UNGCNT ปักธงพัฒนา’ทุนมนุษย์’ สร้างสังคมภูมิปัญญายั่งยืน รับยุค 5.0

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ , 22 พฤศจิกายน 2566

รองนายกฯ เผยยุค 5.0 มี 3 สิ่งใหม่สร้างการเติบโตคือ กรีน นวัตกรรมและสังคม ด้านโกลบอลคอมแพ็กฯ ดึง133 สมาชิก ประกาศเจตนารมณ์ ปั้น“ทุนมนุษย์” สู่” สังคมภูมิปัญญายั่งยืน” รีสกิล อัพสกิล 1 ล้านคนภายใน 7 ปี หลอมรวมเอไอ-คนอัจฉริยะ หวั่น SDGsยังต่ำเพียง 12% เดินหน้าเติมทุน ผู้นำ เทคโนโลยี และคน แรงงาน 39.6 ล้านคน เปลี่ยนผ่าน ตั้งSustainable Intelligence Youth Club สร้างรุ่นใหม่ในปี 2024 เรียนรู้สังคมยั่งยืนโดยตรงจากภาคธุรกิจ

 

 

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ สมาชิก 133 บริษัท ผู้แทนภาครัฐ ภาคประชาสังคม จัดการรประชุม UN Global Compact Network Thailand Forum (GCNT Forum) ปี 2566 “Partnership for Human Capital 5.0 towards Sustainable Intelligence-Based Society”

ก่อนหน้านี้ 8 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เวทีที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ริเริ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs) 17 ข้อ สร้างการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ท่ามกลางความท้าทาย

ทั้งนี้ จากการสำรวจบริษัทสมาชิก ภายใต้สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กทั่วโลก พบว่ามีผู้บริหารเพียง 10% ที่สามารถดำเนินการตามแผนให้ไปถึงเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ ( Net Zero) ภาคธุรกิจอีกจำนวนมากยังไม่สามารถนำพาองค์กรให้เดินไปสู่ตามเป้าหมายเวลาที่วางไว้ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กทั่วโลกล่าสุด พบว่ามีผู้บริหารเพียง 10% ที่สามารถดำเนินการตามแผนให้ไปถึงเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) ยังมีภาคธุรกิจอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถนำพาองค์กรให้เดินไปสู่เป้าหมาย ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยความสำเร็จ

ท่ามกลางโลกกำลังเผชิญความท้าทายของโลกและเมกะเทรนด์ที่ยิ่งใหญ่ต่อมนุษยชาติ 6 ด้าน ได้แก่

1. ความเหลื่อมล้ำ
2. การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมกับความมั่นคงทางอาหารและพลังงานทางเลือก
4. โลกที่มีหลายขั้วอำนาจ
5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคและการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ
6. สุขภาพเชิงป้องกันและสังคมผู้สูงอายุ

  

 

ปานปรีย์ เผย 3 มิติ
น่านฟ้าใหม่ขับเคลื่อนโอกาสเติบโต

ภายในงาน มีดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานร่วมงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “วิถีคิดผู้นำด้านการพัฒนาคนสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน” ระบุว่า คนเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงาน (human-centered approach) ตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลที่เรียกว่า “New Growth Path” เพื่อตอบโจทย์ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 5.0 (Fifth Industrial Revolution) ซึ่งประกอบด้วย 3 มิติคือ

1. Green growth การคำนึงถึงผลกระทบของการทำธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

2. Innovation-driven growth การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงต่างๆรวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินนโยบายภาครัฐ และการทำธุรกิจของภาคเอกชน

3. Community-based growth การยกระดับแรงงานและการพัฒนากระบวนการผลิตที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการ การสร้างงาน โดยมีนโยบายด้านแรงงานที่นำไปสู่การจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน โดยได้ระบุว่าภาคเอกชนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตและธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในหลากหลายมิติเช่น การวัด carbon footprint ขององค์กร การสนับสนุนให้ supply chain ในธุรกิจเป็นธุรกิจสีเขียว การให้โอกาสธุรกิจเล็ก ๆ หรือ entrepreneurs สร้างสรรค์ business model ใหม่ๆ

“ในระยะต่อไป ต้องเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น (SDG localization) ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทักษะทั้ง upskill reskill และ new skills เพื่อพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย ให้มีความคิดสร้างสรรค์และริเริ่ม เพื่อตอบโจทย์ creative economy และเสริมสร้างผลิตภาพของประเทศในภาพรวม” ดร.ปานปรีย์ กล่าว

 

 

 

UNGCNT ดึง 133 องค์กร
รวมพลังปั้นคนสู่รับยุค 5.0

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) กล่าวปาฐกถา ถึงการประกาศเจตนารมณ์ ของสมาชิกสมาคมฯ 133 องค์กร UNGCNT ว่า ภายในงานมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของสมาชิก UNGCNT ที่จะเร่งผลักดันนโยบายการพัฒนาบุคลากร ยกระดับความรู้ และทักษะเชิงเทคโนโลยี สร้างจิตสำนึกด้านความยั่งยืน ของบุคลากร อย่างน้อย 1 ล้านคน ใน 133 องค์กรสมาชิก ภายในปี ค.ศ. 2030 และจะพัฒนาศักยภาพบุคลากรของผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกันพันธมิตร ตั้ง Sustainable Intelligence Youth Club ในปี ค.ศ. 2024 เพื่อสนับสนุนเยาวชนให้มีทัศนคติและทักษะที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเรียนรู้โดยตรงจากภาคธุรกิจและพันธมิตร


ระดม 100องค์กรในไทย
ผู้นำประกาศลดคาร์บอนศูนย์ ในปี 2050

ด้านการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)ที่จะนำไปสู่การสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง ซึ่งมาสมาชิกสมาคมฯ กว่า 50 องค์กร สัดส่วน 80 % ของสมาชิกเมื่อปีที่แล้ว ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใน ค.ศ. 2050 หรืออย่างช้าที่สุด ไม่เกิน ค.ศ. 2070 สอดคล้องกับการประกาศเจตนารมณ์ของสมาคมให้เดินตามกำหนดเป้าหมายของประเทศไทย ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีองค์กรเกือบ 100 องค์กรที่ได้ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ( Net Zero) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ขององค์การสหประชาชาติ (UN)

ปั้นคนยุค 5.0 หลอมรวม AI
สู่ “สังคมภูมิปัญญายั่งยืน”

ปัจจุบัน โลกอยู่ในยุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการประมวลข้อมูลมีค่าดั่งน้ำมันในอากาศ โลกกำลังก้าวสู่ยุค 5.0 ยุคที่มนุษย์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน AI หยิบยื่นทั้งโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม / และอาจทำให้คนเป็น Superhuman (ยอดมนุษย์) แต่มีความเสี่ยงเช่นกัน ดังตัวอย่างของอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจต่อยอดไปถึงสงครามทางไซเบอร์ หรือสงคราม AI มีผลรุนแรงที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ หากเราใช้ AI โดยปราศจากคุณธรรมและธรรมาภิบาล กำกับ ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม / ซึ่งสอดคล้องกับหลักการความยั่งยืน ว่าด้วย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงจะเป็นคุณค่าสำคัญ เพิ่มเติมจากยุค 4.0 เพื่อกำกับการใช้เทคโนโลยี จึงเรียนกว่า ยุค 5.0 ใหม่

“ ที่เราควรสร้างร่วมกัน ระหว่าง ความยั่งยืน และ อัจฉริยะ Sustainable Intelligence-Based หรือ SI Society นั่นคือ “สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืน” หรือยุค “SI over AI” จึงจำเป็นต้องเตรียม “คน” ให้พร้อม สำหรับยุค 5.0 ที่กำลังจะเกิดขึ้นรองรับ สำหรับเศรษฐกิจและสังคมสู่ยุค 5.0 ที่เร่งรัดเข้ามาแล้ว ดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ ระดับโลก ต่างชี้ไปในทางเดียวกันว่า ไทยต้องลงมือ และเร่งมือพัฒนาทุนมนุษย์ ตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะสายเกินไป”

ปัจจุบัน การพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยและความพร้อมต่ออนาคต ยังถูกประเมินอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขนาดของ GDP มาก ไทยยังเผชิญ ข้อท้าทายหลายประการ อาทิ ระดับความรู้แนวลึก และทักษะ ด้านการใช้เทคโนโลยี ดังนั้น การพัฒนา “คน” หรือ “ทุนมนุษย์” ของไทย รอไม่ได้อีกต่อไป

นอกเหนือจากนโยบายของภาครัฐ รวมทั้งกิจกรรมของภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆที่ดำเนินอยู่อย่างดีแล้วในปัจจุบัน เสนอแนวทางเพิ่มเติม ที่น่าจะช่วยเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์สำหรับยุค 5.0 มุ่งสู่ “สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืน”

 

 

ปรับการเรียนรู้ 12.5 ล้านคน
ลงมือทำจริง ครูเป็นโค้ชชิ่ง

ปรับโครงสร้างการเรียนรู้ทำให้นักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในระบบกว่า 12.5 ล้านคน ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก้ปัญหา เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง หรือ Action-Based Learning เสริมกิจกรรมแบบ Extra Curricular เพื่อสร้าง “นักสำรวจและทดลอง” หรือ Explorer เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คประจำตัว ที่โรงเรียนให้ยืม พร้อมโปรแกรมคัดกรองเนื้อหา เรียนหลักสูตรที่ต้องตอบสนอง ทั้งความสนใจของผู้เรียน และความต้องการของตลาดแรงงาน เพิ่มความสามารถให้สอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกัน


ที่สำคัญคือ การปรับตัวด้วย Growth Mindset ให้ได้รับการบ่มเพาะ “จิตสำนึกแห่งความยั่งยืน” ครูผู้สอน ต้องปรับบทบาทจาก ผู้สอน หรือ Instructor เป็น โค้ช ผู้นำกระบวนการเรียนรู้ หรือ Facilitator ดึงศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เพื่อบ่มเพาะผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง มีตัวชี้วัด ประกอบการจัดทำรายงานประเมิน ผลงานของครู ที่ส่งเสริมความโปร่งใส

“บทบาทของครูผู้สอน ไม่ได้จำกัดแต่ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น /ภาคเอกชน มีบทบาทนี้ได้ เช่น จัดกิจกรรมเป็นฐาน หรือศูนย์การเรียนรู้ ลักษณะ Action-Based หรือ Experience-Based Learning สอดคล้องกับ SDGs ข้อที่เกี่ยวกับธุรกิจของตน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจ เรื่องคุณธรรมและ ธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน วางกรอบความคิดใหม่ แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ เพราะกระบวนการเรียนรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเชื่อมโยงใกล้ชิดกับหลักการความยั่งยืน จะถูกถ่ายทอด ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ช่วยปลูกฝังจิตสำนึก ฝึกการร่วมแก้ปัญหาระดับมหภาค คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

สำหรับแรงงาน เทคโนโลยียุค 5.0 ต้องการแรงงาน ที่มีทักษะ ต่างจากเดิม องค์กรควรปรับมุมมองในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการวิเคราะห์ว่า นายจ้าง รวมถึง ภาครัฐ ควรเตรียมทักษะแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้แรงงานปัจจุบันและอนาคต สามารถทำงานกับ AI ได้ มากกว่ากังวลว่า AI จะแย่งงานของเราเราทุกคนในที่นี้ ควรตั้งคำถามร่วมกันว่าจะปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ มี “ภูมิปัญญาที่ยั่งยืน” ผ่าน life-long learning มากกว่ามุ่งตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมยังมีช่องว่างทางความคิด ระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค 5.0 ควรมีความรับผิดชอบและการดูแล หรือ Just Transition/ เราต้องช่วยกันดูแลและปรับทักษะแรงงาน เพื่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค 5.0 โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานทักษะล่าง ถึง กลาง สัดส่วน 90% ของแรงงานไทยทั้งหมด ราว 39.6 ล้านคน และต้องเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค 5.0

“เราต้องส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษา และการมีงานทำ สำหรับกลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการอบรม กลุ่มที่อาจถูกมองข้าม เช่น คนพิการ สตรี คนสูงอายุ แรงงานข้ามชาติ คนไร้สัญชาติ กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ และคนที่พ้นโทษ”

ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนคือ “คน” ที่มีภูมิปัญญาที่ยั่งยืน หรือคนยุค SI จะช่วยให้สังคมไทย และสังคมโลก จัดการกับข้อท้าทายต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ ได้จริงตามกำหนดสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย จะไม่หยุดยั้ง ที่จะระดมกำลัง สนับสนุนการปฏิรูประบบการศึกษา

เป้าหมายSDGs คืบหน้า 12%
เร่งเติม ทุน ผู้นำ เทคโนโลยี และคน เคลื่อนเป้าหมาย

จากการประชุม SDGs Summit ณ นครนิวยอร์กในดือนกันยายนที่ผ่านมา ประชาคมโลกต่างกังวลกับการบรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ ที่เดินหน้าอย่างล่าช้า เพียง 12 % ของเป้าหมายเท่านั้นที่เดินหน้าตามแผน ยังส่วนเป้าหมายอีก 30% ยังไม่มีความคืบหน้าหรือตกต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อปี ค.ศ. 2015


“ทุกคนต่างร่วมกันค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะช่วยให้โลก บรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ ให้ทันเวลาในอีก 7 ปีข้างหน้า (ปี 2030) ทั้งเรื่องเงินทุน ภาวะผู้นำ ตลอดจน เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จสำคัญ อีกประการหนึ่ง ที่ยังไม่มีการกล่าวถึงคือ ด้านการเตรียมความพร้อม “คน” หรือ ทรัพยากรมนุษย์ ที่นอกจากจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงแล้ว ยังจำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคต่อไป หรือยุค 5.0

 

 

UNชี้ ทุนมนุษย์ หัวใจ
สร้างผลลัพธ์SDGs

นางกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจําประเทศไทย ชี้ว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก การยกระดับทักษะความสามารถของแรงงานเป็นวาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และการพัฒนาบนหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) ทีมสหประชาชาติในประเทศไทยพร้อมที่จะสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการค้นหาทักษะที่จำเป็นในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว โดยจะต้องอาศัยวิธีการแบบบูรณาการรวมกัน ด้วยมุมมองล่างขึ้นบน (bottom up) และบนลงล่าง (top down) พร้อมกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นรากฐานของทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน

“เสาหลักของการพัฒนาประเทศในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวคือการพัฒนา “ทุนมนุษย์” ซี่งจะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่สูงขึ้น และเพิ่มศักยภาพประเทศให้มีบทบาทนำในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน และความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อ SDGs จะเป็นแรงผลักดันที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเร่งยกระดับขีดความสามารถของภาคเอกชนในการร่วมบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ นำโดย UNGCNT” นางกีต้า กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนา 6 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ การเสวนาของผู้นำธุรกิจ สมาชิก UNGCNT และพันธมิตรในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนศักยภาพทุนมนุษย์ยุค 5.0 ได้แก่
1 การเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนในบริบทประเทศไทย โดยเฉพาะในมิติของคน
2 ปั้นคนให้ก้าวไปข้างหน้าและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
3 เปลี่ยนผ่านคนอย่างเป็นธรรมสู่องค์กรสีเขียว
4 ปลุกศักยภาพคนรับการเปลี่ยนแปลงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
5 ยกระดับคน สร้างพลังสังคม และสุดท้าย จะร่วมกัน (6) มองความยั่งยืนผ่านคนรุ่นอนาคต.

Tag :