ไทยยกระดับเศรษฐกิจผ่านเวที 'Climate Club' เส้นทางบรรลุสู่เศรษฐกิจสีเขียว

by ESGuniverse, 29 พฤศจิกายน 2566

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Club ในนามของประเทศไทย โดยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ด้าน'Climate Change' และส่งเสริมให้เอกชนไทยปรับตัวเข้ากับบริบทใหม่ของสังคมโลก

 

 

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วม (Letter of Interest) เป็นสมาชิก Climate Club เพื่อเป็นเวทีในการแสดงออกด้านการตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง


สำหรับ Climate Club เป็นแนวคิดริเริ่มของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในการรวมกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีกลุ่ม G7 ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วม 22 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา แคนาดา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐคอสตาริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สหภาพยุโรป สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐเกาหลี ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สมาพันธรัฐสวิส สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐอุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา

ประเทศที่ได้รับการเชิญชวนและอยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวนประมาณ 21 ประเทศ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐคาซัคสถาน ราชอาณาจักรโมร็อกโก สหรัฐเม็กชิโก สาธารณรัฐโมซัมบิก สาธารณรัฐปารากวัย สาธารณรัฐเปรู ราชอาณาจักรสวีเดน ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเซ็ก ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐตุรกี ยูเครน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งอาจมีการพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคต ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมแล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วม ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566)

โดยผู้แทนในการเข้าร่วม Climate Club เป็นผู้บริหารระดับสูงจากประเทศสมาชิก (ระดับรัฐมนตรี) ซึ่งผู้แทนแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการหารือจะเป็นระดับอธิบดี หรือผู้แทนอธิบดี และมีคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force) ในระหว่างที่ยังไม่ได้เปิดตัว Climate Club อย่างเป็นทางการ โดยมี Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และ International Energy Agency (IEA) ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการชั่วคราว ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิก Climate Club ไม่มีข้อผูกพันด้านเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และไม่มีข้อผูกพันทางการเงิน

สำหรับเป้าหมายของกลุ่ม G7 ที่กำหนดให้สมาชิก Climate Club ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ คือ

1 การปฏิบัติตามความตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส
2 การเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในครึ่งศตวรรษ (ค.ศ. 2050)
3 การเร่งการลดการปล่อยคาร์บอนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม และ
4 การร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ใน Climate Club

ในการเข้าร่วมในครั้งนี้จะมีหน่วยงานที่สำคัญ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การไทีไทยเข้าร่วม Climate Club จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติจากประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยสามารถปรับตัวในการดำเนินธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานที่เป็นมาตรการฝ่ายเดียวโดยประเทศอื่น ๆ ไม่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ของสหภาพยุโรป รวมถึงมาตรการในลักษณะเดียวกันของประเทศอื่น ๆ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วม Climate Club คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานตลาดและผลิตภัณฑ์สีเขียวในอนาคต การสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมโดยสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี และสนับสนุนความต้องการด้านต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างศักยภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

อนึ่งที่เว็บไซต์ https://www.theclimateclub.co/ ระบุว่า หน่วยงานของตนเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไร โดยภารกิจของ คือการชักชวนนักวิชาการรุ่นเยาว์เพื่อส่งมอบข้อมูลที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และสุขภาพสิ่งแวดล้อม ผ่านแพลตฟอร์ม โดยมุ่งหวังที่จะไม่เพียงแClimate Clubต่สื่อสารวิทยาศาสตร์และต่อสู้กับข้อมูลที่ผิดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั่วโลกได้แสดงความคิดเห็นและเขียนบทความที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์และไม่มีอคติเพื่อดึงดูดสาธารณชนในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการให้เหตุผลเชิงรุก

ภารกิจหลักของ Climate Club ประกอบด้วย 3 แกนที่สำคัญคือ

1. ความตระหนักรู้ส่วนบุคคล
Climate Club ต้องการสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการทำเช่นนั้น Climate Club จะสร้างแคมเปญเกี่ยวกับข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสีเขียว นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมที่สอนให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

2.วิทยาเขตสีเขียว
Climate Club จินตนาการว่า CBS ที่จัดตั้งขึ้นมา จะกลายเป็นหนึ่งในวิทยาเขตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนที่สุดในเดนมาร์ก เป้าหมายนี้จะบรรลุผลสำเร็จบางส่วนโดยการให้นักเรียนมีความเป็นไปได้ในการตัดสินใจอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ทางเลือกในโรงอาหารไปจนถึงจุดที่สามารถรีไซเคิลขยะได้

3. ธุรกิจที่ยั่งยืน
Climate Club มีจุดมุ่งเน้นที่ชัดเจนในการให้ความรู้แก่ผู้นำแห่งอนาคตเกี่ยวกับความสำคัญของการบูรณาการความยั่งยืนในธุรกิจสมัยใหม่ Climate Club ต้องการมอบเครื่องมือให้พวกเขาประสบความสำเร็จและเป็น “ผู้นำสีเขียวแห่งอนาคต” ด้วยการจัดเสวนาเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่ยั่งยืน การแข่งขันกรณีต่างๆ การเยี่ยมชมบริษัท และการอภิปราย