UN ชี้ทางพ้นวิกฤติโลกร้อน ระดมทุน 4.1แสนล้านสู่เศรษฐกิจสีเขียว

by ThaiQuote, 19 กันยายน 2566

ยูเอ็น กระตุ้นทุกภาคส่วน นี่คือ วาระแห่งทุกคนบนโลกต้องร่วมมือก้าวผ่านโลกแห่งความท้าทาย รัฐงบไม่เพียงพอขับเคลื่อน ดึงสถาบันการเงิน เอกชน ร่วมย้ายสินทรัพย์เงินทุนเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว เร่งระดมทุน 4.1แสนล้าน บรรลุเป้าหมายSDG 17 ข้อ เผย 5 ภารกิจ ผนึกพลังขับเคลื่อนสู่โลกใหม่ยั่งยืน

 

 

ภายในงาน สัมมนา “The Cooler Earth Summit” หรือ TCE Summit ที่จัดขึ้นโดย CIMB Group ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อโลกที่ดีขึ้น" เป็นเวทีที่สถาบันการเงิน จัดขึ้นเพื่อนำความรู้จากภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และผู้เชี่ยวขาญด้านการพัฒนายั่งยืน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดด้านความยั่งยืนและการขับเคลื่อนผ่านสถาบันการเงิน เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของโลก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังเศรษฐกิจสีเขียวร่วมกัน เพื่อส่งมอบที่ดีกว่าไปสู่เจเนเรชั่นถัดไป

กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงาน สหประชาชาติประจำประเทศไทย ( Ms. Gita Subharwal (UN Resident Coordinator in Thailand) กล่าวว่า ทางUN ได้ทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ในสถาบันการเงิน นักลงทุน จนถึงผู้บริโภค ให้ร่วมกันเคลื่อนสินทรัพย์ไปสู่การรับมือวิกฤติโลก ซึ่งภาครัฐเผชิญกับปัญหา และความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ตั้งแต่ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ความมั่นคงทางอาหาร ความตรึงเคียด ภูมิศาสตร์ ตลอดจน หนี้สาธารณะ จึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากหลากหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน เพื่อก้าวข้ามความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของโลก กับการเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินคือเรื่องสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการขับเคลื่อนความยั่งยืน จึงต้องมีภาคสถาบันการเงิน ภาคเอกชน เข้ามาร่วมลงทุน เปลี่ยนผ่านสินทรัพย์ไปสู่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Goals 17 ข้อ) ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านจากเอกชน 74% ที่เหลือเป็นการลงทุนจากภาครัฐ

5 เสาหลักขับเคลื่อนโลกยั่งยืน

1.การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยภาคสถาบันการเงินส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านความยั่งยืน

ภาคการเงิน รวมถึง CIMB จะต้องแสดงเจตนารมณ์จริงจังและชัดเจน โดยประเทศไทย วางเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30-40% ภายในปี 2030 และทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และ ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2065


ทั้งนี้ ทางUN ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินในการช่วยการขับเคลื่อนให้ภาคการเงินและการลงทุนที่ยั่งยืน เพิ่มขึ้น ซึ่งเป้าหมายที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน บรรลุ SDGs 17 ข้อ จะต้องมีการจัดหาการลงทุนต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 410,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้ว โดยภาครัฐได้ลงทุนมูลค่าราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาด้าน โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เป็นการปรับปรุงการขนส่งมวลชนที่ไร้มลพิษ เช่น รถไฟฟ้าโมโนเรล ผลิตไฟฟ้าพลังงานลม โรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่น


โดยช่องทางการระดมทุนพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) เป็นวิธีการระดมทุนที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว โดยการขับเคลื่อนการลงทุน เพื่อสำรวจและแก้ไขปัญหา ภูมิอากาศ โดยวางบรรลุเป้าหมายสอดคล้องกับ ESG (Environment-Social-Governance) ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนเพียง 1% จึงมีโอกาสเพิ่มอีกมาก โดยทางUN เคยไปดำเนินการใน อินโดนีเซีย จนประสบความสำเร็จ ผลักดันให้ ทำให้เกิดการลงทุนมูลค่า 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะสร้างผลกระทบให้กับประเทศเกิดความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจที่จะนำมาขับเคลื่อนในประเทศไทย

2. เรื่องการสนับสนุนภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ปัจจุบัน กลุ่มSMEs มีจำนวน 2.6 ล้านราย มีการจ้างงานสัดส่วน 9 ใน 10 ส่วนของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จึงสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสร้างแผนปฏิบัติการ พร้อมกันกับมีแรงขับเคลื่อน จูงใจ โดยบริษัทขนาดใหญ่ ที่เป็นเครือข่ายซัพพลายเชน เข้ามาช่วยส่งเสริมสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่กำหนด ให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ปีละ 8 ล้านตัน หรือ 2% ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ คาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2065 ดังนั้น จึงต้องมีการสนับสนุนให้SMEs ยกระดับการผลิต และส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี จะช่วยขยายผลในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่สีเขียวได้เร็วขึ้น

3. การนำตลาดซื้อขายคาร์บอนเข้ามาช่วยจัดการหาแหล่งเงินทุนให้กับกลุ่มเปราะบาง

การทำรายได้จากการซื้อขายคาร์บอน เป็นแนวทางที่ช่วยให้ชุมชน ภาคสังคม ได้มีโอกาสในการขายคาร์บอนเครดิต ขณะเดียวกันยังช่วยผู้ประกอบการที่ ที่มีการปลดปล่อยก๊าซเข้าไปซื้อขายกับชุมชน เพื่อเป็นการชดเชย ซึ่งตลาดซื้อขายคาร์บอน โดยร่วมมือกับ 14 ล้าน ครอบครัว ใน 76 จังหวัด สร้างแรงจูงใจในการซื้อขายคาร์บอนสร้างโอกาสในการหารายได้ โดยร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น การแยกขยะ หากส่งเสริมสามารถช่วยลดคาร์บอนได้ถึง 5.5แสนล้านตัน


4.ส่งเสริมให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้

การเปิดเผยข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครื่องมือตรวจสอบ ทำให้ธนาคาร นักลงทุน เห็นโครงสร้างธุรกิจเกี่ยวกับการดำเนินการด้านร ESG ชัดเจน เป็นการแก้ไขปัญหา ฟอกเขียว (Green Washing) เช่น SCC เป็นต้นแบบของบริษัทจดทะเบียน ที่มีการเปิดเผยข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ ที่เห็นตั้งแต่ทั้งกระบวนการผลิต ตลอดในกระบวนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแง่มุมอื่นๆ ทำให้ช่วยบริหารจัดการได้ตรงจุด รวมถึงมีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส จะเอื้อให้บริษัทดึงดูดการลงทุน และการเปลี่ยนผ่านที่แท้จริง


5.ให้ความรู้การลงทุนสีเขียว (Finance Community)

การสร้างขีดความสามารถในการลงทุนเศรษฐกิจสีเขียว โดยทุกภาคส่วนทั้งภาคการเงิน ชุมชน ธุรกิจ รวมถึงผู้ชำนาญพิเศษ ช่วยดำเนินการพัฒนาให้องค์ความรู้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการ เพื่อให้เข้าใจว่าทุกสิ่งมีต้นทุนต้องจ่าย เข้าใจต้นทุนทางสิ่งแวดด้อมนำไปใช้เพื่ออนาคต

“เจเนเรชั่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อน และเป็นรุ่นสุดท้ายที่มีโอกาสจะสร้างการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูโลก หากไม่ทำในตอนนี้จะไม่มีโลกส่งต่อไป คนรุ่นต่อไปก็อยู่ไม่ได้ การสร้างความยั่งยืนจะต้องดำเนินการตัดสินใจในเชิงยุธศาสตร์ให้กับภาคทางธุรกิจ ภาคสังคม และภาครับ จึงต้องสร้างความรัก ความสามัคคี ร่วมมือกันรับผิดชอบ ทำให้โลกเย็นลง”