"น้ำท่วม แผ่นดินแล้ง อากาศแปรปรวน เพราะมนุษย์เผาผลาญพลังงานฟอสซิลเพื่อสร้างอารยธรรม ถึงเวลาโลกเอาคืน"

by วันทนา อรรถสถาวร , 13 สิงหาคม 2565

ในระยะหลังเราจะเห็นมหันตภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้น รุนแรงขึ้น และถี่ขึ้น ทั้งหมดนี้มาจากปัญหาโลกร้อน

 

Thaiquote จึงอยากเชิญชวนท่านผู้อ่านได้มาสัมผัสกับบทสัมภาษณ์พิเศษ คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พูดถึงวิกฤตการณ์ดังกล่าวที่โลกกำลังเผชิญอยู่

 


คุณเกียรติชายเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการกล่าวถึงปัญหาภาพรวมของโลกร้อน โดยกล่าวว่า “โลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบฉันพลันทันด่วน แปรปรวน และหนักหน่วงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความถี่ที่มากขึ้นอีกด้วย ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาทั่วโลกเผชิญภัยพิบัติใหญ่ถึงขึ้นรุนแรงและวิกฤตมากกว่า 2 ครั้ง และต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ สิ่งสำคัญไปกว่านั้น ภัยพิบัตินี้แต่ละแห่งสุดขั้วกันเลยทีเดียว บางที่ฝนตกมากชนิดไม่เคยมีมาก่อน แต่อีกฝั่งหนึ่งก็ร้อนเผชิญภัยแล้งอย่างไม่เคยมีมาก่อนเช่นกันและเกิดไฟไหม้ป่ามากขึ้น”

คุณเกียติชายขยายความของโลกร้อนว่า เป็นความไม่สมดุลตามธรรมชาติ ซึ่งนี่ไม่ใช่มลพิษ ที่เกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ และส่งผลกระทบเฉพาะอาณาบริเวณนั้นเท่านั้น ส่วนสาเหตุหลักมาจากโลกร้อนขึ้น ทำให้ขั้วโลก โดยเฉพาะที่ขั้วโลกเหนือ แถบฟีนแลนด์ หรือไอซ์แลนด์น้ำละลายมาก เมื่อน้ำแข็งละลายมากส่งผลให้ปริมาณน้ำในทะเลสูงขึ้น แผ่นดินที่ต่ำกว่าระดับทะเล หรือสูงกว่าไม่มากเกิดความเสี่ยง

 

 

นอกจากนี้น้ำที่มีปริมาณมากส่งผลต่อการระเหิดขึ้นสู่ท้องฟ้าและนำฝนไปตกยังอีกพื้นที่หนึ่ง ประเทศที่ก่อมลพิษมากฝนจะตกไม่มาก แต่กลุ่มฝนจะลอยไปสู่ประเทศที่ก่อมลพิษน้อย แต่ได้รับผลกระทบมาก ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ปล่อยไม่มาก แต่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนตกลงมาสะสมในผืนดินมาก ส่วนไอน้ำอยู่บนชั้นบรรยากาศมาก ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซ้ำเติมเพิ่มความร้อนให้กับโลก และยังทำให้ฤดูต่าง ๆ เกิดความแปรปรวนไปทั่วโลกอีกด้วย

คุณเกียรติชายกล่าวว่า “ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา การใช้พลังงงานฟอสซิล การอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า การเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี ตลอดจนการปสุสัตว์ ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นโดยเฉลี่ยนประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส” พร้อมกับเล่าต่อไปว่า

 

 

ใน 1-2 ปีมานี้มนุษย์เราเริ่มเห็นภัยพิบัติเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องน่ากลัว ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเปลี่ยน ของจริงยังไม่มา หากยังคงวิกฤตอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เราอาจไม่มีแผ่นดินจะอยู่ อาจต้องเกิดการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ นอกจากนี้พืชพันธุ์ ที่ปลูกก็เพี้ยน การออกดอกออกผลไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชและสิ่งมีชีวิตบางชนิดเกิดปรับตัวไม่ได้ก็อาจสูญพันธุ์ได้ ภาวะในลักษณะนี้น้ำเพื่อการบริโภคเริ่มหายากมากขึ้น

ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พูดถึงสาเหตุของภาวะเรือนกระจก โดยกล่าวว่า “ภาวะเรือนกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิบัติของโลก ซึ่งยิ่งมากยิ่งกระทบมาก ส่วนแหล่งที่มาของเรือนกระจกเกิดจากหลายปัจจัย”

ปัจจัยแรกเกิดจากการเผาป่าและการตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ การตัดไม้จนปริมาณพื้นที่สีเขียวลดส่งผลต่อการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง (ต้นไม้กินคาร์บอนไดออกไซต์เพื่อการสังเคราะห์อาหาร) ยิ่งการเผาฟอสซิลเพื่อไปใช้เป็นพลังงานยิ่งทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากขึ้น แล้วลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศเกิดเป็นเรือนกระจกคลุมโลกไว้ ปัจจุบันนี้พวกเรามีการเผาผลาญคาร์บอนเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานในแต่ละวัน 2,400 กิกกะตัน/วัน ทำให้สหประชาชาติมีการรวมตัวและรณรงค์ให้มีการลดปริมาณการใช้คาร์บอนให้เหลือเป็นศูนย์

สาเหตุที่ 2 เกิดจากการทำการเกษตร จะมีการปล่อยแก๊สมีเทนออกสู่ชั้นบรรยากาศ

ส่วนสาเหตุที่ 3 คือการสร้างเมือง ทำให้เกิดการผลิตปูนซีเมนต์เป็นจำนวนมาก กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งต้องไปเผาหินปูน มีการปล่อยอ๊อกไซต์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก

 

คุณเกียรติชายกล่าวว่า “ในระยะนี้มนุษย์เริ่มมีการตระหนักรู้ถึงมหันตภัยที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่สมดุล จึงหันมารณรงค์การใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดมากขึ้น และจริงจังขึ้น”

ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ภาวะเรือนกระจกส่งผลต่อโลกร้อนมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ มีการออกดอกออกผลที่ผิดแผกแตกต่างไปจากอดีต บางชนิดไม่ออกผลผลิตเลย บางชนิดออกน้อยกว่าแต่ก่อน มีผลต่อเศรษฐกิจ น้ำท่วมใหญ่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนต่าง ๆ สภาพภูมิประเทศทางกายภาพเปลี่ยน น้ำท่วม คนไม่อยากท่องเที่ยว เกิดโรคภัยไข้เจ็บใหม่ ๆ มากขึ้น

 

 

“จากปัญหาเรื่องภัยพิบัติจากโลกร้อนแล้วทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงนั้น จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทั่วโลกลดปัจจัยที่ทำให้โลกร้อน ปรับพฤติกรรม มีการบวนการกำจัดขยะที่ไม่เผา ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกต้นไม้ให้มาก สร้างโลกให้มีสัดส่วนสีเขียวให้มากขึ้น และต้องใช้เวลาอย่างยาวนานที่จะฟื้นคืนโลกกลับมา แต่เป็นเรื่องจำเป็นและปฏิเสธไม่ได้ แต่อีกทางหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตบนโลก โดยเฉพาะมนุษย์จะตั้งรับกับปัญหาได้คือการปรับตัว ออกแบบเมืองใหม่ให้มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ การออกแบบบ้านไม่ให้ร้อนจัด การใช้พลังงานโซล่าร์เซล ซึ่งต้นทุนใมนการปรับตัวนี้นใช้งบประมาณมาก ดังนั้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้เรียกร้องไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ต้องระดมทุนออกมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวให้กับประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องการเงินทุนสนับสนุน” คุณเกียรติชายกล่าวก่อนจบบทสนทนา

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ:

นักวิจัยค้นพบวิธีทำนายภาวะแห้งแล้ง เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้น ด้วยการทำนายจากพืช
https://www.thaiquote.org/content/247824

ชุดตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยเทคนิค ELISA ใช้งานง่าย รวดเร็ว แม่นยำ และราคาถูกกว่าจากต่างประเทศ
https://www.thaiquote.org/content/247826

คุณควรกิน “ดาร์กช็อกโกแลต” มากแค่ไหนเพื่อให้อายุยืนยาวขึ้น?
https://www.thaiquote.org/content/247825