บราสเคม นำเทคนิคผลิตพลาสติกชีวภาพ ผนึกเอสซีจี ปักหมุดไทยขยายตลาดทั่วโลก

by ESGuniverse, 19 เมษายน 2567

การผนึกพลังข้ามทวีป ของยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ บราสเคม จากบราซิล จับคู่กับ เอสซีจี เคมีคอลส์ นำเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกจากเอทานอล หนึ่งเดียวของโลก โอกาสเกษตรไทย เป็นฐานการผลิตระดับโลก

พลาสติกชีวภาพ คือ ทางเลือกใหม่ของการลดการใช้ฟอสซิล ที่เป็นตัวการสำคัญของการก่อให้เกิดมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก เพิ่มอุณหภูมิให้โลกร้อนขึ้น ข้อมูลจากพลาสติกชีวภาพยุโรป คาดการณ์การผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 2.2 ล้านตันในปี 2022 (พ.ศ. 2565) เป็น 6.3 ล้านตันภายในปี 2027 ( พ.ศ.2570)

สมาคมสโมสรนักลงทุน จึงมองว่า ประเทศไทย ถือเป็นผู้ผลิตที่แข็งแกร่งด้านการผลิตพลาสติกชีวภาพรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ที่ยกระดับเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกได้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพราะไทยเป็นฐานการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด มันสําปะหลัง และอ้อย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จึงออกแบบสิทธิประโยชน์ทางภาษีสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี

 


บริษัท บราสเคม (Braskem) ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ ไบโอโพลีเอทิลีนจากอ้อย ซึ่งเป็นผู้นำและผู้ผลิตรายเดียวในโลก กระจายไปทั่วโลก อาทิ บราซิล เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ตั้งโรงงานในบราซิลมากว่า 14 ปี (ตั้งแต่ปี 2010-2024) กระจายสินค้าไปทั่วโลก


สำหรับเทคโนโลยีทางวิศวกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ ของบราสเคม มีการแปลงเอทานอลสู่เอทิลีน EverGreen ( The Ethanol-to-ethylene EverGreen technology) ที่มีกระบวนการคิดค้นโพลิเมอร์จากอ้อย ที่พัฒนาคุณสมบัติโพลิเมอร์ มีเส้นใย ยาง ชนิดเดียวกันกับฟอสซิล สามารถนำมาผลิตเม็ดพลาสติกประเภทไบโอ-โพลิเอทิลีน (bio-based polyethylene) สามารถพัฒนาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ได้โดยไม่ต้องปรับปรุง ถือเป็นการผลิตพลาสติกใหม่ โดยไม่ต้องถลุงขุดเจาะซากฟอสซิล

ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรเก่าขึ้นมาใช้เป็นการตอบโจทย์ความต้องการพลาสติกชีวภาพในเอเชียและตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมการใช้พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภคสายกรีน

ถือเป็นย่างก้าวสำคัญจุดเปลี่ยนผ่าน “สร้างตลาด” ทางเลือการ บริโภคพลาสติกจากพืช ทดแทนฟอสซิล ที่ปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาขยะ และมลพิษมหาศาล สาเหตุสำคัญทำให้โลกร้อน


จับคู่ปักหมุดพลาสติกชีวภาพ
รุกทำตลาดเอเชียเติบโต


นายวัลมีร์ โซลเลอร์ รองประธานบริหารฝ่ายโอเลฟิน โพลีโอเลฟินยุโรปและเอเชีย บริษัท บราสเคม เปิดเผยถึงแผนการร่วมทุนกับเอสซีจี เคมิคอลส์ (SCG Chemicals) ในการตั้งฐานการผลิตพลาสติก โพลีเอทิลีนจากพืช ซึ่งเป็นโรงงานนอกประเทศบราซิลแห่งแรก เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต ที่มาบตาพุด ภายใต้ชื่อ บราสเคม สยาม (Braskem Siam) โดยตั้งเป้าผลิตปริมาณ 200,000 ตันต่อปี


“เรามีความมั่นใจในศักยภาพทางวิศวกรรมด้านการผลิตพลาสติกชีวภาพ โพลิเอทิลีนจากอ้อย รายเดียวของโลก ซึ่งการร่วมทุนกับเอสซีจี เคมิคอลส์ นำไปสู่การขยายตลาดในเอเชีย โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อป้อนในประเทศและส่งออก ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษา วิศวกรรม และจะสรุปสิ้นปีนี้ มีการตัดสินใจวางแผนขั้นตอนสุดท้ายในต้นปี 2025”

 

3 ปรัชญาธุรกิจ บราสเคม-เอสซีจีฯ
บุกเบิก ไบโอพลาสติก


ปัจจัยหลักที่เลือกไทยเป็น 1. ฐานการผลิตมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวย และเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการขยายอุตสาหกรรมในเอเชีย และสามารถสนับสนุนตลาดโลกได้ ทั้งในประเทศไทย เอเชีย รวมไปถึงการขยายไปยังสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา


2. มีพันธมิตรการลงทุนที่แข็งแกร่ง อย่างเอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งความพร้อมทางด้านสินทรัพย์การลงทุนก่อตั้งโรงงาน และยังมีปรัชญาการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกัน จึงมองเป้าหมายร่วมกันที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Cirduclar Economy) สนับสนุนการรีไซเคิล ใช้วัตถุดิบหมุนเวียน ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Channge)


3. เมืองไทยยังมีฐานการผลิตอ้อย เป็นส่วนประเกอบ เช่นเดียวกันกับบราซิล ถือเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ มีเครือข่ายซัพพลายเชน สามารถส่งป้อนให้กับโรงงานผลิต ที่จะมีโอกาสทำให้ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตเอทานอล โดยพื้นฐานจากอ้อยด้วย และยังมีโอกาสขยายไปสู่พืชผลทางการเกษตรอื่นๆ นำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ อาทิ มันสำปะหลัง


“บราซิลกับไทยคล้ายกันตรงที่มีฐานการเพาะปลูกพืชเกษตร อ้อย ที่มีกระบวนการทางทางเคมี ทำให้เกิดพลาสติกชีวภาพ ไบโอโพลีเอทิลีน ส่วนประกอบสำคัญของพลาสติก หรือ โพลิเมอร์ จึงสามารถใช้หลักวิศวกรรม ในโมเดลเดียวกันมาตั้งฐานการผลิตในไทย”


ปักธงไทย หมุดหมายศูนย์กลางไบโอพลาสติกโลก


เขาเชื่อว่าตลาดกลุ่มพลาสติกชีวภาพ ไบโอโพลีเอทิลีนในไทย มีโอกาสเติบโตขึ้นอย่างมาก หากอ้างอิงถึงการเติบโตจากประเทศบราซิล จากที่เริ่มต้นผลิต 200,000 ตันต่อปี มีการขยายกำลังการผลิต เป็น 260,000 ตันต่อปี ในเวลา 14 ปี (ปี ค.ศ.2010-2024) ซึ่งปัจจุบันมีตลาดหลักอยู่ที่ ยุโรป สัดส่วนถึง 85% รองลงมาคือ บราซิล ญี่ปุ่น และเอเชีย ซึ่งในไม่ช้าจะเป็นตลาดที่มีการขยายตัวสูงมาก จึงเป็นเหตุผลที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด


“ประเทศไทยมีการบริโภคพลาสติกในปริมาณสูง จึงเป็นโอกาสในการผลิตป้อนให้กับประเทศไทยทดแทนพลาสติกจากฟอสซิล และยังส่งออกไปในเอเชีย ที่กำลังมีเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว” เขากล่าว


ในอนาคตพลาสติกชีวภาพกำลังเติบโต มีความต้องการขึ้นมา เพราะเป็นจุดสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อน ซึ่งในปัจจุบันราคาต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย พลาสติกจากฟอสซิล กับพลาสติกชีวภาพ ยังแตกต่างกันเล็กน้อย มีการขึ้นลงตามความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ และราคาน้ำมัน


โดยสิ่งสำคัญที่จะเป็นจิ๊กซอว์ ทำให้ตลาดพลาสติกชีวภาพเติบโตคือความต้องการเพิ่มขึ้น และราคาถูกลง ทำให้คนเข้าถึงมากขึ้น เพราะมีจุดแข็งในการที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนให้ติดลบ ขณะที่พลาสติกจากฟอสซิล จะเริ่มมีต้นทุนสูงขึ้น การผลิตที่ปล่อยคาร์บอนทำให้เกิดต้นทุน ต้องเสียภาษีการปล่อยคาร์บอนสูงขึ้น จากมาตรการต่างๆ เข้ามา ทำให้การแข่งขันของพลาสติกชีวภาพ จะเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคหันมาใช้พลาสติก จนทำให้ความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมีแบรนด์ภาคธุรกิจที่ลดการปล่อยคาร์บอน ชัดเจน


"เราผลิตพลาสติกที่ไม่เปรียบเทียบโพลิเมอร์ กับ ฟอสซิล เพราะในยุคต่อไป จะไม่ได้พูดถึงเพียงราคาในปัจจุบัน แต่จะมีปัจจัยการพิจารณาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้บริโภคและตลาดตัดสินใจมีรัฐบาลในหลายประเทศเริ่มจะตั้งกำแพงภาษีกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้พลาสติกฟอสซิลมีต้นทุนเพิ่มขึ้น จนในที่สุดพลาสติกชีวภาพจะแข่งขันได้ "

ทั้งนี้ Braskem ถือเป็นรายเดียวในโลก ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตเฉพาะ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งแตกต่างกับพลาติก โพลีเอทิลีน มีกรรมวิธีการผลิตมาจากฟอสซิลที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้ง บริษัทยังได้ขยายกำลังการผลิต ในกลุ่มผลิตพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ I m green ที่วัตถุดิบเป็นกลุ่มไบโอโพลีเอทิลีนออกมาเพิ่มขึ้น รองรับความต้องการของตลาด ทำให้ได้รับการยอมรับ

สำหรับความท้าทายในความร่วมมือครั้งนี้คือ มีความท้าทายตรงที่ต้นทุนการขนส่ง และกฎระเบียบ การส่งเสริมการลงทุนด้านพลาสติกชีวภาพในไทยต้องไม่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงคู่แข่งหน้าใหม่ที่จะเข้ามาในตลาดในระยะยาว ดังนั้นหากได้รับการสนับสนุนที่ดีจากพันธมิตร และหน่วยงานภาครัฐ คาดว่าอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในไทยมีโอกาสเติบโต

 

Tag :