการเดินทางมาถึงไทยของเรือกวาดต้อนขยะ จากเนเธอร์แลนด์ ที่ชื่อว่า Interceptor019 นวัตกรรมเรือดักจับขยะประสิทธิภาพสูง ลำที่ 19 ของโลก เลือกมาจอดที่เหนือคุ้งน้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยในการดักขยะก่อนลงสู่ทะเล เพราะสถิติของขยะมหาศาลในมหาสมุทร พบว่าเกิดการหลั่งไหลจากแม่น้ำ

ไทยเป็นประเทศที่มีขยะสูงถึง อันดับ ุ 6 ของโลก จึงถูกเลือกให้เรือมาติดตั้ง กอบกู้หลายชีวิตในท้องทะเล

เรือลำนี้ ถูกคิดค้นโดยเด็กหนุ่มอายุ 18 ที่มีชื่อว่า โบแยน สแลต (Boyan Slat) ซึ่งปัจจุบันนี้เขาอายุ 30 ปี

ความงามทะเลกรีซ ถูกขยะบดบัง 
แรงผลักดันนวัตกรรมดักขยะคืนความใสทะเล

ย้อนกลับไปเมื่อ 11 ปีก่อน โบแยน สแลต (Boyan Slat) นักศึกษาวิศวกรรมอากาศยานวัย 19 ปี จากเนเธอร์แลนด์ ได้ไปท่องเที่ยวที่ชายฝั่งทะเลของประเทศกรีซ เพื่อหวังพักผ่อนชื่นชมกับธรรมชาติ แต่สิ่งที่เห็นตรงหน้าจนทำให้เขาต้องตกอยู่ในสภาวะตะลึงงัน เมื่อธรรมชาติตรงหน้าเต็มไปด้วยขยะพลาสติกในท้องทะเล


เด็กวัยหนุ่มอายุ 19 ปี ผิดหวังกับธรรมชาติ จึงต้องการเป็นผู้เข้าไปแก้ไขปัญหา โดยใช้ภาพขยะล้นเอ่อเต็มทะเลนั้นมาเป็นแรงผลักดัน ค้นหาวิธีการกำจัดขยะในมหาสมุทร ด้วยนวัตกรรมง่าย ๆ ที่ได้ผลจริง

พลิกทิศทางคลื่นกระทบผิวนำ้
เปลี่ยนทิศทางกวาดต้อนขยะขึ้นเรือ

โบแยนทุ่มเทเวลาศึกษากลไกการทำงานกำจัดขยะในมหาสมัทรอย่างจริงจัง จนได้รับแรงบัลดาลใจ นวัตกรรมกำจัดขยะ จากปรากฎการณ์ในท้องทะเล เรียกว่า Gyre เป็นการเคลื่อนที่เป็นคลื่นวงกลมบริเวณผิวหน้าน้ำในมหาสมุทร คลื่นเหนือน้ำนี้ทำให้สิ่งของต่างๆที่อยู่บนผิวน้ำก็จะลอยเหนือน้ำขึ้นมาตามวง แมัระทั่งขยะ

ทำให้มีวิวัฒนาการสร้างเครื่อง Ocean Garbage Patches ที่มีการทำงานคล้ายกับแพขยะขนาดใหญ่ในมหาสมุทร อาศัยการทำงานของวงแหวนคลื่นเหนือน้ำ Gyre กวาดต้อนขยะมารวมกัน สิ่งนี้ทำให้โบแยนปิ๊งไอเดีย สร้างทุ่นลอยน้ำที่มีแขนดักจับขยะพลาสติกลอยน้ำ

 

 

พลัง คำบันดาลใจจากTEDx Talk
ระดมทุนร่วมฝันเส้นทางมหาสมุทรสะอาด

เริ่มแรก โบแยนออกแบบทุ่นที่มีแขนรูปตัว V ยาว 100 กิโลเมตร ดักจับขยะได้ถึง 3 เมตรจากระดับผิวน้ำ โดยไม่ต้องออกแรงไปต้องไปตามจับตามเก็บ รอให้กระแสน้ำพัดขยะเข้ามาเป็นอันจบ โบแยนขึ้นพูดบนเวที TEDx Talk ในปี 2555 เกี่ยวกับโปรเจคท์นี้ ระบุว่า วิธีนี้จะทำให้เราสามารถกำจัดขยะที่ล่องลอยในมหาสมุทร โดยเสียค่าใช้จ่ายแค่ประมาณ 4.53 ยูโรต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 176 บาทเท่านั้น

การพูดครั้งนั้นส่งผลให้ผู้คนให้ความสนใจอย่างล้นหลาม เกิดกระแสไวรัลทางอินเทอร์เน็ต เกิดการอยากเข้าไปสนับสนุนระดมทุนอยากร่วมทีมนับร้อยคน

การตัดสินใจครั้งใหญ่ ลาออกรั้วมหาลัย
ตั้งองค์กร The Ocean Cleanup

โบแยน มีแนวคิดจริงจังในการแก้ไขปัญหานี้ จึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย และเริ่มก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup อย่างเป็นทางการ
The Ocean Cleanup เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรระดับนานาชาติที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อกําจัดพลาสติกในมหาสมุทร

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ได้มีการใช้กลยุทธ์สองประการ ได้แก่การสกัดกั้นในแม่น้ําเพื่อจัดการกับแหล่งที่มาของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทร และทําความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่สะสมอยู่ในมหาสมุทรได้ ที่ไม่สามารถย่อยสลายหายไปได้

ปลายทางกำจัดพลาสติก 90% ปี 2040

เป้าหมายของบริษัทฯคือการทํางานร่วมกับบริษัทเอกชน บุคคล และผู้นํารัฐบาลเพื่อทําความสะอาดแม่น้ํา 1,000 แห่งภายในปี 2568 และกําจัดพลาสติกเกือบ 90% ออกจากมหาสมุทรภายในปี 2040

 

 

 ด้วยระบบลอยตัวที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรวมขยะพลาสติกทั้งหมดก่อนที่จะถูกสกัดจากแม่น้ํา ประกอบด้วย ทุ่นลอยน้ำ Floater ยาว 600 เมตรบนผิวน้ําและมุมลึก 3.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ไมโครพลาสติกหลุดออกมาด้านล่าง และไม่สามารถออกไปได้ทางด้านหลัง และสร้างการไหลลงทําให้สิ่งมีชีวิตในทะเลออกไปได้ไปตามเส้นทาง

 

ไทย หมุดหมายหลัก แม่น้ำ ปลอมปนขยะ

สำหรับการติดตั้ง Interceptor 019 บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ประเทศไทย โบแยนกล่าวถึงเหตุผลที่เลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมุดหมายว่า พวกเราได้รับการสนับสนุนที่ดีมากจากทั้งผู้มีส่วนร่วม สาธารณะ ที่ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นได้ โดยความสำเร็จครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเชิงวิจัยเชิงการติดตั้งบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีการปนเปื้อนของขยะพลาสติกจำนวนมาก เราพบว่าการเริ่มจากจุดนี้จะส่งผลกระทบอย่างทวีคูณต่อโลกใบนี้

และโบแยนยังได่เล่าเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับ Interceptor 019 เรือดักจับขยะบนผิวน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถเก็บขยะได้ 6 ตัน ใน 6 ถังขยะ โดยขยะที่ดักจับได้จากบนเรือก็จะนำขึ้นไปบนท่าเรือ ให้เป็นหน้าที่ของทางกรุงเทพมหานครที่จะนำไปยังศูนย์คัดแยก ว่าจะนำไปรีไซเคิล กำจัดทิ้ง หรือนำไปทำปุ๋ย และที่เหลืออาจจะนำไปฝังกลบหรือนำไปเผา

 

 


ท่าน้ำสายต่อไป แหลมฉบัง ภูเก็ต

เนื่องจากเรือลำนี้เป็น Interceptor แรกสำหรับประเทศไทย และเราก็ได้รับการช่วยทั้งในด้านของการนำความร่วมมือและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อประเทศไทยทั้งในวันนี้และอนาคต และเพื่อดักจับขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา ในแม่น้ำอื่นๆและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะแหลมฉบัง ภูเก็ต ที่ได้ให้ความสนใจว่าเราจะทำงานยังไง จะช่วยเหลือได้อย่างไร ที่จะนำ interceptor ลงไปในพื้นที่เหล่านั้น

โบแยนเล่าถึงการดำเนินโครงการนี้ในประเทศไทยในส่วนของการกำจัดขยะพลาสติกในแหล่งน้ำว่า ได้มีการแบ่งการทำงานเป็นสองส่วน

ส่วนแรกคือการกำจัดขยะในทะเล และอีกส่วนคือ ป้องกันขยะในทะเล เพราะหากเราไม่ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันก็จะต้องมีการกำจัดขยะในทะเลต่อเนื่องไปเรื่อยๆอย่างไรที่สิ้นสุด

แม่น้ำ ปากทางทิ้งขยะมหึมา สู่มหาสมุทร

โดยปีที่ผ่านมาได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่ว่า แหล่งน้ำ 1% ของแม่น้ำโลกเป็นต้นตอของการปล่อยพลาสติกลงทะเลกว่า 88% เราจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ เพื่อป้องกันขยะไหลลงทะเล และนี่เป็นจุดเริ่มต้นกับทางกรุงเทพมหานครเมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย ทั้งในแง่ของมุมมองระบบนิเวศธุรกิจ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่างๆ

ติด GPS ในขวดขยะ สะกดรอยขยะพเนจร หมุดหมายปลายทางสุดท้าย

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อกำจัดขยะพลาสติกบนพื้นผิวน้ำ และทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลาสติดที่ลอยอยู่บนน้ำ ด้วยการติดตั้งกล้องบนสะพานเพื่อทำแผนที่แหล่งน้ำ และยังได้มีการติดตั้ง GPS ลงในขวดน้ำเพื่อดูเส้นทางของขยะว่าไปบรรจบที่ใด และด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้เราได้วิธีการแก้ไขปัญหาออกมาเป็น Interceptor 019 ลำนี้ และนี่ไม่ใช่จุดสิ้นสุดหรือจุดเริ่มต้น เรามองว่ามันเป็นก้าวแรก ที่ได้ร่วมมือกันเพื่อกำจัดขยะพลาสติกออกจากแหล่งน้ำ

 


สุดท้ายนี้โบแยนขอบคุณด้วยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรุงเทพมหานคร, เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี, สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, บริษัท อีโคมารีน จำกัด, บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้ Interceptor 019 มาจนถึงจุดนี้ได้ และดีใจอย่างมากที่พวกเราสามารถทำงานด้วยกันได้และให้การสนับสนุนอย่างมาก