จราจรหนาแน่นวันทำงาน ทำเกิดฝุ่น PM2.5 ทั่วกรุง สธ.สั่งหน่วยงานดูแลประชาชน

by ThaiQuote, 14 ธันวาคม 2563

เมืองกรุงเจอฝุ่นพิษ PM2.5 พบเกินค่ามาตรฐาน 56 เขต กทม.เผยเหตุคนกลับมาทำงานหลังวันหยุดยาว ด้าน สธ. สั่งหน่วยงานเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชน

วันนี้ (14 ธ.ค.63) นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแนวโน้มค่าฝุ่นละออง PM2.5 สูงขึ้น เนื่องจากการเดินทางสัญจรของประชาชน ภายหลังกลับจากการท่องเที่ยวในวันหยุดยาว ทำให้ปริมาณการจราจรหนาแน่นและติดขัด

โดยศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 14 ม.ค.63 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 40-81 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน 50 มคก./ลบ.ม. อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ จำนวน 56 พื้นที่ คือ

1. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด 81 มคก./ลบ.ม. 2. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน 78 มคก./ลบ.ม. 3. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย 78 มคก./ลบ.ม. 4. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร 77 มคก./ลบ.ม. 5. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต 76 มคก./ลบ.ม. 6. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ 75 มคก./ลบ.ม. 7. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน 74 มคก./ลบ.ม.

8. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม 73 มคก./ลบ.ม. 9. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง 71 มคก./ลบ.ม. 10. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน 70 มคก./ลบ.ม. 11. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา 70มคก./ลบ.ม. 12. เขตทวีวัฒนา บริเวณทางเข้าสนามหลวง 2 69 มคก./ลบ.ม.13. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) 69 มคก./ลบ.ม.

14. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 69 มคก./ลบ.ม. 15. เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน 68 มคก./ลบ.ม. 16. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง 68 มคก./ลบ.ม. 17. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม. 18. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย 67 มคก./ลบ.ม.

19. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 67 มคก./ลบ.ม. 20. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ 67 มคก./ลบ.ม. 21. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 66 มคก./ลบ.ม. 22. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน 66 มคก./ลบ.ม.

23. เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ 66 มคก./ลบ.ม. 24. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) 65 มคก./ลบ.ม. 25. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ 64 มคก./ลบ.ม. 26. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ 63 มคก./ลบ.ม.

27. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี 63 มคก./ลบ.ม. 28. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา 62 มคก./ลบ.ม. 29. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ 62 มคก./ลบ.ม. 30. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 62 มคก./ลบ.ม. 31. สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม. 32. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 61 มคก./ลบ.ม. 33. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ 61 มคก./ลบ.ม.

34. เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา 61 มคก./ลบ.ม. 35. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม 60 มคก./ลบ.ม. 36. เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง 60 มคก./ลบ.ม. 37. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค 59 มคก./ลบ.ม. 38. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต 59 มคก./ลบ.ม.

39. เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว 59 มคก./ลบ.ม. 40. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า 58 มคก./ลบ.ม. 41. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี 58 มคก./ลบ.ม. 42. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง 57 มคก./ลบ.ม. 43. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา 57 มคก./ลบ.ม.

44. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด 57 มคก./ลบ.ม. 45. เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ 57 มคก./ลบ.ม. 46. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ 56 มคก./ลบ.ม. 47. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม 55 มคก./ลบ.ม.

48. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ 55 มคก./ลบ.ม. 49. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก 54 มคก./ลบ.ม. 50. เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants 54 มคก./ลบ.ม. 51. เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง 53 มคก./ลบ.ม.52. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 52 มคก./ลบ.ม.

53. เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง 52 มคก./ลบ.ม. 54. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 51 มคก./ลบ.ม. 55. สวนจตุจักร เขตจตุจักร 51 มคก./ลบ.ม. 56 .สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 51 มคก./ลบ.ม.

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกรณีที่หลายพื้นที่ของ กทม. และบางจังหวัด มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อาจกระทบสุขภาพของประชาชนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
ทั้งนี้ขอให้ประชาชน หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรลดหรือจำกัดการทำ หากมีความจำเป็นต้องออกมาภายนอก ต้องสวมหน้ากากด้วย ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 และลดผลกระทบจากฝุ่นละออง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หากมีอาการเคืองตา ตาแดง คันหนังตา มีผื่นแดง ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือสำหรับล้างตา สังเกตอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ รวมทั้งควรตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาด ไม่ขยี้ตา หรือเกาหนังตาเพราะจะทำให้เป็นแผล เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้

ขณะเดียวกัน ได้มีข้อสั่งการ ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เตรียมการดูแลผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก 7 ข้อ ดังนี้ 1.เฝ้าระวังแจ้งเตือนสถานการณ์ สื่อสารข้อมูลผลกระทบและการปฏิบัติตนแก่ประชาชน
2.สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงจากฝุ่น PM 2.5
3.เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขในทุกระดับ ติดตามสถานการณ์และยกระดับการปฏิบัติการ
4.เฝ้าระวังการเจ็บป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบผิวหนัง และระบบตา
5.รายงานสถานการณ์ทุกสัปดาห์ตลอดช่วงเวลาเฝ้าระวัง กรณีสถานการณ์วิกฤต (สีแดง) ให้รายงานทุกวัน
6.จัดทำหน่วยงานสาธารณสุขต้นแบบองค์กรลดฝุ่นละออง
และ 7.บูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน 2 วันติด คพ.เตือนเฝ้าระวังพื้นที่กรุงธนเหนือ นนทบุรี