5 โรคระบาดสุดโหด ที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก

by ThaiQuote, 31 มกราคม 2563

การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนา ที่มีจุดกำเนิดและแพร่กระจายในเมือง อู่ฮั่นประเทศจีน กำลังเป็นที่วิตกกังวลของคนทั่วโลก ล่าสุด องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น “ความฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ทั้งนี้เพราะ WHO เกรงว่าจะมีการระบาดไปในประเทศที่มีระบบป้องกันด้านสาธารณสุขไม่ดีพอ จะทำให้ยากต่อการรับมือ

ขณะนี้ ทุกหน่วยงานทั้งจีนเองและ ทั่วโลกกำลังค้นคว้าเพื่อหายาป้องกันโรคร้ายที่เกิดจากเชื้อไวรัศ โคโรนากันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะสำเร็จออกมาเพื่อคลายความกังให้กับทั่วโลกได้

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคในอดีต มีเกิดขึ้นมาหลายครั้ง และ ทำให้เกิดความเสียหายทำให้ประชากรโลกล้มตายไปหลายล้านคน และนี้คือเหตุการณ์ โรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุด 5 อันดับตั้งแต่อดีต ที่น่าสนใจ

อันดับที่ 1 กาฬโรค มฤตยูดำ (Black Death)

กาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้

กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic ) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก

คาดว่า ในช่วง 4 ปี ตั้งแต่ ปี 1347-1351ที่มีการแพร่ระบาด ทำให้ประชากร 2 ใน 3 ของทวีปยุโรปเสียชีวิต และการแพร่ระบาดได้เกิดขึ้นซ้ำอีกหลายครั้งในเกือบทุกๆ 10 ปี โดยประมาณการว่ามีประชากรโลกเสียชีวิตเพราะโรคนี้สูงถึง 100 ล้านคนในช่วงระยะเวลาการระบาด 200 ปี

อันดับที่ 2 ไข้หวัดใหญ่สเปน (Influenza Pandemic)

มีการระบาดในช่วงปี คศ.1918-1920 ในระยะเวลาที่โรคร้ายนี้ ได้แพร่กระจายทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และได้ คร่าชีวิตผู้คนไปราว 40 ล้านคน มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีผู้ได้รับผลกระทบ 500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งรวมหมู่เกาะแปซิฟิกห่างไกลและอาร์กติก ทำให้เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

อันดับที่ 3 เอดส์ (Aids)

เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สมมติฐานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ คาดว่าโรคเอดส์เริ่มแพร่จากทวีปอัฟริกาไปสู่หมู่เกาะไฮติ จากไฮติเข้าสู่ทวีปอเมริกาและไปทวีปยุโรปตามลำดับ และจากทวีปอเมริกาและยุโรปเข้าสู่ทวีปเอเชียและออสเตรเลีย

โดยการศึกษาวิจัยทางพันธุศาสตร์ชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกากลางตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคเอดส์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ใน ค.ศ. 1981 ส่วนสาเหตุของโรคและเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นค้นพบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980

ทั้งนี้มีรายงานว่า ภายใน 25 ปีของการแพร่ระบาด คร่าชีวิตผู้คนราว 25 ล้านคน

4 อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า

อหิวาตกโรค คือ โรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้

ในปี 2363 เกิดโรคระบาดอหิวาตกโรค หรือ โรคห่า ซึ่งระบาดมายังอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 จากการระบาดรุนแรงของอหิวาตกโรคนั้นมีการบันทึกไว้ว่า ในปี 2363 มีการระบาดจากอินเดียเข้ามาไทยผ่านทางปีนัง ทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเผาศพไม่ทัน กองอยู่ในวัด ถนนหนทางเกลื่อนกลาดเต็มไปด้วยซากศพ ประชาชนอพยพหนีออกจากเมืองด้วยความหวาดกลัว การระบาดครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตในกรุงเทพฯและหัวเมืองใกล้เคียงประมาณ 30,000 คน และทั่วโลกประมาณ 100,000 คน

5 วัณโรค

วัณโรค หรือ MTB หรือ TB เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50%

คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน พ.ศ. 2550 มีการประเมินว่ามีกรณีมีฤทธิ์เรื้อรัง 13.7 ล้านคน และใน พ.ศ. 2553 มีกรณีใหม่ 8.8 ล้านกรณี และผู้เสียชีวิต 1.45 ล้านคน ส่วนมากในประเทศกำลังพัฒนา จำนวนสัมบูรณ์ผู้ป่วยวัณโรคลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และกรณีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 นอกเหนือจากนี้ คนในประเทศกำลังพัฒนาติดต่อวัณโรคมากกว่า เพราะระบบภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มเป็นอันตรายมากกว่าเนื่องจากอัตราโรคเอดส์ที่สูงกว่า การกระจายของวัณโรคไม่ได้เป็นแบบแผนทั่วโลก

แหล่งข้อมูล นิตยสาร Time Special ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม 2010 และ https://th.wikipedia.org/

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

“จุรินทร์”ยันหน้ากากอนามัยมีเพียงพอ พบขาดแคลน-เกินราคา แจ้ง 1569