ยูเอ็น ปลดล็อก กัญชา หวังกระตุ้นให้เกิดการใช้ทางการแพทย์มากขึ้น

by ThaiQuote, 4 ธันวาคม 2563

เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.63 ที่ผ่านมา รายางนข่าวจาก สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่า คณะกรรมาธิการด้านยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 53 ประเทศเข้าร่วม ได้ลงมติให้ถอดถอนกัญชา ออกจากบัญชียาเสพติดร้ายแรง (Schedule IV) ตามอนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติด ปี ค.ศ. 1961 (1961 Single Convention on Narcotic Drugs) หรือปี 2504 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยผลโหวตของคณะกรรมการเห็นชอบ 27 เสียง ไม่เห็นชอบ 25 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง

ทั้งนี้มติดังกล่าว ทำให้กัญชาและยางกัญชา ไม่ได้รับการจัดประเภทให้เป็นยาเสพติดที่อันตรายที่สุดอีกต่อไปและได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่จะยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในหมวดหมู่ รายการยาเสพติดที่ 1 (Schedule I) ของสนธิสัญญายาเสพติดปี 1961 ต่อไป

สำหรับสาเหตุที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ถอด กัญชา และยางกัญชา ออกจากบัญชียาเสพติดรายการที่ 4 (Schedule IV) นั้น เนื่องจากผลการศึกษกัญชา ที่พบว่ามีประโยชน์ทางกรแพทย์ แต่ตกต่างจากยาเสพติดที่อยู่ในลิสต์รายการที่ 4 หรือยาเสพติดอันตรายที่ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์ อย่าง เฮโรอีน โคเคน และฝิ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังได้เสนอให้เพิ่มสาร THC และ ไอโซเมอร์ของสาร THC ในรายการยาเสพติดรายการที่ 1 ในสนธิสัญญายาเสพติดปี 1961 ด้วย และให้ลบ THC ออกจากรายการยาเสพติดตามสนธิสัญญายาเสพติดปี 1971 ส่วนสารสกัดจากกัญชาและผลิตภัณฑ์จากสารสกัด องค์การอนามัยโลกเสนอ ให้ลบออกจากรายการยาเสพติดรายการที่ 1 ของสนธิสัญญาปี 1961 และให้เพิ่มยาที่มีส่วนผสมของสาร THC อยู่ในรายการที่ 3 ของสนธิสัญญายาเสพติดปี 1961

ขณะที่สาร CBD หรือ ผลิตภัณฑ์ CBD ที่มีสาร THC ปนมาไม่เกิน 0.2% นั้น ได้มีการเสนอให้ไม่อยู่ภายใต้สนธิสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศ จากที่ก่อนหน้านี้อง์การอนามัยได้ออกมายืนยันว่า สาร CBD นั้นปลอดภัย

ดังนั้นการที่ยูเอ็น ได้ถอดเอากัญชา ออกจากสารเสพติดดังกล่าว จะเป็นการเปิดทางให้เกิดการวิจัยกัญชาในทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกังวลกับการละเมิดกรอบบัญชียาเสพติดรุนแรง และกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งงจะทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การผลิต และจำหน่ายยาจากกัญชาเติบโตได้อย่างรวดเร็ว.

ขณะที่ก็ยังมีบางประเทศสมาชิก ยูเอ็น ที่ยังมองว่า กัญชา มีโทษมากกว่าประโยชน์ อย่าง ชิลี ซึ่งได้โต้แย้งมติดังกล่าว ว่า การใช้กัญชานั้นมีความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้า และอาการทางจิตอื่นๆได้มากกว่าปกติ เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น ที่ยังคงมีความกังวลให้คงสถานะของการกัญชาไว้เพื่อใช้ทางการแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพและสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน

อย่างไรก็เส้นทางของการใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการนั้น ยังอยู่อีกยาวไกล แม้ว่าปัจจุบันจะมีมากกว่า 50 ประเทศที่นำโปรแกรมกัญชามาใช้ แต่มีเพียงประเทศแคนาดา อุรุกวัย และ 15 รัฐของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการการพักผ่อนหย่อนใจได้ โดยมี เม็กซิโก และลักเซมเบิร์ก ที่กำลังพิจารณาการใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศในอนาคตอันใกล้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง