สภาEU เร่งผลักดันสัญญาปารีสใน COP28 พร้อมใส่เงินกองทุนปรับตัวประเทศยากจน

by วันทนา อรรถสถาวร, ประกายดาว แบ่งสันเทียะ, 11 พฤศจิกายน 2566

รัฐสภาEU มีมติเรียกร้องประเทศสมาชิก เร่งผลักดันสัตยาบันปารีสในเวที COP28 ให้บรรลุ พร้อมเติมเงินกองทุนเปลี่ยนผ่านตั้งต้น 1แสนล้านดอลล์ ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาปรับตัว ก้าวสู่พลังงานหมุนเวียน 3 เท่า ยุติอุดหนุนพลังงานจากฟอสซิล

 

 

เสียงวิจารณ์ถึงความล้มเหลวข้อตกลง ปารีส ( Paris Agreement) กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ(UN)ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) ในปี 2558 ความตกลงครั้งประวัติศาสตร์ที่มีสมาชิกลงนามทำสัตยาบันถึง 194 ประเทศ เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่นขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือ อยู่ในระดับช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงตั้งเป้าจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นกลางจนถึงคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในระหว่าง ปี 2593-2643

นอกจากนี้ยังรวมถึง กลุ่มประเทศพัฒนาจะต้องให้ช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการต่อสู้ลดโลกร้อน และถ่ายทอดองค์ความรู้และกรอบการทำงาน พร้อมกับทบทวนผลทุก 5 ปี

ข้อกำหนดดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มที่ดี แต่ยังไม่สามารถลดอุณหภูมิโลกลงได้ อีกทั้งพันธสัญญาไม่มีผลบังคับประเทศสมาชิกในทางกฎหมายหากไม่สามารปฏิบัติตามข้อตกลงได้ การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 ( COP28) เป็นเวทีแห่งความหวังให้ผู้นำและตัวแทนรัฐบาลหารือกัน เพื่อหาทางเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคต จัดขึ้นในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. นี้

ผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และความปลอดภัยด้านอาหาร ได้รับรองบทบาทในการขับเคลื่อนประชุมCOP28 ได้มีมติด้วยคะแนนเสียง 56 เสียง มีไม่เห็นด้วย 9 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง จึงได้ข้อสรุปข้อเรียกร้องให้ประเทศ ทางสมาชิกรัฐสภายุโรป (Member of the European Parliament-MEPs) ได้แสดงจุดยืนย้ำบทบาทให้สมาชิก สานต่อข้อตกลงการประชุมภายใต้ข้อตกลงปารีส

 

 

 

อัดฉีดเงินกองทุน1แสนล้านดอลล์
อุ้มประเทศยากจนปรับตัว

มติรัฐสภาของสหภาพยุโรป ยังได้เน้นย้ำตามพันธสัญญาปารีส ที่จะทำให้โลกกลับคืนสู่สมดุลในช่วงเดียวกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ด้วยการกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกการปฏิบัติตามกลไกทางการเงินสาธารณะของสหภาพยุโรป จะต้องให้การสนับสนุนการช่วยเหลือที่เพียงพอและเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาได้บรรลุตามข้อตกลงการต่อสู้ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังเช่นกลุ่มประเทศพัฒนา

เป้าหมายการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปีในจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ราว 3.55 ล้านล้านบาท )ในปี 2566 โดยจะค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นภายหลังปี 2568

พร้อมกันนั้น MEPs ยังมีข้อเสนอให้ที่ประชุม COP28 มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อลดการสูญเสียและความเสียหาย ( loss and damage fund) จากการปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนผ่านพลังงานหมุนเวียน สิ่งสำคัญคือ กลุ่มประเทศพัฒนา โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและธุรกิจขนาดใหญ่ จะต้องมีการจัดสรรกองทุนอย่างยุติธรรม กระจายสู่ผู้ประกอบการ

ยุติอุดหนุนฟอสซิล
เพิ่มพลังงานหมุนเวียนสามเท่า

มติรัฐสภา เห็นตรงกันว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล มีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสัดส่วนมากกว่า 75% จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด จึงต้องเรียกร้องให้ยุติการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเร่งด่วน เป้าหมายทั้งในกลุ่มสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศสมาชิกEUต้องเกิดขึ้นภายในปี 2568

 

 

 ทางรัฐสภายุโรปยังเชิญชวนให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งดำเนินการเช่นเดียวกัน ถึงเวลาที่จะต้องลดการอุดหนุนพลังงานจากฟอสซิล ที่ผ่านมาประเทศทั่วโลกมีอัตราการใช้เงินเพื่ออุดหนุนฟอสซิลเงินสูงสมสะสมไว้ มีมูลค่ามากกว่า 900,000 ล้านยูโร (ราว 34.2 ล้านล้านบาท) และถูกนำไปใช้ในปี 2022

ทั้งนี้ ในเวทีการประชุม COP28 สมาชิกรัฐสภายุโรปเห็นตรงกันให้เร่งขับเคลื่อนการเพิ่มพลังงานหมุนเวียนอีกสามเท่า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอีกสองเท่าภายในปี 2573 พร้อมกันกับค่อยๆ ทยอยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้เร็วที่สุด รวมถึงการหยุดลงทุนใหม่ทั้งหมดในการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิล

ที่มา: https://esgnews.com/cop28-meps-want-all-countries-to-strengthen-their-climate-commitments/