PMG เปิดตัวแพลตฟอร์ม ESG Universe พร้อมจัดงานสัมมนา “พา SMEsไทย ไป Universe”

by ESG Universe, 14 กันยายน 2566

บ.พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม ESG Universe พร้อมจัดเวทีสัมมนา ”พา SMEsไทย ไป Universe สนับสนุนผู้ประกอบการเดินสู่เส้นทาง ESG สร้างโอกาสส่งออกสินค้าไทยไปตลาดโลก

 

 

บ.พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม ESG Universe พร้อมจัดเวทีสัมมนา ”พา SMEsไทย ไป Universe สนับสนุนผู้ประกอบการเดินสู่เส้นทาง ESG สร้างโอกาสส่งออกสินค้าไทยไปตลาดโลก

เมกะเทรนด์โลกเคลื่อนมาสู่การสร้างความยั่งยืน (Sustainability) สมดุล 3 ห่วงคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และผู้บริโภคที่เริ่มตื่นรู้ ในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ในเวทีการประชุม เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอร์รัม (World Economic Forum) ที่สวิสเซอร์แลนด์ เวทีการขับเคลื่อนธุรกิจมากกว่าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่งของโลก พบว่า หลังจากมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยระบบทุนนิยม ใช้หลักเกณฑ์เศรษฐกิจวัดผล ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรขาดแคลน ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง รวมถึงสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ในไม่ช้ามนุษย์ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้

เวที WEF ครั้งล่าสุด ได้เตือนให้รับมือกับความเสี่ยงที่มวลมนุษยชาติ กำลังเผชิญ ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งต่อเศรษฐกิจ และสังคม นำไปสู่การล่มสลายของโลก โดยเริ่มต้นจากปัญหาโลกร้อน (Global Warming) หากแผนการปรับสมดุลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กับโลกล้มเหลว

ทุกภาคส่วนทั้งโลก จึงต้องเดินไปสู่ เมกะเทรนด์ขับเคลื่อนโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) 17 ข้อ เพื่อให้ทุกปัญหาจาการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจได้รับการแก้ไข

นอกจากนี้ ยังมีพันธสัญญาจากเวที COP26 การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement) เป็นครั้งแรกที่ 197 ประเทศภาคีสมาชิกได้ประกาศลงนามร่วมกัน ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งเป้าไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ภาคธุรกิจจึงต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจคืนสมดุลให้โลกภายใต้หลักการ ESG คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environment), สังคม (Social) และยึดหลักธรรมาภิบาล (Governance) ตามเกณฑ์การยอมรับของธุรกิจในยุคปัจจุบันที่จะต้องมีการวางกลยุทธ์ธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยการสมดุลการเติบโตทั้ง 3 ส่วน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

จากเมกะเทรนด์โลก ส่งผลทำให้ประเทศไทยเผชิญทั้งความเสี่ยงและภัยคุกคาม จากการปรับตัว เปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มี ”กับดักรายได้ปานกลาง” กลไกสำคัญที่จะยกระดับประเทศสู่รายได้สูงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เติบโตจากฐานทรัพยากรทุน ทางทรัพยากรความหลากหลายชีวภาพ ภาคการเกษตร และรากวัฒนธรรมไปสู่ภาคสินค้าและบริการ มีมูลค่าสูง โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สร้างโอกาสเพิ่มรายได้ กระจายความมั่งคั่งแบบทั่วถึง (Inclusive Growth) เพื่อสร้างความยั่งยืน

โดยใช้โมเดล”เศรษฐกิจ BCG” ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน

ทั้งนี้ โมเดลเศรษฐกิจ BCG มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับ กับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

กลไกสำคัญที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง คือ ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ (SMEs) และภาคเกษตรของไทย ที่ปัจจุบันมีสัดส่วน ธุรกิจSMEs มีจำนวน 3.178 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน 99.57% ของภาคธุรกิจ เกิดการจ้างงานกว่า 12.6 ล้านคน สัดส่วน 71.86% ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ ในปีที่ผ่านมามีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียง 35.2% ของ GDP รวมของประเทศ

โดยภาคSMEs ถือเป็นกลุ่มธุรกิจเล็ก ที่มีพลัง เคลื่อนตัวได้เร็ว เพียงแต่ต้องให้การสนับสนุน สร้างกลไกการเปลี่ยนผ่าน พร้อมกันกับสิทธิประโยชน์ สร้างแรงจูงใจในการปรับตัวจากภาครัฐ หากทุกรายสามารถเปลี่ยนผ่านได้ สร้างรายได้ในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้ฐานธุรกิจSMEs ขยาย และเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ที่เป็นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน


90%ของSMEs ขาดความเข้าใจ เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจยั่งยืน

ผลสำรวจล่าสุด จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุถึงผลสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในธุรกิจ SMEs มีเพียง 10% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนนิติบุคคล เท่ากับว่า มีผู้ประกอบการเพียง 3.2 แสนรายที่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจBCG โดยที่อีก 90% หรือ 9 แสนราย ยังไม่เข้าใจชัดเจน

แนวโน้มความกดดันผ่านทางกฎเกณฑ์ทางการค้ามากมายที่เพิ่มขึ้นจากภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อSMEs ที่เป็นผู้ส่งออก รวมถึงซัพพลายเชนต้องปรับตัว ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น อาทิ กฎหมายที่สหภาพยุโรป (อียู) เริ่มต้นบังคับใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) โดยกำหนดให้มีการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของคาร์บอน เพื่อติดตามสินค้าที่ส่งออกไปยุโรปมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายนอกอียูหรือไม่ โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 นี้ นำร่องใน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไฟฟ้า ซีเมนต์ ปุ๋ย(เคมี) เหล็ก และอลูมิเนียม

นี่คือจุดเปลี่ยนของภาคธุรกิจSMEs ต้องติดตามทิศทางการขับเคลื่อนของโลก และหันกลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจภายในประเทศ โดยแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงกองทุนสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) จากสถาบันการเงิน

องค์ความรู้จากความเข้าใจในรูปแบบการการทำธุรกิจใหม่ ที่ช่วยขับเคลื่อนโลกให้ยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และพันธมิตรคู่ค้า เครือข่ายซัพพลายเชน มาตรการสนับสนุทั้งจากภาครัฐ และสถาบันการเงิน

งาน สัมมนา “พา SMEไทย ไป Universe” จึงถือเป็นการติดเครื่องยนต์ให้ SMES ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ จักรวาลแห่งความยั่งยืน โอกาสธุรกิจที่กว้างใหญ่ พาธุรกิจSMEs เติบโตอย่างยั่งยืนคู่กับโลกที่สมดุล

ร่วมฟังสัมมนา นโยบายและกลยุทธ์ในการพา SME ไป Universe โดยใช้หลักการ ESG


- ทำไมเราต้องทิ้งโลกใบเดิมธุรกิจแบบเดิม พุ่งไปสู่จักรวาล
-กลไก องค์ประกอบ เครื่องยนต์อะไร ขับเคลื่อนพาเราไปจักรวาล
-ร่วมฟังสัมมนา นโยบายและกลยุทธ์ในการพา SME ไป Universe นโยบายใช้หลักการ ESG
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตัวอย่าง ผู้ประกอบการ SME ที่ประสบความสำเร็จจากหลักการ ESG

สำหรับวิทยาการที่จะมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ รวมถึงค้นหาคำตอบการพาSMEs ไทยไป Universe แลกเปลี่ยน ประกอบด้วย


-คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
-คุณภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)
-ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank)
-คุณวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
-คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)
-ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA
-ดร.สุนทร คุนชัยมัง ที่ปรึกษา ESG Universe
-คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
-คุณโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
-คุณธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด
-คุณสรณัญช์ ชูฉัตร ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด


ทั้งนี้ ESG Universe เป็นแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย WWW.esguniverse.com และสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook Twitter Instagram YouTuobe และอื่นๆ ภายใต้ชื่อ esguniverse มีผู้ติดตามกว่า 4 แสนคน มีเป้าหมายที่เป็นสื่อกลางสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ESG ในทุกภาคส่วนนำไปสู่การปฎิบัติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


ติดตามข่าวสารไว้ ไม่พลาดแน่นอน
Facebook ESSG Universe

งานสัมมนาดีๆ ร่วมสนับสนุนโดย ESG UNIVERSE โดย บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด. EXIM Bank , บสย , ทีโอวี , True Space , DITP, สสว. , FTI, SME Thai , TGO , NIA