ราชกิจจานุเบกษา ประกาศโปรดเกล้าฯ ‘พ.ร.บ.ไซเบอร์’

by ThaiQuote, 28 พฤษภาคม 2562

ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พ.ศ. 2562 เน้นใช้อำนาจป้องกันภัยต่อระบบคอมพิวเตอร์รัฐ

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พ.ศ. 2562” ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 83 มาตรา เหตุผลและความจำเป็นในการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดยในมาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ ได้ระบุถึงความหมายเรื่องความมั่นคงทางระบบคอมพิวเตอร์ไว้อย่างชัดเจนว่า “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า มาตรการหรือการดาเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

พร้อมให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กมช. และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง คณะกรรมการ 13 คน โดยตำแหน่ง 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน

สำหรับขอบเขตอำนาจนั้น ถูกกำหนดในมาตรา 60 การพิจารณาเพื่อใช้อานาจในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ คณะกรรมการ จะกำหนดลักษณะของภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแบ่งออกเป็นสามระดับ ดังต่อไปนี้

1.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับไม่ร้ายแรง หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความเสี่ยง อย่างมีนัยสาคัญถึงระดับที่ทาให้ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสาคัญของประเทศ หรือการให้บริการของรัฐด้อยประสิทธิภาพลง

2.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง หมายถึง ภัยคุกคามที่มีลักษณะการเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญของการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งหมาย เพื่อโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศและการโจมตีดังกล่าวมีผลทาให้ระบบคอมพิวเตอร์หรือโครงสร้างสำคัญทางสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ

ความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสียหาย จนไม่สามารถทางานหรือให้บริการได้

3.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นกว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง โดยส่งผลกระทบรุนแรง ต่อโครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางสารสนเทศของประเทศในลักษณะที่เป็นวงกว้าง จนทาให้การทางานของหน่วยงานรัฐหรือการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสาคัญของประเทศที่ให้กับประชาชนล้มเหลวทั้งระบบ จนรัฐไม่สามารถควบคุมการทางานส่วนกลางของระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐได้ หรือการใช้มาตรการเยียวยา ตามปกติในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งอาจมีผลทาให้บุคคลจานวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จานวนมากถูกทาลายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ

(ข) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทาให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทาความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจาเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขตผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง

ทั้งนี้ รายละเอียดของลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรการป้องกัน รับมือ ประเมินปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์แต่ละระดับ ให้คณะกรรมการเป็นผู้ประกาศกำหนด

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศโปรดเกล้าฯ ‘พ.ร.บ.ไซเบอร์’

 

อ่านรายละเอียด
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
เคลียร์ให้ชัดเจน “กฎหมายไซเบอร์” เข้าถึงข้อมูลประชาชนไม่ได้