แพทย์ห่วงใย “ความปลอดภัยในการทำงาน”

by ThaiQuote, 16 พฤษภาคม 2566

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ มีความห่วงใยผู้ใช้แรงงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายสาเหตุจากการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมหรือทำงานหนักเกินความสามารถของร่างกาย

 

นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความเสียหายทางทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ มีความห่วงใยผู้ใช้แรงงาน แนะวิธิธีดูแลสุขภาพตนเองและระวังโรคซึ่งเกิดจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงาน เช่น โรคปอดอักเสบในคนที่แข็งแรงดี โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อไปพบแพทย์และไม่นึกถึงว่าอาจเป็นโรคจากการทำงานจะทำให้การวินิจฉัยพลาดไป รักษาโรคแต่ไม่ได้รักษาที่สาเหตุทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ โรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้ ผู้ใช้แรงงานจะต้องมีการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง งดเหล้า บุหรี่ ลดความเครียด ป้องกันตนเองจากสารเคมี และเสียงดัง ยกของอย่างถูกวิธี และไม่ทำงานหนักจนเกินไป เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการใช้อุปกรณ์ทำงาน

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยงานอาชีวเวชศาสตร์ ได้สรุป การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อผู้ใช้แรงงาน ดังนี้ สาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. สภาพการณ์ เครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรมีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย 2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน
3. ตัวบุคคลประมาท พนักงานทำงานด้วยความประมาท ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การทำงานข้ามขั้นตอน,ความประมาท,การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย, ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน, ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE, ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท, ดัดแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร,การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมปฏิบัติงาน,ทำงานด้วยความเร่งรีบ

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ
1) การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย (Source) เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง
2) การป้องกันที่ทางผ่าน (Path) เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกัน เช่น การเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
3)การแก้ไขที่ตัวบุคคล (Persons) เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipments) แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุด.

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

สายตาผิดปกติ
https://www.thaiquote.org/content/250225

มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่
https://www.thaiquote.org/content/250211

เผยหญิงไทย ร้อยละ 37 มีภาวะโลหิตจาง แนะกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
https://www.thaiquote.org/content/250184