นักวิทยาศาสตร์ชี้ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย แกนโลก หมุนช้ากว่าเข็มเวลาโลก

by วันทนา อรรถสถาวร , 3 เมษายน 2567

การค้นพบปรากฎการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลทำให้แกนโลกหมุนช้ากว่าเข็มนาฬิกาสากล ตั้งแต่ปี 1972 (พ.ศ.2515) สิ่่งเหล่านี้จะเห็นชัดเจนในการปรับเวลาภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อชดเชยกับเวลาเราหายไป กระทบหนักต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะการลงทุนเทรดหุ้น

 

การกำหนดเวลาการเดินเข็มนาฬิกาตามเวลาสากล หรือ UTC (Coordinated Universal Time: UTC) ที่ยอมรับกันทั่วโลกที่ผ่านมา เริ่มต้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ 2506 ) และมีการพัฒนาปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดการกำหนดเวลาปัจจุบัน เริ่มต้นตั้งแต่ ปีค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515)

ช่วงเวลาหนึ่งวันในหลายปีที่ผ่านมา เราทุกคนได้สูญเสียเวลาวินาทีไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบน้ำแข็งขั้วโลก

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ จาก the journal Nature. พบว่า การละลายของน้ำแข็งบริเวณชั้วโลก ได้ส่งผลกระทบต่อการอัตราการเดินของเข็มวินาทีใน 3 ปีข้างหน้า (ปี 2026-2029) เนื่องมาจากอัตราการหมุนของแกนกลางโลกช้าลงไม่สอดคล้องกับเข็มวินาที นั่นเท่ากับว่า ในอีกสองสามปีข้างหน้า ทุกคนในโลกจะเสียเวลาไปหลายวินาที

 

 

27 วินาที ที่เพิ่มมาใน 5 ทศวรรษ

ข้อมูลยืนยัน ตามการศึกษาของ สถาบัน Scripps Institution of Oceanography แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ (Nature) ปลายเดือน มีนาคม 2567 ที่ผ่านมาพบว่า ตั้งแต่มีการบันทึกเวลา นับเป็นครั้งแรกที่ UTC เรียกว่าเกิดปรากฎการณ์ ลดเวลาวินาที "เข็มวินาทีเหลื่อมติดลบ" (negative jump seconds) นั่นเท่ากับว่าโดยรวมแล้ว มีการเพิ่มวินาทีถึง 27 วินาที นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513)

นำมาซึ่งกมาทบทวนการปรับเวลา”วินาทีกระโดด” กันอยู่กับนาฬิกา UTC กับอัตราการหมุนของโลก


แค่เพียง”หนึ่งวินาที” ที่เหลื่อมกันอยู่นั้น เวลานั้นๆ แต่ส่งผลกระทบมหาศาล


บริแทนนิกา (Britannica) ได้ตั้งข้อสังเกตุระหว่างการหมุนของโลก กับ อัตราการหมุนของเข็มนาฬิกาสากล (UTC) เริ่มไม่สอดคล้องกัน เพราะเกิดการเพิ่มขึ้นของ UTC ทำให้นาทีสุดท้ายของเดือนปลายเดือนธันวาคม หรือเดือนมิถุนายน เวลาเพิ่มขึ้น 1 นาทีมี 60 วินาที เมื่อเทียบกับการการปรับเข็มเวลาตั้งแต่ปีค.ศ. 1972 (พ.ศ.2515)

เวลา UTC ความเหลื่อมกันระหว่างแกนโลก และนาฬิกาสากล เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสะสมการเพิ่มขึ้นของวินาทีที่สะสมหลายปีตั้งแต่เริ่มนับเวลาสากล ทำให้เกิด”เข็มวินาทีกระโดด”(Leap Second) จึงจำเป็นจะต้องตัดเวลาที่ที่เกินมาออกไป เพื่อกลับสู่มาตรฐานการหมุนตรงกัน ไม่เช่นนั้นอาจจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อระบบคอมพิวเตอร์

จึงถึงเวลาที่ต้องกลับมาทบทวน การปรับอัตราการหมุนของเข็มนาฬิกาใหม่ให้สอดคล้องกับอัตราการหมุนของโลก

 

วินาที ที่หล่นหาย
คอมพิวเตอร์ประมวลผลรวนมหาศาล

 

ทางด้าน แพทริเซีย ทาเวลลา ( Patrizia Tavella) สมาชิกของแผนกเวลาของสำนักงานน้ำหนักและมาตรการระหว่างประเทศในฝรั่งเศส มองว่า เวลาที่หายไปแตกต่างกันเพียงหนึ่งวินาทีอาจดูเหมือนเล็กน้อย แต่ในทางทฤษฎีแล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างมหาศาล

“โลกหมุนรอบตัวเองของเร็วขึ้นเกินกว่ามาตรฐานเวลาสากล ทำให้เข็มวินาทีติดลบ เป็นปรากฏกาณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงน่าเป็นห่วงที่เวลาของโลกมีความผันแปร ไม่คงที่”

ดันแคน แอกนิว (Duncan Agnew) นักธรณีฟิสิกส์ ให้ความเห็นทำนองเดียวกันว่า เพียงแค่วินาทีนั้นฟังดูไม่มากนัก แต่สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการตั้งค่าในระบบคอมพิวเตอร์ ในการทำกิจกรรม เช่น ธุรกรรมการเงินการลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องมีความแม่นยําสูง


เนื่องมาจาก ระบบคอมพิวเตอร์จํานวนมากมีซอฟต์แวร์ที่ทําให้สามารถบวกวินาทีได้ แต่มีเพียงไม่กี่ระบบที่มีความสามารถในการลบวินาที จึงต้องแก้ไขโดยการติดตั้งโปรแกรมใหม่เพื่อป้องกันความผิดพลาด

"ไม่มีใครคาดคิดจริงๆ ว่าโลกหมุนมาถึงจุดที่เราอาจจะต้องลบวินาที เนื่องจากน้ำแข็งละลายลงไปในทะเล น้ำละลายไหลจากขั้วไปสู่เส้นทิศทางที่เป็นแนวราบซึ่งทำให้ความเร็วในการหมุนของโลกลดลง นี่คือความจริงที่เกิดจากมนุษย์ ได้ทำให้การหมุนของโลกเปลี่ยนไป " แอกนิว กล่าว

เขาให้เหตูลความสำคัญของ การบอกเวลาแบบ UTC ที่แม่นยำ เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการนำทางด้วยดาวเทียม ซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม การค้าขาย และแม้กระทั่งการเดินทางในอวกาศ เมื่อการหมุนของโลกไม่สม่ำเสมอ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานคอมพิวเตอร์ของธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้นต้องมีความแม่นยำระดับความถี่หลักพันวินาที

สิ่งที่น่าห่วงคือ ระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มวินาทีได้ แต่มีน้อยมากที่จะสามารถลบวินาทีได้

นอกจากนี้ การที่เข็มวินาทีกกระโดดติดลบ จำเป็นต้องลบเวลาทิ้งภายในปี ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) ขึ้นอยู่กับผลกระทบภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบยาวไปถึงปี ค.ศ.2029 (พ.ศ. 2572)

 


น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็ว ต้นเหตุทำเวลาเพี้ยน

ผลการศึกษาพบว่าความล่าช้าของการก้าวกระโดดติดลบนั้น มาจากอัตราการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ส่งผลกระทบต่อแรงโน้มถ่วง จึงเกิดการลดความเร็วกษาระบุ

ตั้งแต่ปี 1972 (พ.ศ. 2515) ตามเวลานาฬิกาสากล UTC ได้บันทึกเวลากับการหมุนของโลก โดย หลังจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้นกว่า 30 ปีก่อนถึง 5 เท่า และนั่นหมายความว่า อาจไม่จำเป็นต้องมีการลบวินาทีทิ้งจนกว่าจะถึงปี 2029

ของแกนของเหลวของโลกได้ลดลงในอัตราคงที่ซึ่งทำให้ความเร็วเชิงมุมของส่วนที่เหลือของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง" ตามการศึกษา ปัจจุบัน UTC คำนวณโดยใช้ข้อมูลจากนาฬิกาอะตอมประมาณ 450 นาฬิกา ซึ่งได้รับการดูแลรักษาในสถาบันมากกว่า 80 แห่งทั่วโลก ตามข้อมูลของ ทาเวลลา

ในปี 2022 (พ.ศ. 2565) ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์และตัวแทนรัฐบาล นำเนอผ่านรัฐสมาชิกของ BIPM 59 ประเทศและฝ่ายอื่นๆ ในการประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งน้ำหนักและมาตรวัด ให้มีมติลบวินาทีกระโดดออกจาก UTC ภายในปี ค.ศ.2035 (พ.ศ.2578) ในการประชุม สำนักชั่งน้ำหนักและมาตรการระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures :BIPM) ในฝรั่งเศส

"ความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การหมุนของโลก" และการประเมินว่าจะต้องมีการประเมินวินาทีกระโดดเชิงลบก่อนปี 2578 หรือไม่

 

ที่มา: https://abcnews.go.com/International/melting-polar-ice-changing-earths-rotation-affecting-measure/story?id=108609137
https://edition.cnn.com/2024/03/27/climate/timekeeping-polar-ice-melt-earth-rotation/index.html