วันนี้ของ 'ห้วยขาแข้ง' ยั่งยืน'สืบ'นาน

by ThaiQuote, 7 กันยายน 2562

ดูความเปลี่ยนแปลงป่าห้วยขาแข้ง บริหารจัดการอย่างมีระบบ ประชากรเสือเพิ่มขึ้น สู่ความหวังการรักษาที่ยั่งยืน

โดย วรกร เข็มทองวงศ์

นับจากวันที่1ก.ย.ที่ผ่านมา กาลเวลาล่วงไป29ปี ในการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ที่ได้แลกชีวิตรักษาป่าผืนนี้ จากป่าสัมปทาน สู่ การอนุรักษ์ที่ยั่งยืน และมั่นคงในการเป็นอยู่ของสัตว์ป่า ที่สืบ เป็นตัวแทนในการพูด

 

มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้จัดงานรำลึก29ปี และสิ่งหนึ่งที่ได้มีการพูดคุยกันในเวทีที่เริ่มต้นในวันแรก คือความเป็นไปของป่าห้วยขาแข้งในวันนี้ จากวันที่ประกาศคุ้มครองผืนป่ามี1ล้านไร่ และขยับขึ้นในปี2539เป็น 1,700,000ไร่

ที่สำคัญจุดกำเนิดของการเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของป่าแห่งนี้คือ ควายป่า จับใจความการสนทนาบนเวทีได้ว่า หากไม่มีการพยควายป่าเหล่านี้ ป่าแห่งนี้ก็อาจจะสูญหายไปแล้ว และการที่มีควายป่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ยูเนสโก เลือกที่จะมอบความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติให้ห้วยขาแข้ง และเป็นสิ่งที่ สืบ ในสมัยยังเป็นนักวิชาการที่พยายามคัดค้านการทำสัมปทานป่าไม้ในโซนใต้ของห้วยขาแข้ง ที่ควายป่าอยู่ และสามารถยุติธุรกิจหากินกับไม้ได้สำเร็จในปี2532

อย่างไรก็ดี ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20. ปีนั้น มีการระบุแผนการปฏิบัติงานสำหรับการอนุรักษ์ป่าห้วยขาแข้งบรรจุไว้ รวมทั้งการดูแลป่าทั่วประเทศ โดยมีห้วยขาแข้งเป็นต้นแบบ ปรับแผนการเดินลาดตระเวนใหม่ มีการใช้ทั้งเฮริคอปเตอร์ โดรน ร่วมในการสำรวจดูแล อีกทั้งมีการติดตั้งกล้องสอดส่อง เพื่อดูวิถีชีวิตของสัตว์ป่า รวมทั้งมีประโยชน์ในการนับจำนวนประชากร

 

และเรียกได้ว่างานอนุรักษ์นั้นจากนี้ โดยเฉพาะธรรมชาติที่ระบุในยุทธศาสตร์นั้น มีกฎหมายรองรับ มีการเฝ้าระวังติดตาม หากไม่ทำตาม ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย จึงเป็นเสมือนหลักประกันในป่าแห่งนี้

การบริหารจัดการพื้นที่ มีการสร้างรั้วกั้นพื้นที่ด้านตะวันออกของห้วยขาแข้ง เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามา อีกทั้งยังกันพื้นที่ ที่กลายเป็นเสมือนกันชน พัฒนาให้เป็นแหล่งการเกษตรสำหรับชุมชนโดยรอบ เพื่อให้เป็นพื้นที่ทำกินลดการบุกรุกป่า

นอกจากนี้มีการสร้างเครือข่าย โดยผู้นำชุมชนมีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ อีกทั้งมีการศึกษาเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์ป่า รวมทั้งการเพาะเลี้ยง การติดตามการผสมพีนธุ์ระหว่างควายป่ากับควายบ้าน เพื่อรักษาสายพันธุ์

และในเวทีเสวนา “ห้วยขาแข้งแหล่งสวรรค์สัตว์ป่า" ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า ได้บอกเล่าถึงงานในการอนุรักษ์เสือของเขาว่า สถิติการเก็บข้อมูลประชากรเสือโคร่งตั้งแต่ปี ปี 2007 - 2019 เริ่มต้นเก็บข้อมูลเพียง 46 ตัว ปัจจุบัน 77 ตัว ทำให้เห็นว่า จำนวนเสือโคร่งห้วยขาแข้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปัญหาเรื่องพื้นที่ในอาณาขตของเสือแต่ละตัวไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด แต่อยู่ที่ปริมาณเหยื่อในการดำรงชีวิต สะท้อนภาพใหญ่ในองค์รวมว่า การจัดการและบริหารพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง มีประสิทธิภาพอย่างมาก รวมทั้งการดำรงชีวิตทั้งกระทิงและวัวแดง ที่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่

 

รวมทั้งนกยูง จากสัตว์ที่เรียกได้ว่า หาไม่เจอที่นี่ เมื่อมีการอนุรักษ์และบริหารจัดการพื้นที่ ปัจจุบันมีการพบนกยูงได้ง่ายกว่าไก่ป่า และมีจำนวนมากขึ้น

ทั้งหมดทั้งมวล จึงกลายเป็นความหวังที่ไม่ใช่เพียงประเทศไทย แต่จากการดูแลรักษ์ป่สห้วยขาแข้ง ในอนาคตจะกลายเป็นความ

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

นโยบายชิงเด่น จุดอันตรายของ “รัฐบาล”