สื่อนอกงง! ตีข่าว ไทยห้าม “โพสต์รูปเหล้า-เบียร์” ใครฝ่าฝืน เจอจับ-ปรับหนัก

by ThaiQuote, 26 มิถุนายน 2563

ประเทศเรามี! สื่อสหรัฐฯตีข่าว เรื่องต้องห้ามในไทย ใคร “โพสต์รูปเหล้า-เบียร์” เจอจับ-ปรับหนัก ชี้!เป็นเรื่องสากลคนทั่วโลกทำกัน ชวนเพื่อนมาร่วมดื่ม

 

วันนี้ (26 มิ.ย.63) สำนักข่าว Public Radio International ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีวิทยุในสหรัฐอเมริกา เผยแพร่บทความ “In Thailand, posting a selfie with a beer is a potential crime” ว่าด้วยเรื่องแปลก ๆ ในประเทศไทย ที่มีกฎหมายห้ามถ่ายรูปคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่ผ่านมา มีประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย ถูกเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหามาแล้วหลายราย โดยผู้กระทำผิดครั้งแรกอาจถูกปรับเงิน 1,600 เหรียญสหรัฐ แต่หากกระทำผิดซ้ำอาจถูกปรับสูงขึ้น 15,000 เหรียญสหรัฐ หรืออาจถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี

เจ้าของบาร์ในกรุงเทพฯ รายหนึ่ง เล่าว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่ถูกเรียกไปชี้แจง โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าตนใช้สื่อออนไลน์เพื่อชักชวนให้คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งว่าเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ ตนเป็นเจ้าของบาร์ 2 แห่งและผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การชักชวนให้ดื่มจึงเป็นการทำงาน โดยมีการพูดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม แต่เจ้าหน้าที่กลับมองว่าตนใช้คำว่า “มีชื่อเสียง” เท่ากับเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ

 

 

ทั้งนี้ ในเมืองไทย การพูดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อออนไลน์ถือว่ามีความเสี่ยง และการถ่ายรูปกับภาชนะที่มีตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถทำได้ ทั้งที่เป็นเรื่องสากลที่คนทั่วโลกทำกันเป็นปกติในการชวนเพื่อนฝูงมาร่วมดื่ม ไม่ใช่การค้ายาเสพติดดังนั้นจึงไม่ควรผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ นอกเหนือจากการปิดสถานที่ต่างๆ แล้ว สิ่งที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เพิ่มเติมคือการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับแอฟริกาใต้ อินเดีย และบางพื้นที่ของกรีนแลนด์

โดยประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทยถูกใช้ตลอด 3 สัปดาห์ของเดือน เม.ย. 2563 แต่บรรดานักอนุรักษ์นิยมพยายามเรียกร้องให้ประกาศห้ามมากกว่า 50 วันขึ้นไป ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีบางองค์กรที่ได้รับงบประมาณจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการผลิตสื่อสร้างกระแสให้ผู้คนเห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งผิด เช่น โฆษณาบางชิ้นอิงความเชื่อตามหลักศาสนาพุทธ

 

 

ผู้นำเข้าคราฟต์เบียร์รายหนึ่ง เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ เล่าว่า ตนเป็นผู้นำเข้าคราฟต์เบียร์ และถูกแจ้งข้อหาเพราะใช้คำว่า “สดชื่น” ซึ่งก็เป็นคำถามได้ว่า หากตนในฐานะผู้นำเข้าไม่สามารถบรรยายผลิตภัณฑ์ได้ แล้วจะสามารถพูดอะไรได้อีก ตนมองว่า ผู้คนควรมีเสรีภาพในการพูดถึงในสิ่งที่แต่ละคนชอบ แต่เหตุใดกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงเป็นเรื่องต้องห้าม

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้มีเป้าหมายจัดการกับทุกคน แต่เน้นไปที่บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมที่อาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบเจ้าหน้าที่ไปแจ้งข้อหาบุคคลทั่วไปที่ถ่ายรูปคู่กับขวดเบียร์ ซึ่งพวกเขาไม่เข้าใจว่าประเทศไทยโดดเด่นด้านการท่องเที่ยว อย่างน้อยก็ในช่วงก่อนไวรัสโควิด-19 ระบาด นักท่องเที่ยวหลายคนอาจทำเช่นนั้นโดยลืมไปว่าทำผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ Niks กล่าวทิ้งท้ายว่า วันนี้ คกก.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้นไม่ว่าใครก็อาจถูกเรียกปรับได้ทุกคน

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

สนมั้ยฮะ! แฟนหงส์ร่วม 2,000 คน แห่รวมตัวฉลองแชมป์ ไม่หวั่นโควิด-19

“คิวรถตู้” โพสต์ภาพสะเทือนใจ โดนยึดรถ เหตุพิษโควิด-19 ทำนักท่องเที่ยวหายเกลี้ยง