IPCC เปิดผลวัดค่าภูมิอากาศโลก ยังโหมปล่อยคาร์บอนโอกาสทะลุจุดเดือด

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ บรรณาธิการESGuniverse , 3 ธันวาคม 2566

 แมัจะมีกลไกที่ประเทศสมาชิกร่วมกำหนดกลไกสำคัญเพื่อบรรลุความตกลงปารีส (Nationally Determined Contributions-NDCs) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2021 ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 1.5 องศา ภายในปี 2030 แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่หลายประเทศที่ไม่พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นโยบายจนถึงการนำไปสู่การปฏิบัติ เพราะกลไกดังล่าวยังอยู่ในภาคสมัครใจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศในปัจจุบันคาดว่าจะทำให้โลกร้อนขึ้น 3.2°C ภายในปี 2100

ทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. (TGO) ได้เปิดเผยรายงาน IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change -IPCC) ปี 2023 เป็นรายงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นองค์กรก่อตั้งขึ้นโดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( (United Nations Environment. Programme -UNEP) ภายใต้ องค์การสหประชาชาติ (United Nations-UN) และองค์การอากาศยานโลก ทำรายงานการประเมินข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้กับรัฐบาลจาก 196 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกของUN เพื่อรายงานผลการเปลี่ยนแปลงอากาศ มุ่งเน้นผลกระทบการปรับตัวและความเสี่ยงกับการแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศพบว่า

 


หลังจาก 196 ประเทศลงนามพันธสัญญาปารีส (Paris Agreement)ในปี 2015 (พ.ศ.2558) ในการรักษาอุณหภูมิโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5องศา ใน 5 ปี ต่อมา กลับมีแนวโน้มสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงของโลกกลับยังมีแนวโน้มเพิ่มอุณหภูมิขึ้น ตามรายงานของ IPCC ดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ กำลังส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศและสภาพอากาศสุดขั้วในหลายภูมิภาคทั่วโลก มีการเผาเชื้อเพลิงการใช้พลังงานฟอสซิล การใช้ประโยชน์ที่ดินบุกรุกพื้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.1 องศา สูงกว่าระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อสูญเสียและความเสียหายของธรรมชาติและผู้คนขยายวงกว้างขึ้น ภูมิอากาศแปรปรวน ฝนตกรุนแรงขึ้น ความร้อนเพิ่มสูงขึ้น เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และการระบาดของโรค

2. หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ และมีแนวโน้มว่าจะสูงถึง 1.5°C ระหว่างปี 2030 ถึง 2035 จากปัจจุบันอุณหภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้นที่ประมาณ 1.1องศา (ระหว่างปี 2011-2020) เมื่อพิจารณาจากนโยบายสภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศในปัจจุบัน จึงประมาณการอนาคตข้างหน้าระยะยาว คาดว่าจะทำให้โลกร้อนขึ้น 3.2°C ภายในปี 2100 แมัจะมีนโยบายNDC ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2021 ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 1.5 องศา

3. IPCC มี “ความมั่นใจสูงมาก” ว่า ความเสี่ยงและผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้น พร้อมกับภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้น

4. อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบและความสูญเสียและความเสียหายจะส่งผลกระทบต่อประชากรที่ยากจนที่สุดและเปราะบางที่สุดมากกว่า โดยเฉพาะประชากรในแอฟริกาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งจะยิ่งทำให้จนลงกว่าเดิม

 

ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคในการปรับตัวแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

1.ทรัพยากรจำกัด


2. ขาดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชน


3.การขับเคลื่อนทิศทางการเงิน และการลงทุนไม่เพียงพอ ต่อกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนผ่าน


4.ขาดความรู้ความเข้าใจ และข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศ


5. ขาดความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในตลาด


6.มีงานวิวิจัยที่จำกัด และสามารถนำไปใช้ได้ช้าและน้อยมาก

7.คนทั่วไปยังไม่ความรู้สึกว่าเป็นวาระเร่งด่วน ถึงเวลาต้องปรับตัว

8.ขาดการจัดสรรเงินไปยังกลุ่มที่ต้องการ ยังไม่เท่าเทียม แม้ว่ามีแนวโน้มที่จะมีการใส่เงินไปยังกองทุนลดผลกระทบเพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินที่นำไปให้กับผู้ที่ต้องการ และมีการพัฒนารูปแบบให้เข้าถึงแล่งเงินทุน ยังอยู่ในวงจำกัด จึงทำให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

9. ทิศทางการลงทุน ภาครัฐและเอกชน ยังให้น้ำหนักกับพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล มากกว่า การลงทุนเพื่อการปรับตัวและการบรรเทา ลดผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ

 


การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดอุณหภูมิโลก ไม่เกิน 1.5 องศา

1.เป้าหมายการรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลงอย่างน้อย 43% -50% ภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2019 และอย่างน้อย 60% ภายในปี 2035 นี่คือทศวรรษ ของการชี้ขาดที่จะแก้ไขปัญหาโลกได้หรือไม่

2.สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การสร้างค่านิยมที่อนุรักสิ่งแวดล้อม ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนานวัตกรรมและการพัฒนาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่าน

3.สร้างความเป็นธรรมในการกระจายความช่วยเหลือให้กับกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบ จัดเป็นประเทศเปราะบาง ที่ยังมีคนนับล้านในแถบประเทศแอฟริกา เอเซีย อเมริกาใต้ เกาะเล็กๆ รวมถึงขั้วโลกเหนือ (Arctic)

4.ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนในการปรับตัว รับกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คนมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี ลดความยากจน และคนหิวโหย ขาดแคลนอาหาร รวมถึงเพิ่มพลังงานสะอาด ตลอดจนน้ำและอากาศบริสุทธิ์

5.ภาครัฐมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหล้ง ด้วยการสร้างความร่วมมือข้ามองค์กร ทั้งในและต่างประเทศ ขับเคลื่อนสร้างระบบนิเวศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างกัน

6.เริ่มทดลองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ นำร่อง เ่น การเดิน การปั่นจักรยาน ทานอาหารที่สมดุลเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

7.การปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร นวัตกรรมด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางอาอาหาร

8.ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจที่ช่วยขับเคลื่อนการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ เร่งให้ภาคอุตสาหกรรม การเงิน กฎหมาย พัฒนาข้อบังคับที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน

9. การจัดลำดับความสำคัญของความเสมอภาคความยุติธรรมทางสังคม ความทั่วถึง และกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรมจะช่วยให้ดำเนินการบรรเทาสภาพอากาศที่มีเป้าหมายสูงได้
และมีการพัฒนาที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

10. มาตรการที่จะเร่งแก้ไขปัญหาได้เป็นรูปธรรม คือการ บริหารจัดการฟื้นฟูการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ จะต้องมีการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้มากที่สุด และการลงทุนพัฒนาวิธีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Caputre Storage -CCS) ในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล การอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพ การบูรณาการระบบการใช้พลังงาน”
.
แม้ว่ารายงานฉบับนี้จะสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ขณะนี้เรามีทุกสิ่งที่จำเป็นในการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมุ่งมั่นทางการเมือง นโยบาย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการกำกับดูแลแบบมีส่วนร่วม ล้วนมีความสำคัญต่อการดำเนินการด้านสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน ซึ่งตอนนี้มันขึ้นอยู่กับเราแล้วที่จะเปลี่ยนจากการพูดคุยไปสู่การปฏิบัติและแนวทางแก้ไข ยิ่งเราล่าช้านานเท่าไร ผลที่ตามมาก็จะยิ่งเกิดขึ้นกับโลกของเรามากขึ้นเท่านั้น ทางเลือกและการดำเนินการที่ดำเนินการในทศวรรษนี้จะมีผลกระทบในปัจจุบันและไปอีกหลายพันปีข้างหน้า
.

 

ที่มา 

-www.ipcc.ch/report/sixth-assessment-report-cycle/?fbclid=IwAR2Ge5AiyW2fKWn3KQ8EITdJo29pQwbqoeDbo9Z-29snTkw00Sb5glYUFMU
-องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

-www.ipcc.ch/report/sixth-assessment-report-cycle/
-www.wri.org/insights/2023-ipcc-ar6-synthesis-report-climate-change-findings
-www.soalliance.org/soablog/ipcc-2023-summary

 

#TGO #อบก.
#องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
#greenhousegas #ก๊าซเรือนกระจก
#IPCC