'วันดินโลก'น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงร.9

by ThaiQuote, 5 ธันวาคม 2566

 ดินถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ องค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศ แต่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ดินอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม วิถีชีวิตเมืองขยายตัว เกิดรุกล้ำพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเกษตรผลิตอาหาร สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความมั่นคงทางอาหาร

การก่อตั้ง วันดินโลก จึงเป็นการเรียกร้องทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน เนื่องจากดินมีความสามารถในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรโลก จัดการกับความยากจนและลดการขาดแคลนอาหาร
เนื่องมาจากทรัพยากรดิน เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นแหล่งอาหาร ที่ตั้งบ้านเรือน ร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งน้ำ เป็นวัตถุดิบสิ่งก่อสร้างและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ หากดินถูกใช้ประโยชน์โดยปราศจาก การดูแลรักษาก็เกิดความเสื่อมโทรมไม่สามารถฟื้นฟูได้ในระยะสั้น ให้กลับมาสนองประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้ในระยะเวลาอันสั้น


วันที่ 5 ธ.ค.ของทุกปี นอกจากเป็นวันชาติ และเป็นวันพ่อของไทยแล้ว ยังถูกตั้งให้เป็น "วันดินโลก" (World Soil Day)

 


สหประชาชาติ ยกย่อง
พระอัจฉริยะภาพ”พัฒนาดิน”

จุดเริ่มต้นการประกาศเกิดขึ้นนระหว่างการประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการเงิน ของสมัชชาองค์การสหประชาชาติ ครั้งที่ 68 ปี 2556 ณ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรับอเมริกา มีการผลักดันการตั้ง "วันดินโลก" เป็นความคิดริเริ่มนี้นำโดยศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ (Dr.Stephen Nortcliffe) ดร. นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงและ กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ( International Union of Soil Sciences) ได้ผลักดัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรดิน เพราะเป็นสิ่งสำคัญของความอยู่รอดของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
ต่อมาในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ และคณะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล The Humanitarian Soil Scientist หรือ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม เนื่องจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีโครงการในพระราชดำริมากมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เช่น โครงการหญ้าแฝก โครงการแกล้งดิน โครงการแก้ดินเปรี้ยว เป็นต้น

และในวันที่ 16 เม.ย. 2556 รศ.ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล The Humanitarian Soil Scientist หรือรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม เนื่องจากพระองค์ทรงมีโครงการพระราชดำริมากมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เช่น โครงการหญ้าแฝก โครงการแกล้งดิน โครงการแก้ดินเปรี้ยว เป็นต้น


พระอัจฉริยะภาพ นักพัฒนาที่ดิน

ภายหลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 พระองค์ได้ทรงดำเนินการพัฒนาพื้นที่อย่างทันที ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดต่าง ๆ ทรงประเมินความต้องการของประชาชน อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย แม้จะเผชิญความท้าทายเพียงใด พระองค์ก็ทรงยืนหยัดในภารกิจอันทรงเกียรติ การเสด็จเยือนจังหวัดต่าง ๆ ทำให้พระองค์ทรงทราบถึงความเดือดร้อนและยากลำบากของเกษตรกรไทยในชนบท ต้องต่อสู้กับความยากจน และต้องทำเกษตรอย่างไร้ประสิทธิภาพ ขาดแคลนทรัพยากร น้ำ และดิน

พระองค์จึงทรงริเริ่มแก้ไขปัญหา โดยการสนับสนุนปัญหาของชาวนา โดยการเริ่มต้นจุดประกายการพระราชทานโครงการพระราชดำริในการปฏิรูปที่ดิน เมื่อทรงเสด็จเยือนเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 และพระองค์ทรงอุทิศตนพัฒนาโครงการด้านทรัพยากรดิน ด้วยการเป็นผู้รู้และต่อสู้กับปัญหาของเกษตรกรในชนบทต้องประสบ โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบากแม้ในพื้นที่ห่างไกล จึงทำให้พระองค์ท่านเข้าใจความยากลำบากของเกษตรกรในชนบทต้องเผชิญ และความต้องการแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อตั้ง “สถาบันวิจัยดิน”

ความสำคัญของ”วันดินโลก”
ตระหนักรู้ ฟื้นฟูผลกระทบ ระบบนิเวศ

เมื่อโลกพัฒนาเข้าสู่ยุคทันสมัย จึงเกิดการลุกล้ำพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น ทั้งการสร้างที่อยู่อาศัย บ้าน และตึกสูงรองรับการขยายตัวของเมือง ถนน การทำเกษตร ปศุสัตว์ และการพัฒนาพลังงาน ล้วนมีการลุกล้ำที่ดิน เป็นแหล่งกำจัดของเสีย และเป็นตัวกรองน้ำสะอาด จึงส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของดิน หากขาดการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความต้องการทรัพยากรจากดินมากขึ้น แต่ดินเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ใช้แล้วหมดไป และต้องใช้เวลายาวนานในการฟื้นฟู เมื่อดินเกิดการเสื่อมโทรม การใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม และมาตรการอนุรักษ์และป้องกันไม่เพียงพอ จะนำไปสู่การเสื่อมโทรมของดิน คุณภาพของดินเสื่อม ขาดแทนแร่ธาตุดิน ผลผลิตดินลดลง มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร วันดินโลก จึงช่วยให้ตระหนัก หากดินเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง การฟื้นฟูดินให้กลับสู่สภาพเดิมจะกลายเป็นเรื่องท้าทายยิ่งขึ้น


กลยุทธ์การอนุรักษ์ที่ดิน
การจัดการให้มีประสิทธิผล ต้องเริ่มต้นจากการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การควบคุมการพังทลายของดิน และการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน การใช้มาตรการเหล่านี้ ช่วยให้สามารถบรรเทาผลกระทบด้านลบ จากการเสื่อมโทรมของดิน และรักษาเสถียรภาพของการจัดหาอาหารของมนุษย์ได้
ดิน มีพลานุภาพมากกว่าที่คิด
ดิน คือทรัพยากรธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตทุกรูปแบบบนโลก ตั้งแต่การพัฒนาการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหาร ควบคุมโรค เป็นพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยพัฒนาระบบนิเวศที่ยั่งยืน ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ การดูดซับคาร์บอน และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คำขวัญดิน ย้ำเตือนใจ
คุณค่าทรัพยากรต้องร่วมฟื้นฟู
นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก จะจัดการประชุมวิชาการเพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์ ในการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรดินที่ใช้ร่วมกัน ในขณะเดียวกันองค์กรภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ในประเทศไทย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการแบ่งปันความรู้กับชุมชนต่าง ๆ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดงานขึ้นที่ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยดินในเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคม 2563 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการอนุรักษ์ดินอย่างยั่งยืนในอนาคต ทุกปีองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) จะส่งเสริมสโลแกน วันดินโลก เพื่อส่งเสริมภารกิจร่วมกัน สำหรับปี 2566 สโลแกนคือ รักษาดินให้คงอยู่ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของดิน รักษาทรัพยากรดิน เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม