อาหารฤทธิ์เย็น อาหารบำบัดเพื่อสุขภาพดี

by ThaiQuote, 5 พฤษภาคม 2561

ลักษณะอาหารฤทธิ์เย็น    คือ  อาหารที่มีรสจืด หรือหวานจากธรรมชาติไม่จัดจ้านเกินไป  มีเส้นใยอาหารสูง   ให้พลังงานต่ำ   นอกจากนี้ยังแบ่งตามลักษณะของพืช   เช่น  พืชที่อยู่สูง  ใกล้แสงแดด ด้วยพืชเหล่านี้จะสร้างความเย็นให้กับตัวเองเพื่อสู้กับความร้อน    เช่น  มะพร้าวอ่อน  หรือส่วนที่เป็นยอดของพืชจะมีฤทธิ์เย็นมากที่สุด  มีลักษณะเนื้อยุ่ย  หลวม  เรียว  บาง  ชุ่ม  สด  อ่อน     หากเป็นสีสันจะเป็นโทนสีอ่อน   สีขาว หรือเขียว   ส่วนสีเหลืองจะเป็นกลาง   หรือขึ้นอยู่กับลักษณะของอาหารที่เมื่อกินเข้าไปแล้วรู้สึกชุ่มคอ  ไม่ระคายเคือง  ถือว่ามีฤทธิ์เย็น กลุ่มอาหารฤทธิ์เย็น * กลุ่มคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่, เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง (เหลือง) เป็นต้น   อาหารกลุ่มนี้ให้พลังงาน ถ้ารับประทานมากเกินไป ก็จะทำให้ร้อน สำหรับน้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นจะรับประทานเพียงเล็กน้อย ในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ เท่านั้น เพราะร้อนน้อยที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรท แต่ถ้ารับประทานเป็นประจำ ร่างกายจะขาดไฟเบอร์และวิตามิน ดังนั้น ถ้าร่างกายเริ่มทุเลาอาการร้อนเกินลง และเริ่มมีความรู้สึกว่า รับประทานอาหารกลุ่มนี้แล้วไม่อยู่ท้อง (หิวบ่อย หิวง่าย) ให้ปรับมารับประทานข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องตามลำดับ   * กลุ่มโปรตีนฤทธิ์เย็น เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นต้น   * กลุ่มผักฤทธิ์เย็น เช่น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ตำลึง ก้านตรง หวานบ้าน หวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่างๆ มะละกอดิบ-ห่าม พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ว่านหางจรเข้ ว่านมหากาฬ มะรุม ทูน (ตูน) ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล็อคเคอรี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ผักกาดหอม (ผักสลัด) อีหล่ำ อีสึก (ขุนศึก) ย่านางเขียว-ขาว หมอน้อย ใบเตย รางจืด เหงือกปลาหมอ ลิ้นปี่ ผักแว่น ผักโหบเหบ มังกรหยก ผักติ้ว ดอกสลิด (ดอกขจร) มะเดื่อ มะอึก ดอกแค ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ก้างปลา ใบมะยม ปวยเล้ง ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ เป็นต้น สำหรับผักพาย ใบบัวบก และมะเขือพวง หรือพืชรสขมทุกชนิด เป็นร้อนดับร้อน ถ้าพืชรสขมชนิดนั้นๆ สามารถดับร้อนในตัวเราได้ ร่างกายก็เย็นลง แต่ถ้าดับร้อนไม่ได้ ร่างกายจะยิ่งร้อนมากขึ้น   สำหรับพืชรสฝาดและรสเปรี้ยว บางชนิดที่มีฤทธิ์เย็น ถ้ารับประทานมากไป ก็จะทำให้ร้อน และพืชที่มีรสฝาดก็ควรรับประทานคู่เปรี้ยว   สำหรับในกรณีที่อากาศร้อน หรือตอนเที่ยงวัน หรือตอนที่ร่างกายกำลังร้อนมาก ต้องระวังอาหารที่หวานจัด เปรี้ยวจัด มันจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เพราะจะทำให้ร้อนมากขึ้น อาหารดังกล่าว ถ้ารับประทานในปริมาณที่พอเหมาะในช่วงที่อากาศเย็น เช่น ตอนเช้า หรือในตอนที่ร่างกายเย็น ก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย * กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร กะท้อน ลูกหยี เชอรี่ สมอไทย ชมพู่ มะขวิด มะดัน มะละกอดิบ-ห่าม (มะละกอสุกจะร้อนเล็กน้อย) มะม่วงดิบ มะขามดิบ มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) หมากเม่า หมากผีผ่วน น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลูกท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ ลางสาด สตรอเบอรี่ ทับทิมขาว ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)   ส่วนการปรุงอาหารให้มีฤทธิ์เย็นนั้น ควรปรุงโดยเน้นการใช้ของสดฉ่ำน้ำ หรือปรุงผ่านไฟอ่อนถึงปานกลาง ใช้ระยะเวลาผ่านไฟสั้นแค่พอสุก (ระยะเวลานับจากน้ำเดือดประมาณ 5-15 นาที   คุณของอาหารฤทธิ์เย็น ร่างกายร้อน ปรับด้วยอาหารฤทธิ์เย็น อาการแสดงออกของร่างกายมีความร้อนมากเกินไป: มีความร้อนตามลำตัว มือ เท้า เหงื่อออกมาก เป็นแผลร้อนในที่ช่องปากด้านล่าง เจ็บปลายลิ้น เจ็บส้นเท้า มีเส้นเลือดขอด ท้องอืด ท้องผูก เป็นประจำ   อาหารฤทธิ์เย็น สามารถช่วยลดความร้อนและปรับสมดุลในร่างกายส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีรสจืด ถ้ามีรสหวานจะไม่หวานมากและเป็นความหวานจากธรรมชาติ เป็นอาหารที่มีเส้นใยสูงพลังงานต่ำ พืชผักผลไม้เช่น ยอดผักต่างๆ ผักสีอ่อนหรือเขียว เมื่อกินเข้าไปแล้วรู้สึกชุ่มคอ
Tag :