สกัดกระบวนท่า ESG เปลี่ยนธุรกิจเล็ก สู่โอกาสยิ่งใหญ่ ในโลกซับซ้อน

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ , 12 ธันวาคม 2566

สกัดเกมกลยุทธ์ กระบวนท่าการคิดกลยุทธ์ ESG สู่ธุรกิจโลกใหม่ มนต์ตราพาธุรกิจเผชิญหน้ากับความเสี่ยงใหม่ไร้การควบคุม ผอ.โกลบอลคอมแพ็กฯ ถอดบทเรียนรหัสลับกลยุทธ์ ESG สู่SMEs เปลี่ยนผ่านธุรสีเขียว ป้องกันความเสี่ยงธุรกิจคอร์ปอเรทอยู่ยั่งยืน

 

 

 โลกที่ธุรกิจเผชิญอยู่ ณ วันนี้ ไม่ใช่โจทย์เดิมที่สามารถวางแผนธุรกิจได้ในระยะยาว ทั้งกลยุทธ์การตลาด และการบริหารความเสี่ยง ล้วนเกิดขึ้นอย่างไม่ทันคาดคิด เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และรุนแรงเกินกว่าที่ภาคธุรกิจจะตั้งกลยุทธ์ได้เท่าทัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ปัจจัยที่เกิดขึ้น เหนือการควบคุม อีกทั้งยังมีสงคราม โรคระบาด-19 ภัยที่สั่นสะเทือนทั่วโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทาย มาพร้อมกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก สู่ เศรษฐกิจสีเขียว ชำระล้างบาปที่ทำไว้กับโลก จนทำให้โลกเดินมาสู่จุดเดือด ต้องหักเหไปสู่การละทิ้ง”ทุนนิยม” มุ่งสู่ ธุรกิจเพื่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกเป็นน่านฟ้าใหม่ ที่ยั่งยืนกันสมดุลทุกด้าน

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดย SME Academy ได้ตระหนักในความสำคัญของการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เข้าใจเกี่ยวกับโอกาสธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านโดยยึดหลัก ESG จึงจัดการอบรม โครงการ ESG 3 DAYs BOOTCAMP บ่มเพาะความรู้การทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ อาทิ ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistic), พลังงาน(พลังงาน) และอุตสาหกรรม ( Manufacturing) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ จากธุรกิจที่เป็นต้นแบบด้าน”ความยั่งยืน” รวมถึงได้มีโอกาสได้ออกแบบแผนธุรกิจ ESG เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจในอนาคตได้

 

 

 ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT (Global Compact Network Thailand) บรรยายในหัวข้อ “Sutainable Trend 2023 และ แนวโน้มในปี 2024" ว่าเป็นปีที่มีความผันผวน และท้าทายจากการควบคุม และปัญหามีความซับซ้อนในหลากหลายด้าน ทำให้เกิดปัจจจัยที่เข้ามาเปลี่ยนโลกธุรกิจ

ในสภาวะปัจจุบันโลกอ่อนแอจากทรัพยากรเสื่อมโทรม มลพิษจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น เกิดวิกฤติซ้อนวิกฤติตั้งแต่ปัญหาโครงสร้างทางสังคมรุนแรง รวมถึงการบิดเบี้ยวด้านธรรมาภิบาล ความซับซ้อนของโลกในหลากหลายมิติ บีบคั้นทำให้แต่ละภาคส่วนมีมุมมองต่างกัน เพราะธรรมาภิบาลเป็นเรื่องของจิตสำนึก ที่จะต้องเกิดการยอมรับและปรับปรุง ก้าวไปสู่ ESG (การทำธุรกิจไม่หวังผลกำไรอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญสมดุล กับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) แต่ภาคธุรกิจจึงมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจ

  

 

ยุคโลกใหม่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ต้องหักล้างวิถีการทำธุรกิจแบบเดิม ปรับไมด์เซ็ทการวางแผนธุรกิจใหม่ เพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง มากระทบต่อการวางแผนธุรกิจ ประกอบด้วย

1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้ธุรกิจไม่สามารวางแผนดำเนินการธุรกิจได้ กระทบต่อห่วงโซ่ทางธุรกิจ

2.การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีการการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็ขัดขวางรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม ทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างล้าสมัยหากปรับตัวไม่เท่าทันกับความต้องการของตลาด

3. เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กรและความสามารถในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4.ความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและข้อบังคับของรัฐบาล อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลกำไรขององค์กร

ประเด็นทั้งหมดเป็นความหลากหลายของปัญหาเชิงซ้อนในหลากหลายมิติ ที่ทำให้การวางกลยุทธ์ ESG ทำธุรกิจที่ไม่ได้วางเป้าหมายผลกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสมดุล คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และยึดหลักธรรมาภิบาล จึงเป็นทางรอดของธุรกิจ เพราะเป็นกรอบการบริหารจัดการที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

  

 

ESG 3 ห่วงโซ่ ยุทธวิธี
แนวรบเปลี่ยนผ่านโลกใหม่

ESG จึงเป็นคำตอบของการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ ภายใต้การบริหารความเสี่ยง ปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจ ใช้ ESG มีหัวใจสำคัญ 3 เสาหลักเชื่อมโยงกัน มีการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม ประกอบด้วย ลูกค้า และไว้วางใจมีธรรมาภิบาล

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทีไ่ด้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ

การจัดการด้านสังคม (Social) การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตั้งแต่ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน และผู้ที่ทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ขณะเดียวกัน คนในชุมชนรอบโรงงานให้การยอมรับ ธุรกิจเป็นที่รักของชุมชน ส่งผลทำให้แบรนด์มีคุณค่า คนซื้อสินค้าเพราะเชื่อมั่นแบรนด์

“การพัฒนาสังคม ไม่เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ บางองค์กรคนทำESGเข้าใจผิดนำเอาดารา ผู้มีชื่อเสียงมาผูกกับแบรนด์ (ตัวแทนสินค้า -ฺBrand Ambassador) เชื่อมโยงกับสินค้า ในความจริง การทำให้สังคมยอมรับ มีคนรักสินค้าและการบริการ ควรเกิดจากการทำดีเพื่อสังคมจึงย้อนกลับมาสู่คุณค่าคนรู้จักได้เอง และสุดท้ายด้านธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ความหมายลึกซึ้งและยั่งยืนยาวนาน"


การจัดการด้านธรรมาภิบาล (Governance) การมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม ต่อต้านการทุจริต และการดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย อย่างเป็นธรรม ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการมึจิตสำนึกที่ดีมีศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น (Integrity)

ผลสำรวจธุรกิจโกลบอลรุกทำESG
พบมีแต้มต่อธุรกิจ ยืนเหนือคู่แข่ง

ทุกองค์กรธุรกิจล้วนมีความเสี่ยงของการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว แตกต่างกัน สิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าการทำ ESG นั้นย้อนกลับมาที่ธุรกิจได้ โดยผลสำรวจภาคธุรกิจในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ของ Moore Global และMSCI Index ระบุเกี่ยวกับ ผลลัพธ์ของบริษัทที่ทำ ESG ทำให้ธุรกิจดีขึ้นในหลากหลายด้าน ทำให้องค์กรธุรกิจตื่นตัวหันมาทำESG อย่างเข้มข้นขึ้นในช่วง 3 ปีทีผ่านมา

ผลประโยชน์ในการทำESG ต่อ องค์กรธุรกิจมีดังนี้

-บริษัทที่มีESG คะแนนสูงจะทำกำไรได้ดีกว่าบริษัทที่ไม่ทำ
-มีผลประกอบการธุรกิจดีขึ้น 9.1%
-มีกำไรเพิ่มขึ้น 3.7%
- 80% ของผู้นำธุรกิจระบุว่าการทำESG ทำให้รอดพ้นจากวิกฤติในช่วงโควิด-19 โอกาสสำคัญในช่วงการเปลี่ยนแปลงตลาดครั้งใหญ่
-20% ต้องปิดกิจการ เพราะไม่ได้มีการเตรียมพร้อมบริหารความเสี่ยง ทำESG


“ผู้ประกอบการในประเทศไทยมักพูดว่าไม่มีเงินลงทุนในการจ่ายเพื่อทำESG เพราะมองไม่เห็นมูลค่าและโอกาสที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจ ทุกอย่างต้องลงทุน ที่ว่าไม่มีเงิน ใช้จ่ายเยอะ ต้องรับรู้ว่า โอกาสหลังลงทุนจะสะท้อนคืนมาสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจอีกมากมาย แต่หากไม่ทำเลย มีโอกาสที่จะถูกทิ้งจากลูกค้า ออเดอร์เหลือศูนย์ (Zero order) โดยเฉพาะหากคู่แข่งทำแต่เราไม่ทำ ต้องเร่งแข่งกับเวลา ภายใน 2 -5 ปี ข้างหน้าจะมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นขึ้น เมื่อต้องขายสินค้ากับยุโรป จะถูกตรวจสอบตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีธุรกิจ 20 % ล้มหายไปจากตลาด ”

  

 

ESG เป็นเกราะกำบัง
ป้องกันความเสี่ยงธุรกิจ

มีประเด็นของผู้ที่ไม่ได้บริหารจัดการESG ให้กับซัพพลายเชนแบรนด์ใหญ่ระดับโลก (Global Brand) หลายโรงงานต้องปิดตัวลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในยุคปัจจุบันข้อมูลต้องโปร่งใสและทั่วถึง หากมีคนเข้ามารีวิวการทำธุรกิจ หากทำแล้วก็จะเป็นเกราะป้องกันการทำงานภายใน เช่น กระบวนการผลิต เมื่อมีคนมาโจมตี แต่หากไม่ทำก็เป็นจุดเสี่ยงในการเสียชื่อเสียง การทำESG จึงเป็นเกราะป้องกันกระบวนการผลิตภายใน ลงทุนเริ่มต้นกำไรจะย้อนกลับมาตอบแทนในธุรกิจที่่ลงทุนไปมากกว่า

“กรณีไนกี้ และอดิดาส ที่ผลิตจำหน่ายอุปกรณ์เสื้อผ้ากีฬา ที่ว่าจ้างผู้ผลิต (OEM) ในแถบเอเชียตะวันออก พบว่าบังคลาเทศ มีกรณีเรื่องการร้องเรียนการใช้แรงงานเกินเวลา ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ปิดตัวไปเลย ไม่กลับมาออเดอร์ตลอดกาล เพราะเค้าไม่ยอมเอาชื่อเสียงแบรนด์มาทิ้ง นี่คือโอกาสที่เสียไป แต่หากโรงงานทำก็จะได้รับโอกาสแทนที่ ”

ดังนั้น ESG ไม่ใช่ What & Why (แค่คำว่า คืออะไร และทำไปทำไมอีกต่อไป) แต่จะต้องพูดคุยถึงระดับทำอย่างไร และเริ่มเมื่อไหร่ (How and When) ต้องค้นหาวิธีการและเร่งลงมือทำแข่งกับเวลา เพื่อพลิกวิกฤติเป็นโอกาส สู่การเติบโตและทำกำไร ในระยะยาว

3 เหตุผล ESG จิ๊กซอซ์
ฟ้าใหม่แห่งอาณาจักรธุรกิจ

1. ดึงดูดนักลงทุน

นักลงทุนทั่วโลก ใช้ ESG พิจารณาประกอบการลงทุน เพื่อประเมินความยั่งยืน และความสามารถในการแข่งขันระยะยาว

2. ยกระดับธุรกิจรับกติกาโลกใหม่

ESG คือกติกาใหม่ในการทำธุรกิจ ที่หลายประเทศเริ่มนำมาเป็นตัวกำหนดให้ESG เป็นมาตรฐานและข้อบังคับในการดำเนินการวางกฎระเบียบทางการค้า

3.ดักโอกาสตลาดใหม่ขยายตัว

ความต้องการของตลาดส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับESG มากขึ้น ผู้บริโภคก็เริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตัดสินใจซื้อมากขึ้น ดังนั้น โอกาสตลาดกำลังจะขยายตัวอีกมหาศาล

“การทำ ESG ถือเป็นการขยายการลงทุน กับผู้ที่สนใจมองหาซัพพลายเชน ที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ ว่าไม่มีประเด็นความเสี่ยง บริหารจัดการภายใต้ ESG จึงเชื่อมั่นได้ว่าธุรกิจมีความยั่งยืน ก็จะได้รับความสนใจจากลูกค้าต่างประเทศ ที่กำลังมองหาการย้ายฐานการผลิต หรือ การร่วมพัฒนาแบรนด์ (Co-Brand) ในช่วงที่ สหรัฐอเมริกา กับจีน ตัดขาดจากการทำธุรกิจร่วมกัน ทำให้มีบางส่วนมองหาคู่ค้า ซัพพลายเชนใหม่ ในไทยทดแทนจีน โอกาสในสินค้าอาหารและเกษตรของไทย”

ทำไม SMEs ไทยต้องทำ ESG

ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังมองว่าการทำESG เป็นสิ่งที่เพิ่มต้นและมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ทั้งที่หากลุกขึ้นมาทำESG เข้ากับกิจการ จะเกิดประโยชน์สร้างโอกาสยั่งยืนใหกับธุรกิจในระยะยาว 4 ด้าน

1.ลดต้นทุนในการดำเนินงานและต้นทุนของเงินลงทุน

เพราะปัจจุบันแหล่งเงินทุน และดอกเบี้ย รวมถึงนักลงทุน เป็นโอกาสทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลากหลายหากธุรกิจนั้นปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์ความยั่งยืนในอนาคต

2.ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

ทุกองค์กรล้วนมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ การทำESG ทำให้หันมามององค์กรวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่จะช่วยปิดจุดอ่อนและสร้างโอกาสในอนาคต

3.เพิ่มความเชื่อมั่นต่อแบรนด์

เมื่อเป็นแบรนด์ที่ทำความดีจากเนื้อแท้ จากโครงการต่างๆ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องเห็นและขยายวงกว้างสร้างความน่าเชื่อถือและปกป้องแบรนด์

4.สร้างโอกาสใหม่

สำหรับรายได้เติบโต ตลาดเศรษฐกิจสีเขียวเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นโอกาสอนาคตที่ยังมี

 

 

 

หากไม่ทำESG จะพลาดและตกขบวนโอกาสใหม่อะไรบ้าง

1.สูญเสียความเปรียบในการเตรียมรับมือกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ที่กำลังจะมาถึง

2.เสียโอกาสในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่วงโซ่อุปทาน

3.ถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เริ่มมีมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น การเก็บภาษีคาร์บอนเครดิต (CBAM) ในการส่งออกไปยังยุโรป

4.เสียโอกาสในการเสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์แก่ลูกค้า ลูกค้ายุคใหม่เริ่มถามหาแบรนด์ที่มีจิตสำนึกเพื่อโลกและสังคม จะทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำ และเข้าถึงความรู้สึกชื่นชมในแบรนด์ได้มากกว่าแบรนด์ที่ไม่มีการทำESG

5.เสียโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน นักลงทุนในปัจจุบันมุ่งเน้นธุรกิจยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืจะต้องยืนอยู่บนสมดุล สังคม และสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจะต้องมีการบริหารจัดการซัพพลายเชน ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก และสังคม

“โดยหลักการของความยั่งยืนคือการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละคนแตกต่างกัน หากไม่มีการบริหารจัดการอย่างสมดุล วัตถุดิบแพง ก็ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้า หรือหากการจัดการโลจิสติกส์ไม่ดีอยู่ห่างไกล ลูกค้าไม่สะดวกในการเข้าถึง ก็ทำตลาดไม่ได้ อีกทั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติ มรสุม ต้องหยุดการส่งสินค้า เมื่อโลกกติกาเปลี่ยน ก็ต้องมองหาซัพพลายเชนใหม่ที่ทำESG ด้วยกัน จึงเป็นการหาคู่ค้าพันธมิตรใหม่ หากทำ จะมีโอกาสในการเพิ่มลูกค้าหากไม่ทำ ก็มีโอกาสถูกยกเลิกออเดอร์”


กรณีศึกษาโกลบอลแบรนด์
ESG ไม่ครบกระบวนท่า ฝ่ามรสุมกู้ชื่อเสียงคืน

มีบางกรณีศึกษาจากต่างประเทศ ที่บริษัทบอกว่าได้ทำ ESG แต่ไม่ครบองคาพยพ ไม่มีการบริหารความเสี่ยง ไม่ได้คิดครบทุกกระบวนการที่มองหาจุดอ่อน จนวันหนึ่ง เกิดประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กร ทำให้มูลค่าเสียหาย ต้องใช้เวลานานในการบริหารจัดการดึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ มีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์คืนกลับมา

-กรณีบริษัทผลิตน้ำมัน เกิดน้ำมันรั่วไหล ในทะเล ทำให้มูลค่าความเสียหายถึง 6.2 แสนล้านบาท
-การโฆษณา เหยียดสีผิว ของH&M ที่กระทบต่อจิตใจกระทบต่อมูลค่าหุ้นหายไป 2.9แสนล้านบาท
-Digital Data กรณีเฟซบุ๊กโดนโดนฟ้องเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้งาน โดนโทษปรับเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล มูลค่า 1.5แสนล้านบาท
-กรณีโบอิ้ง ตกที่อินโดนีเซีย และเอธิโอเปีย โดนฟ้องค่าเสียหายไปทั้งหมด 6,600 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัทยังถูกฟ้อง ในคดีอาญาด้วย.