รู้จัก….บัญชีก๊าซเรือนกระจกในไทย เส้นทางสู่องค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน

by ThaiQuote, 4 ตุลาคม 2566

ISSB ประกาศให้ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน และ การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ จะนำมาใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024

 

  

หลังจากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) พร้อมประกาศเป้าหมายที่สำคัญในการก้าวสู่ประเทศที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้มีหลายแนวทางเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทยทั้งรณรงค์ปลูกต้นไม้ ป่าชายเลน เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงการหันมาใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้นในภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรม

รู้จัก IFRS S1/ S2

แม้ว่าปัจจุบันการบันทึกบัญชีก๊าซเรือนกระจก ยังไม่ได้เป็นข้อบังคับว่าองค์กรต่าง ๆ ต้องจัดทำรายงาน แต่จากผลการประชุมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2023 คณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ (International Standards Board : ISSB) ได้ออกมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจ 2 ฉบับ ดังนี้


ฉบับแรก IFRS S1(International Financial Reporting Standards) ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน


ฉบับที่สอง IFRS S2 การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยมาตรฐาน IFRS S1 องค์กรธุรกิจต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทั้งสองมาตรฐานนี้ และจะถูกจะมากำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024


มาตรฐานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนในระดับนานาชาติ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ The International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และผู้นำ G20 และ G7 สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น ได้มีแผนนำมาตรฐานทั้งสองนี้ไปใช้แล้ว

บัญชีก๊าซเรือนกระจก


Carbon accounting หรือ บัญชีก๊าซเรือนกระจก เป็นการบันทึกผลของการดำเนินธุรกิจ และการจัดทำแผนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงจะทำให้ได้พิจารณาถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศของแต่ละองค์กร 


วิธีการเมื่อมีการจดบันทึกและรายงานผลภายในองค์กรได้จัดทำแผน สำรวจและประเมินผล รวมถึงหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้านสภาวะภูมิอากาศ องค์กรยังได้เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย และป้องกันการถูกลงโทษ หรือต้องจ่ายค่าปรับต่าง ๆ ในประเทศที่เริ่มนำกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาบังคับใช้

การปรับตัวในการรายงานบัญชีก๊าซเรือนกระจก ส่งผลทำให้ ลูกค้า และนักลงทุน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจสามารถเห็นข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถติดตามผลได้อย่างโปร่งใส 

การดำเนินงานดังกล่าวเป็นรางวัลสำหรับผู้ถือว่าเป็นคนดี ในการปฏฺิบัติตามข้อบังคับ สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ มาตรการล่าสุด การปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือการเก็บภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบคาร์บอนกันได้


และ สุดท้าย การทำบันทึกบัญชีก๊าซเรือนกระจกจะทำให้องค์กรจะทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความสำเร็จของการลด GHGs ที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการการซื้อหรือขายคาร์บอนเครดิตได้